Tag: การพูด
-
หนุ่มพยายามหยอดคำหวานเพื่อชนะใจ นร. สาวแลกเปลี่ยน งัดทุกคำที่รู้ออกมาใช้ให้หมด!!
ความมั่นใจในตัวเองเป็นสิ่งที่ดีมากๆ เลยนะ แม้ว่าการที่จะพยายามเริ่มความสัมพันธ์ในรูปแบบไหนก็ตาม หากเรามีความรู้สึกดีๆ อยากจะบอกกับอีกฝ่าย ต่อให้เป็นการใช้ภาษาต่างประเทศก็ถือว่าเป็นหนึ่งในการฝึกฝนเช่นกัน อย่างนักเรียนชายชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งที่ต้องการจะใช้ทักษะทางด้านภาษาอังกฤษให้เกิดประโยชน์ เพื่อหยอดคำหวานเกี้ยวสาวนักเรียนแลกเปลี่ยนชาวเยอรมันที่มาอยู่ในคลาสเดียวกัน ฮร่าาาา เรื่องราวของ Carolin Marie ยูทูบเบอร์ ช่างภาพ และนักเรียนแลกเปลี่ยนชาวเยอรมันวัย 18 ปี ได้มีโอกาสแวะไปในห้องเรียนที่ประเทศญี่ปุ่น และแนะนำตัวให้กับเพื่อนๆ ในห้องได้รู้จัก ซึ่งก็จะมีช่วงเวลาที่ให้เพื่อนๆ ได้ถามคำถามเธอด้วย แต่แล้วก็มีนักเรียนชายผู้กล้า ลุกขึ้นถามเธอในสิ่งที่แตกต่างจากเพื่อนคนอื่นๆ อย่างสิ้นเชิง ใช้วิถีความเซียนในการเนียนจีบเธอแบบน่ารักสุดๆ “ผมขอถามคุณหน่อยได้มั้ย?” เขาเริ่มต้นบทสนทนา และเธอก็ตอบ “ได้สิ” จากนั้นก็เริ่มด้วยการบอกว่า “เนี่ย มีคนดีๆ อยู่นะ” พร้อมกับชี้ไปที่เพื่อนที่นั่งอยู่ข้างๆ ก่อนที่จะชี้กลับมาที่ตัวเองว่า “โดยเฉพาะตัวผม” แหม๊… หมอนี่มันร้ายกาจจริงๆ “แล้วถ้าคุณมีแฟนในห้องนี้ คนไหนจะเหมาะสมที่สุด?” . ด้วยความเขินก็ทำได้แค่เพียงบอกว่า “ทุกคนน่ารักมากๆ เลย ฉันตัดสินใจไม่ได้จริงๆ” ถือว่าเป็นอีกหนึ่งโมเม้นท์น่ารักๆ จากประเทศญี่ปุ่น…
-
8 เรื่องน่ารู้ ที่จะทำให้การสนทนาของคุณประสบความสำเร็จมากขึ้น ตามหลักจิตวิทยา
เคยสงสัยไหมว่าทำไมเวลาคนบางคนพูด เราถึงได้รู้สึกว่าเรื่องที่เขาพูดนั้นมันช่างน่าสนใจ หรือเวลาอาจารย์หยุดพูดเสียกลางคัน เสียงในห้องเรียนถึงได้เงียบลงอย่างไม่น่าเชื่อ… เรื่องราวเหล่านั้นเป็นเรื่องที่อธิบายได้ในทางจิตวิทยา และบ่อยหลังที่การกระทำที่เราคิดว่าเราทำไปโดยไม่รู้ตัวนั้นจะมาจากการใช้จิตวิทยาของอีกฝั่งก็เป็นไปได้ อะไรแบบ 8 จิตวิทยาต่อไปนี้ ที่จะทำให้คุณสามารถควบคุมการสนทนาได้ดีขึ้น และนำไปสู่ความสำเร็จในการสื่อสารมากกว่าที่เคยเป็นมาก็เป็นได้ เมื่อกลุ่มคนหัวเราะพร้อมๆ กัน พวกเขาจะมองไปที่คนที่พวกเขาสนิทที่สุด เคล็ดลับนี้สามารถทำให้คุณสังเกตความสัมพันธ์ในกลุ่มได้เป็นอย่างดี คุณจะสามารถบอกได้ว่าสมาชิกในทีมของคุณเชื่อมโยงกันแบบไหน ไม่แน่นะคุณอาจจะจับได้ว่าใครในกลุ่มแอบเดตกันอยู่ หรือใครแอบชอบใครได้เลยด้วย การที่ใครทำอะไรให้คุณ มันจะทำให้เขาชอบคุณมากขึ้น ฟังดูแปลกใช่ไหมล่ะ แต่เวลาที่คุณสามารถโน้มน้าว (ไม่ใช่บังคับนะ) ให้ใครทำอะไรให้คุณได้ พวกเขาจะหาเหตุผลที่พวกเขาทำสิ่งที่คุณขอโดยไม่รู้ตัว อะไรอย่าง ฉันอยากช่วยเขานะ หรือ เขาดูเป็นคนดีคงไม่เป็นคนลืมบุญคุณหรอก ซึ่งนั่นจะทำให้ภาพลักษณ์ของคุณในหัวพวกเขาดูดีขึ้นด้วยนั่นเอง สิ่งสำคัญคือเขาต้องทำมันด้วยความตั้งใจของตัวเอง ดังนั้นการโน้มน้าวที่ว่าจึงต้องไม่ใช่การขู่หรือบังคับเด็ดขาด ความเงียบจะทำให้ได้คำตอบ เมื่อคุณถามคำถามกับคนอื่น และพวกเขาตอบช้ามากๆ แทนที่จะถามซ้ำๆ ลองเงียบดูสิ ช่วงเวลาแห่งความเงียบทำให้คนรู้สึกราวกับว่าพวกเขาควรจะพูดอะไรสักอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเขาถูกถามอะไรสักอย่างอยู่ การผายมือจะสร้างความเชื่อถือได้ เนื่องจากท่าทางการผายมือ แทนที่จะชี้บอกทิศทางด้วยนิ้ว บ่งบอกถึงความไว้วางใจ ทำให้ผู้คนมีแนวโน้มที่จะเห็นด้วยกับสิ่งที่คุณกำลังพูด และคิดว่าคุณเป็นมิตร ในทางกลับกันการชี้จะถูกเห็นว่าเป็นการก้าวร้าว และไม่สุภาพ การพยักหน้าในระหว่างการพูดคุย จะทำให้อีกฝ่ายเห็นด้วยกับคุณมากขึ้น คนมักจะทำตามภาษากายของคนรอบข้างโดยไม่รู้ตัว เพื่อทำความเข้าใจในสิ่งที่อีกฝ่ายรู้สึก ดังนั้นเมื่อคุณพยักหน้าศีรษะขณะที่คุณพูด คุณจะแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่คุณพูดนั้นเป็นความจริง…
-
“3 วิธีการพูด” ที่เป็นสัญญาณว่าคุณมีแนวโน้มของ “โรคซึมเศร้า” ลองไปสังเกตกันดู…
ในสังคมปัจจุบันนี้เราสามารถพบเห็นผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าในสมัยก่อน โดยผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะไม่เหมือนกับความรู้สึกเศร้าของคนทั่วไปที่เกิดขึ้นและหายไปเป็นครั้งคราว พวกเขาจะรู้สึกซึมเศร้าเป็นประจำและแต่ละครั้งก็ยาวนานกว่าปกติ แถมบ่อยครั้งยังไม่รู้สาเหตุของความเศร้าด้วย อย่างไรก็ตามการที่จะสังเกตว่าเราหรือคนรอบตัวเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่าเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก บางคนก็เป็นโรคซึมเศร้าโดยที่ไม่รู้ตัว หากอยากทราบแน่ชัดต้องไปให้จิตแพทย์วินิจฉัยเท่านั้น แต่ในวันนี้มีอีกหนึ่งวิธีสังเกตที่ได้ผ่านผลการรับรองจากนักวิจัยแล้ว ด้วยการสังเกตจากวิธีพูดของแต่ละคนนั่นเอง งานวิจัยที่ว่านี้ถูกตีพิมพ์ลงในวารสารวิทยาศาสตร์ Clinical Psychological Science โดยทำการทดลองจากการอ่านบันทึก และฟังบทสนทนาจำนวนมากของคนที่เป็นโรคซึมเศร้า และคนที่ไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้า จึงสังเกตเห็นว่าคนที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมีการใช้ภาษาที่แตกต่างออกไปดังนี้ 1. มักจะใช้สรรพนามบุคคลที่หนึ่งที่เป็นเอกพจน์ คนเป็นโรคซึมเศร้ามักจะใช้สรรพนามกล่าวถึงตัวเองเช่น ฉัน ผม หรือเรา(ในกรณีที่หมายถึงตัวเองคนเดียว) อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเป็นตัวชี้ให้เห็นว่าพวกเขาไม่ค่อยมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นมากนัก อาจจะเป็นเพราะเพวกเขาชอบปลีกตัวมาอยู่คนเดียวมากกว่าจะอยู่คนจำนวนมากก็ได้ อีกทั้งการใช้สรรพนามแบบนี้ ยังทำให้เราเห็นว่าคนที่เป็นโรคซีมเศร้ามักจะให้ความสนใจกับตัวเองและแนวคิดของตัวเองมากเป็นพิเศษ และไม่ค่อยสนใจแนวคิดในแบบของคนอื่นมากนัก 2. พูดถ้อยคำที่มีความหมายในเชิงลบอยู่บ่อยครั้ง เมื่อเปรียบเทียบกับคนทั่วไปแล้ว คนที่เป็นโรคซึมเศร้าจะใช้คำที่มีความหมายเชิงลบมากกว่า โดยคำพูดเหล่านั้นมักจะเกี่ยวกับอารมณ์ในเชิงลบเช่น เศร้า และเหงา เป็นต้น และยังรวมไปถึงคำพูดอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ของตัวเองด้วย แต่ผลการวิจัยก็ชี้ว่าการใช้สรรพนามบ่งบอกถึงโรคซึมเศร้าได้ดีกว่าการใช้คำพูดในเชิงลบอย่างเห็นได้ชัด 3. ภาษาที่ใช้มักจะมีความสุดโต่ง เมื่อคนเราอยู่ในภาวะซึมเศร้าก็มักจะใช้ภาษาแบบสุดโต่ง (ถ้าไม่ขาวก็ดำไปเลย ไม่มีระหว่างกลาง) มากกว่าที่คิด อย่างเช่นคำว่า เป็นประจำ ไม่เคย เต็มไปหมด…
-
ผู้เชี่ยวชาญเผย 11 ทริคทางจิตวิทยา เพื่อโน้มน้าวให้คนอื่นทำตามในสิ่งที่เราขอ!?
เชื่อไหมว่าไม่จำเป็นต้องเป็นถึงระดับ CEO เราก็สามารถทำให้คำพูดเรามีน้ำหนักพอที่จะจูงใจคนฟังได้!! เพราะล่าสุดผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาได้ออกมาเผยถึง 11 ทริคไม่ลับ ที่จะช่วยทำให้เราสามารถสื่อสารกับฝ่ายตรงข้ามให้เป็นไปตามที่เราต้องการได้ง่ายขึ้น โดยที่บางทีพวกเขาอาจจะไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำ 1. ใช้ตัวล่อช่วยทำให้คนหันมาซื้อสินค้าเรามากขึ้น นักเศรษฐศาสตร์ ‘Dan Ariely’ เคยกล่าวบนเวที Ted Talk ถึงเทคนิคการขายของสองสิ่งที่อาจจะมีราคาสูงใกล้เคียงกัน ให้ผู้ขายใช้สินค้าตัวที่ 3 เข้ามาเป็นตัวล่อ ยกตัวอย่างเช่น ร้านแห่งหนึ่งขายเค้กช็อคโกแลตปอนด์ละ 500 บาท เค้กกล้วยปอนด์ละ 1,000 บาท แต่ถ้าเอาทั้งเค้กกล้วย และเค้กช็อคโกแลต ราคาก็จะยังคงอยู่ที่ 1,000 บาท จะทำให้ดูเหมือนว่าตัวเลือกที่ 3 น่าสนใจมากที่สุด และดูคุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งเขาได้อธิบายเพิ่มว่านั่นก็คือการสร้างตัวเลือกที่ 3 โดยให้กลุ่มคนซื้อรู้สึกว่าคุ้มค่าที่สุด 2. เปลี่ยนบรรยากาศการพูดคุยให้อยู่ในที่ๆ คนรู้สึกเห็นแก่ตัวน้อยลง บรรยากาศคือสิ่งสำคัญในการต่อรอง ถ้าหากเราต้องต่อรองกับเพื่อนร่วมงานละก็ บางทีอาจจะเปลี่ยนจากห้องประชุมที่แสนจะน่าเบื่อ ย้ายมาคุยกันที่บรรยากาศร้านกาแฟสุดแสนจะร่มรื่นย์ หรือสวนสาธารณะ สถานที่ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมความก้าวร้าวของมนุษย์ได้น้อยกว่า 3. ยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือผู้อื่นก่อน Robert Cialdini นักจิตวิทยาได้กล่าวว่า อีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยทำให้คนๆ…
-
ห๊ะ!? ชาวเน็ตแซะ ชมพู่ อารยา ‘ลูกครึ่งสำเนียงบ้านๆ’ จากการให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศ
เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งเมื่อมีดาราคนดังจากประเทศไทยเรา ไปเป็นตัวแทนบนพรมแดงงานระดับโลก อย่าง ชมพู่ อารยา ที่ทุกๆ ท่านได้เห็นกันไปแล้ว ซึ่งนอกจากการได้ไปร่วมงานแล้วก็ต้องมีการสัมภาษณ์กันเล็กๆ น้อยๆ เป็นปกติธรรมดา คลิปสัมภาษณ์ก็ตามที่เห็นนี้เลย… จากคลิปข้างต้นนั้น ชมพู่ อารยา ได้ให้สัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษได้อย่างดีเยี่ยมเลยล่ะ แต่สุดท้ายไม่วายชาวเน็ตไทยที่มักจะจับจ้องทุกรูขุมขน มีการจิก แซะ ว่าเป็นลูกครึ่งแต่สำเนียงไม่ได้เหมือนกับเจ้าของภาษาเลย (สำเนียงบ้านๆ) ซึ่งนั่นก็เป็นเพียงแค่ความคิดเห็นส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้าหากเรามองในอีกด้านก็คือ ชมพู่ อารยา เติบโตที่เมืองไทย จึงใช้ภาษาไทยเป็นภาษาหลัก ภาษาอังกฤษจึงอาจจะตกหล่นไปบ้าง แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับที่โอเค เอาเป็นว่าเรามาดูความคิดเห็นของอาจารย์อดัมกับกรณีแซะนี้บ้าง มันก็ย้อนกลับมาที่สังคมไทยเราตรงที่ว่า การที่ซักคนหนึ่งจะพูดภาษาอังกฤษ จำเป็นที่จะต้องมีสำเนียงที่เป๊ะ แต่ถ้าเป๊ะมากก็จะถูกหาว่าดัดจริต จนกลายเป็นความรู้สึกกลัวที่จะพูดภาษาอังกฤษ ซึ่งไม่ใช่กลัวที่จะพูดกับชาวต่างชาติ แต่กลัวที่จะถูกคนไทยด้วยกันด่าจิกและล้อเลียนแทน ที่มา : อาจารย์ อดัม, ThaiCh8
-
ระวังตัวเอาไว้ให้ดี!! เผย 8 กลยุทธ์ในการจับโกหก จากอดีตเจ้าหน้าที่ FBI
ความคิดของมนุษย์เป็นสิ่งที่ซับซ้อนมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่กระทำความผิด ทั้งๆ ที่ตัวเองเป็นผู้กระทำแต่ไม่อยากเปิดเผยให้ใครได้รับรู้ กลายมาเป็นบ่อเกิดแห่งการโกหกและหลอกลวงเพื่อให้พ้นผิด โดยที่อดีตเจ้าหน้าที่ FBI นามว่า LaRae Quy ผู้ที่ร่วมฝึกฝนและปฏิบัติหน้าที่ในการอ่านจิตใจของผู้คน เพื่อที่จะเค้นความจริงที่ปกปิดอยู่ภายใน ได้ออกมาเปิดเผยและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจับโกหก ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตจริงได้ 1. สร้างบรรยากาศที่ดีในการเปิดอกพูดคุย โดยทั่วไปแล้วการสืบสวนเพื่อเค้นหาความจริง บทบาทของตำรวจที่ดีมักจะได้ผลดีกว่าตำรวจที่แย่เสมอ (ความเคร่งขรึมและทำร้ายร่างกายผู้ต้องหา) เพราะฉะนั้นแล้วการเห็นอกเห็นใจในระหว่างบทสนทนา จะช่วยสร้างความไว้ใจให้กับฝ่ายตรงข้าม จนยอมเปิดเผยความจริงให้เราได้รับรู้ 2. สร้างความประหลาดใจกับคำถามที่คาดไม่ถึง คนที่โกหกจะพยายามคาดเดาคำถามของฝ่ายตรงข้ามอยู่เสมอ ซึ่งคำตอบที่ออกมานั้นจะไหลลื่นและเป็นธรรมชาติ รวมไปถึงอาจจะมีการฝึกซ้อมตอบคำถามมาก่อนด้วย ดังนั้นการถามคำถามที่พวกเขาคาดไม่ถึงจะทำให้การตอบคำถามชะงักไปในทันที จนเริ่มไม่มั่นใจที่จะตอบ 3. ให้ฟังมากกว่าพูด (สังเกตอาการของคู่สนทนา) คนโกหกมักจะพูดมากกว่าคนที่พูดแต่ความจริง (มีแต่น้ำไม่มีเนื้อ) เพื่อพยายามโน้มน้าวและหลีกเลี่ยงประเด็นให้คนฟังรู้สึกคล้อยตามด้วยประโยคที่สลับซับซ้อนเพื่อซ่อนความจริง ลองสังเกตพฤติกรรมในระหว่างที่พูดอยู่ดังต่อไปนี้ 3.1 หากรู้สึกมีความตึงเครียด จะพูดเร็วกว่าปกติ 3.2 ยิ่งเครียดก็จะยิ่งพูดเสียงดังมากขึ้น 3.3 น้ำเสียงเริ่มไม่เป็นธรรมชาติ เปลี่ยนไปจากเดิมในตอนแรกที่เริ่มพูด 3.4 มักจะไอและล้างลำคอบ่อยๆ เวลาที่พูดแล้วรู้สึกเครียด…