ว่ากันด้วยเรื่องอาหาร “เผ็ด” เนี่ยถือเป็นของโปรดของใครหลาย ๆ คนเลย
แต่เพื่อน ๆ ทราบกันไหมครับว่าจริง ๆ แล้ว “ความเผ็ด” เนี่ย ตามธรรมชาติแล้วมันคือระบบการป้องกันตัวของพริกนะ กลายเป็นว่าคนดันชอบมันซะอย่างนั้น!?
ข้อมูลนี้มาจากนิตยสารออนไลน์ The Oxford Scientist ที่จัดทำขึ้นโดยมหาวิทยาลัย Oxford University มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ
ซึ่งบทความนี้เขียนเอาไว้เมื่อหลายปีที่แล้ว มีชื่อหัวข้อว่า “วิทยาศาสตร์ของพริก”
ในบทความพูดถึงความเผ็ดของพริกว่า “เป็นกลไกการป้องกันตัว” ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อยับยั้งเชื้อรา และจุลินทรีย์ ที่เป็นผลมาจากแมลง และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
หากไม่มีกลไกการป้องกันนี้เชื้อราจะทำลายเมล็ดพันธุ์ของพริก ก่อนที่มันจะถูกนกกิน และแพร่พันธุ์ออกไป
และสาเหตุที่ว่าทำไมนักวิทยาศาสตร์ถึงได้สรุปว่านี่คือข้อเท็จจริงล่ะ!?
นั่นเป็นเพราะว่าสิ่งที่เรียกว่า TRPV1 ที่เป็นเสมือนกับตัวรับรู้ความเผ็ดร้อน ซึ่งมันจะมีผลการตอบสนองต่อสาร Capsaicin ที่พบได้ในพริกชนิดต่าง ๆ
เจ้าตัว TRPV1 นี้จะมีอยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แต่นกไม่มี เลยทำให้นกสามารถกินพริกได้โดยที่ไม่รู้สึกเผ็ดร้อนแต่อย่างใด
นักวิทย์เค้าก็เลยเชื่อว่า การที่ยอมให้นกกินได้ แต่ไม่ยอมให้แมลงและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกิน เป็นเหมือนกลไกการเอาตัวรอด และการขยายพันธุ์ ที่ใช้เวลาหลายล้านปีในการวิวัฒนาการ
แต่ไป ๆ มามา มนุษย์ดันชอบรสเผ็ดซะงั้น!?
เข้าไปอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่ : https://oxsci.org/the-science-of-a-chilli/
เรียบเรียงโดย #เหมียวหง่าว