Tag: การทำงานของสมอง
-
ภาพชวนงง เปรียบเทียบรูปเดียวกัน แต่ไหงกลายเป็นว่ามองเห็นความแตกต่างได้ไง!?
บ่อยครั้งที่ดวงตาของเรามองสิ่งที่อยู่ข้างหน้าได้ไม่ตรงตามความเป็นจริง แม้ว่าจะมีแถลงไขแล้วว่าจริงๆ ภาพนั้นมันเป็นอย่างไร ดวงตาเราก็มองเป็นแบบอื่นอยู่ดี ภาพที่เราเห็นไม่ตรงตามความเป็นจริงเหล่านี้เรียกว่าภาพลวงตา ถ้ายังนึกไม่ออกว่ามันเป็นยังไงลองไปดูภาพเปรียบเทียบนี้ดูครับ ภาพถนนสองเส้นที่ดูเหมือนจะเป็นคนละภาพกัน แต่เป็นภาพเดียวกัน ภาพสองภาพนี้เหมือนกับภาพที่ถ่ายจากที่เดียวกัน เพียงแต่ว่ารูปด้านซ้ายมือน่าจะถ่ายจากมุมใกล้ถนน ส่วนรูปด้านขวามือน่าจะถ่ายจากมุมชิดทางเดินใช่ไหมล่ะครับ แต่ว่าอันที่จริงแล้วภาพทั้งสองภาพนี้เป็นภาพเดียวกันเป๊ะเลยต่างหาก ภาพนี้ผ่านตาผู้ใช้งานเว็บไซต์โซเชียลมีเดีย Reddit และ Imgur กว่าล้านคนแล้ว ทุกคนที่ได้เห็นภาพนี้ต่างก็ประหลาดใจที่ได้รู้ว่าแท้ที่จริงแล้วภาพทั้งสองนั้นเหมือนกันไม่มีผิด ชาวเน็ตคนหนึ่งคอมเม้นต์ว่า “ประหลาดจริงๆ ฉันรู้นะว่าภาพสองภาพนี้เป็นภาพเดียวกัน แต่อะไรบางอย่างทำให้สมองของฉันไม่เชื่อแบบนั้น ฉันอยากรู้จังเลยว่ามันเกิดจากอะไรกัน” ภาพเปรียบเทียบให้เห็นว่ามันเป็นภาพเดียวกัน ชาวเน็ตอีกท่านหนึ่งก็คอมเมนต์ว่า “สำหรับฉันแล้วภาพนี้ดูเหมือนกับว่าถนนในแต่ละภาพมีทิศทางที่แตกต่างกัน โดยเส้นหนึ่งมันดูเอียงออกไป ฉันทำใจเชื่อได้ยากว่าถนนสองเส้นนี้มันเหมือนกันทุกประการ“ แต่ชาวเน็ตอีกส่วนหนึ่งก็ไม่เห็นความแตกต่างระหว่างภาพทั้งสองเลย “ฉันคิดได้แค่ว่ามันก็เป็นภาพสองภาพที่เหมือนกัน รู้สึกแปลกจังที่มองไม่เห็นภาพลวงตาเหมือนคนอื่นเขา” ภาพบันไดไม่สิ้นสุดที่หลอกตาเหมือนกับภาพถนนสองภาพแรก ระหว่างที่ชาวเน็ตกำลังสงสัยกันว่าเหตุจึงเห็นภาพต่างกันได้ ในที่สุดก็มีผู้ใช้ Reddit ท่านหนึ่งออกมาชี้แจงให้ฟังว่าทำไมเราถึงเห็นภาพหลอกตาแบบนี้ เขาบอกว่า “ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่าถนนทั้งสองเส้นนั้นมาบรรจบกันที่ด้านล่างของภาพ สมองของเราก็เลยพยายามมองสองภาพนี้ให้รวมเป็นภาพเดียวกัน โดยมองว่าภ่าพหนึ่งในนั้นแยกออกไปอีกทิศทางหนึ่ง ดังนั้นเราจึงมองว่าภาพทางซ้ายมือจึงดูมีองศาที่แตกต่างกับภาพทางขวามือ” นอกจากภาพถนนเส้นนี้แล้ว ก็ยังมีภาพลวงตาอีกมากมายที่ดวงตาของเรามองต่างไปจากความเป็นจริง เนื่องจากสมองพยายามจะปรับมุมมองของภาพ 2 มิติ ให้กลายเป็นภาพ 3 มิติ…
-
ทฤษฎีแห่งการ ‘สบตา’ เผยถึงสาเหตุที่ว่า ทำไมการสบตาในระหว่างสนทนาจึงเป็นเรื่องยาก
หลายคนอาจเคยสงสัยว่าเวลาที่เราคุยกับคนอื่นทำไมเขาถึงไม่ชอบมองตาเราตรงๆ แต่เลือกที่จะมองไปทางอื่นตอนที่พูดกับเรา? คำถามนี้ได้มีคำตอบออกมาอธิบายให้เพื่อนๆ เข้าใจกันว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร เมื่อนักวิทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น โดยพวกเขาได้ทำ การทดสอบ กับอาสาสมัครจำนวน 26 คน แล้วให้เล่นเกมต่อคำศัพท์โดยขณะที่เล่นต้องมองหน้าของคนที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ไปด้วย ผลที่ได้คือการต้องนั่งสบตากับใบหน้าที่หันมามองเราทำให้ผู้เข้าร่วมการทดสอบใช้เวลาในการคิดคำศัพท์นานกว่าการที่ไม่ต้องสบตา นั่นจึงแสดงให้เห็นว่าการมองตากันจะทำให้ยากต่อการคิดคำพูดของเรา โดยเฉพาะกับคำที่เราไม่คุ้นเคย นักวิจัยได้ออกมาบอกว่า “แม้กระบวนการการพูดและการสบตาจะไม่เกี่ยวกัน แต่ผู้คนส่วนใหญ่ก็เลือกที่จะไม่สบตาอีกฝ่ายขณะที่พูด และจากการทดสอบนี้ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าสองอย่างนั้นมีการรบกวนซึ่งกันและกันอยู่” เมื่อปี 2016 เองก็ได้มี การวิจัยเกี่ยวกับการสบตา ของนักจิตวิทยาชาวอิตาลีที่ชื่อว่า Giovani Caputo เมื่อเขาได้ให้ผู้เข้าร่วมการทดสอบสบตากับคนคนหนึ่งเป็นเวลานานถึง 10 นาที ผลที่ได้ก็คือผู้ทดสอบหลายๆ คนถึงกับเห็นภาพหลอนว่าใบหน้าอีกฝ่ายเป็นสัตว์ประหลาด เป็นคนรู้จัก หรือแม้แต่เห็นว่าเป็นใบหน้าของตัวเอง ผลลัพธ์ของงานวิจัยนั้นเรียกว่า Neural Adaption หมายถึงการที่สมองเกิดการตอบสนองที่เปลี่ยนไปแม้ว่าสิ่งเร้าตรงหน้าจะยังคงเดิม ยกตัวอย่างการวางมือเอาไว้บนโต๊ะ เราจะรู้สึกทันทีในตอนแรก แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้า เราก็จะลืมความรู้สึกไปว่าเรากำลังเอามือวางไว้บนโต๊ะอยู่ Neural Adaption ก็อาจเป็นสิ่งที่อธิบายให้กับงานวิจัยในมหาวิทยาลัยเกียวโตครั้งนี้ได้ว่าเป็นการตอบสนองที่ผิดเพี้ยนไปของสมองมนุษย์ ถึงอย่างไรนักวิจัยชุดนี้ก็ตั้งใจว่าจะศึกษาเรื่องของการสบตาต่อไป โดยพวกเขาวางแผนเอาไว้ว่าครั้งต่อไปจะศึกษาในเรื่องของการใช้คำพูดและการใช้ภาษากายหรืออวัจนภาษา ว่าการสบตาทำให้เกิดผลที่แตกต่างกันหรือเปล่า …