หากพูดถึงกัมมันตรังสี ธรรมดาแล้ว ว่าคงไม่มีใครนึกถึง “ของเล่นเด็ก” แน่ๆ แต่สำหรับบริษัทของเล่นในสหรัฐอเมริกาอย่าง Alfred Gilbert ดูเหมือนว่าความคิดของพวกเขาจะไม่ธรรมดาเลย
นั่นเพราะในช่วงปี 1950 บริษัทนี้ได้ออกของเล่นที่มีชื่อว่า Gilbert U-238 Atomic Energy Lab ออกมา ภายใต้แนวคิดที่จะให้เด็กๆ เล่นกับกัมมันตรังสี เพื่อการเรียนรู้ “วิชาวิทยาศาสตร์” ซะงั้น
Gilbert U-238 มาพร้อมกับ เครื่องนับรังสีไกเกอร์-มูลเลอร์ (ไกเกอร์เคาน์เตอร์) ตัวอย่างแร่ที่มียูเรเนียม 4 ชนิด (ออทูไนต์ ทอร์เบอร์ไนต์ ยูรานีไนต์ และคาร์โนไทต์) และเครื่องมืออื่นๆ อีกหลายชิ้น
โดยมันถูกระบุว่าสามารถประยุกต์ใช้ในการละเล่นที่หลากหลายเช่น
– การเอาแร่ยูเรเนียมไปซ่อน และให้เด็กๆ ตามหาด้วยไกเกอร์เคาน์เตอร์ (อือหือ)
– นั่งดูอนุภาคแอลฟาเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 12,000 ไมล์ต่อวินาที (19,000,000 ม./วินาที)
อ่านมาถึงตรงนี้หลายๆ คนอาจจะเริ่มขนลุกว่าเอาของแบบนี้มาขายได้อย่างไร สำหรับเรื่องนี้คงต้องบอกว่าเป็นเพราะในเวลานั้นคนยังมีความเข้าใจเกี่ยวกับกัมมันตรังสีไม่มาก
เมื่อ Gilbert บอกว่าของเล่น “ปล่อยรังสีออกมาน้อยในระดับที่ปลอดภัย” แค่พอๆ กับแสง UV อ่อนๆ (หากบรรจุภัณฑ์ไม่พัง) อ้างอิงโดย “ส่วนหนึ่งของคณะกรรมาธิการพลังงานปรมาณู” หลายคนจึงไม่ได้ติดใจอะไรนัก
อย่างไรก็ตามด้วยราคาที่ถือว่าค่อนข้างแพง (ตีเป็นเงินในปัจจุบันราวๆ 16,500 บาท) Gilbert U-238 ก็ขายได้เพียง 5,000 ชุดเท่านั้น เมื่อบวกกับการที่่ผู้คนตระหนักถึงความเสี่ยงของกัมมันตรังสีมากขึ้น
สุดท้าย Gilbert U-238 Atomic Energy Lab ก็ค่อยๆ เลือนหายไป กลายเป็นของเล่นที่หายากสุดๆ ที่นักสะสมจะอยากได้มาเก็บไว้แทน
ที่มา
rarehistoricalphotos.com/gilbert-u-238-atomic-energy-lab-kit-for-kids/
thebulletin.org/virtual-tour/worlds-most-dangerous-toy-radioactive-atomic-energy-lab-kit-with-uranium-1950/