เป็นงานวิจัยจากหลาย ๆ ที่ครับ ที่มีการศึกษากันมาอย่างต่อเนื่องในเรื่องของ “การร้องไห้ของมนุษย์” ในเชิงชีววิทยา
ง่าย ๆ เลยก็คือเป็นการค้นหาคำตอบว่า “ทำไมมนุษย์ถึงร้องไห้” มีกลไกอะไรอยู่เบื้องหลัง? และน้ำตาที่เกิดจากอารมณ์ ความรู้สึก มีความแตกต่างกันกับน้ำตาที่เกิดจากปฏิกิริยาตอบสนองทางร่างกายอย่างไร?
งานวิจัยดังกล่าวถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วงปี 1996 แล้วล่ะครับ โดยระบุเอาไว้ว่า
ดวงตาของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด จะมี ‘น้ำตา’ เอาไว้เพื่อทำให้เกิดความชุ่มชื้น
เว้นก็แต่มนุษย์ที่สามารถหลั่งน้ำตาออกมาเพื่อตอบสนองต่ออารมณ์ความรู้สึก หรือความเครียด
นักวิจัยได้ตั้งคำนิยามอาการที่เกิดขึ้นนี้ว่า Psychogenic lacrimation หรือก็คือ น้ำตาที่เกิดจากผลกระทบทางจิตใจ
และสิ่งที่พวกเขาค้นพบก็คือ…การหลั่งน้ำตา จะช่วยบรรเทาความเครียดได้ โดยการช่วยกำจัด “สารเคมี” ที่เป็นต้นเหตุของความเครียดออกไป
เป็นเหตุผลที่ทำให้สารประกอบในน้ำตาที่เกิดจากอารมณ์ ความเครียดต่าง ๆ นั้น มี “โปรตีน” เยอะกว่าน้ำตาที่ไหลออกมาจากอาการตอบสนองของร่างกาย เช่น การหั่นหัวหอม ฝุ่นเข้าตา เป็นต้น
ด้วยสาเหตุดังกล่าว ก็เลยทำให้มันหนืดขึ้น และแห้งช้ากว่านั่นเองฮะ
#เหมียวหง่าว
ที่มา : https://www.nytimes.com/1982/08/31/science/biological-role-of-emotional-tears-emerges-through-recent-studies.html
https://www.apa.org/monitor/2014/02/cry