สำหรับเหล่าผู้คนทั่วๆ ไป ช่วงเวลายามบ่ายคงจะถือเป็นช่วงเวลาที่แสนน่าเบื่อของวัน หลายคนจึงอาจจะเลือกจะใช้เวลาดังกล่าวไปกับการ “งีบหลับ” หรือ “นอนกลางวันกัน”
ดังนั้น นี่อาจจะเป็นข่าวที่ไม่ค่อยดีเลย เพราะเมื่อวานนี้ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หรือ “หมอธีระวัฒน์” ก็เพิ่งจะออกมาโพสต์ข้อมูลเลยว่า
การงีบนาน งีบบ่อยตอนกลางวัน อาจเป็นสัญญาณส่อ และเสี่ยง ต่ออาการสมองเสื่อมก็ได้
โดยในโพสต์ดังกล่าวหมอธีระวัฒน์ได้ยกการศึกษาหลายชิ้น แล้วสรุปข้อมูลออกมาว่า
– ในการติดตามการงีบของงานวิจัยเมื่อปี 2022 นักวิทยาศาสตร์ พบว่า คนปกติจะงีบราวๆ 11 นาที
– ในขณะที่คนที่สมองเริ่มก้ำกึ่ง งีบ 24 นาที
– และคนที่มีสมองเสื่อมจะงีบกลางวันนานถึง 69 นาทีต่อวัน
– จากการติดตามคนที่เริ่มต้นการทดลองแบบปกติแต่เกิดสมองเสื่อมในหกปีพบว่า ถ้างีบนานกว่า 1 ชั่วโมงจะเพิ่มความเสี่ยงสมองเสื่อม 40%
– ถ้างีบบ่อยมากกว่าหนึ่งครั้งต่อวันจะมีความเสี่ยงสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นอีก 40%
– ในการศึกษาปี 2019 ผู้ชายที่งีบกลางวัน 2 ชั่วโมงจะมีโอกาสเสี่ยงสมองเสื่อมมากกว่ากลุ่มที่งีบ 30 นาทีต่อวัน
– การงีบหลับกลางวันตามโดยปกติจะพบในกลุ่มที่การนอนไม่ดีหรือไม่มีคุณภาพ
ดังนั้น คนที่รู้สึกงีบหลับกลางวันบ่อยครั้งและนานขึ้น จึงควรจะต้องวิเคราะห์สุขภาพ หาสาเหตุที่ทำให้นอนกลางคืนไม่มีคุณภาพ เพื่อป้องกันโรคร้ายที่อาจจะตามมานั่นเอง
ที่มา
www.facebook.com/sorrayuth9115/posts/pfbid02CQAomWBzSE2K1ppi4WJhy7N15e6AgFYEocFPWMnRt5fTuFUyqBKKinASiVfW7p5ml
www.facebook.com/thiravat.h/posts/pfbid02qZRzrPXMeQfbrxjm5TELVD6Wwy1i5qgiY5AvdvNxTCyqUGJNzLeXUNBvTQWtcvbNl