ย้อนประวัติศาสตร์… 15 ภาพเล่าเรื่องจาก “ค่ายกักกัน” อันโหดร้าย สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

ถ้าพูดถึงบุคคลในประวัติศาสตร์ รับรองได้ว่าชื่อของ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำนาซีและผู้อยู่เบื้องหลังการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวจะต้องเป็นชื่อแรกๆ ที่ลอยเข้ามาในหัวอย่างแน่นอน

 

การฆ่าล้างเผา่พันธุ์ชา่วยิวในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น ได้คร่าชีวิตชาวยิวมากกว่า 6 ล้านคน ซึ่งชาวยิวจากทั่วยุโรปจะถูกนำไปยังค่ายกักกัน จากนั้นพวกเขาทั้งหมดก็ถูกนำไปรมแก๊สพิษจนตาย

ค่ายกักกันที่แรกก็คือ ค่ายกันกันเบวเชตซ์ ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับเมืองลูบลิน ในประเทศโปแลนด์ ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1942 และนอกจากค่ายกักกันเบวเชตซ์ ยังมีค่ายกักกันอื่นๆ อีกถึง 5 ค่ายเลยทีเดียว แต่ค่ายที่ใหญ่ที่สุดมีชื่อว่า ค่ายกักกันเอาชวิทซ์

 

ภาพของค่ายกักกันเอาชวิทซ์  ที่ถูกปลดปล่อยเมื่อ 72 ปีที่แล้ว

 

เพียงแค่ค่ายกักกันเอาชวิทซ์เพียงแห่งเดียว ก็พรากชีวิตผู้คนไปถึง 1.1 ล้านคน และเมื่อวันที่ 27 มกราคมที่ผ่านมาก็เป็นวันรำลึกถึงเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นั่นเอง เราเลยจะมาย้อนดูภาพเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นี้กัน

 

ภาพเดินสวนสนามของเหล่าทหาร ที่ถือคบเพลิงไปด้วยด้านนอกประตูบรันเดนบูร์ก ในเบอร์ลิน เพื่อเฉลิมฉลองที่ฮิตเลอร์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี

 

ภาพของทหารชุทซ์ชทัฟเฟิลที่ลำเลียงชาวยิวไปยังค่ายกักกัน ผ่านถนนในเบอร์ลินในปี ค.ศ. 1934

 

ภาพของชาวโปแลนด์ ที่ถูกสังหารโดยทหารเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1939

 

ภาพของเด็กๆ ที่อยู่ข้างหลังรั้วหนามของค่ายกักกันในเยอรมนี ในปี 1942

 

ภาพของเด็กและผู้หญิงที่กำลังถูกลำเลียงโดยรถไฟ ไปยังค่ายกักกันที่ตั้งอยู่ในยุโรปตะวันออก ในปี ค.ศ. 1942

 

ภาพของทหารนาซี กำลังจับตัวชาวโปแลนด์ที่เป็นชาวยิว ในช่วงเหตุการณ์วอร์ซอเกตโต ในประเทศโปแลนด์ปี ค.ศ 1943

 

ภาพศพของนักโทษ ในค่ายกักกันที่เมืองลูบลิน ประเทศโปแลนด์ ในปี ค.ศ. 1942 ในขณะที่กองทัพนาซียังยึดครองประเทศอยู่

 

ภาพของนักโทษที่กำลังถูกพาไปยังค่ายกักกันเอาชวิทซ์ ในปี ค.ศ 1944

 

ภาพของนักโทษในค่ายกักกันที่ป่วยเป็นโรคขาดสารอาหาร ซึ่งทหารของฝ่ายสัมพันธมิตรไปเจอเข้าในปี ค.ศ. 1944

 

ภาพของพยาบาลที่กำลังดูแลรักษ หญิงสาวชาวรัสเชีย ที่มีเชื้อสายยิว ซึ่งรอดตายมาจากค่ายกักกันเบอร์แกนเบลเซ่น ในปี ค.ศ. 1945

 

ภาพของหน่วยแพทย์ของอเมริกา กำลังดูภายในเตาของค่ายกักกันบูเคนวัลด์  ซึ่งภาพนี้ถูกถ่ายโดย Jules Rouard นายทหารชาวเบลเยี่ยม หลังจากที่ค่ายถูกปลดปล่อยได้ 5 วัน ในปี ค.ศ. 1945

 

ภาพของผู้คนนับร้อย หลังจากที่ค่ายกักกันเบลเซ่นได้รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระ ในปี 1945

 

ภาพของด็อกเตอร์ Klein นายแพทย์อาวุโส ที่ค่ายกักกันเบลเซ่น ท่ามกลางเหยื่อผู้เคราะห์ร้าย

 

ภาพของหญิงสาวชาวฮังการี่ ที่มีเชื้อสายยิว กำลังได้รับการรักษาจากหมอ ในค่ายกักกันบูเคนวัลด์ ซึ่งมีนักโทษคนอื่นที่ป่วยกำลังมองดูอยู่ ภาพเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 1945

 

ถึงแม้ว่าเหตุการณ์นี้จะผ่านไปเป็นเวลานานแล้วก็ตาม แต่มันก็ยังเป็นภาพที่ยังคงหลอกหลอนคนทั้งโลกอยู่ดี ซึ่งก็ได้แต่หวังว่าเหตุการณ์นี้จะเป็นบทเรียนครั้งสำคัญของมนุษย์ชาติ และคงต้องหวังว่าเหตุการณ์แบบนี้จะไม่เกิดขึ้นอีกในอนาคต

ที่มา Metro