Tag: การสูญพันธุ์
-
ชวนคิดถึง… สัตว์ 17 ชนิดที่เคยอยู่ร่วมกับมนุษย์แต่ต้อง “สูญพันธุ์” ไปอย่างน่าเศร้า
เหล่าสรรพสัตว์บนโลกของเรานั้นมีมากมายหลายชนิดเสียเหลือเกิน แต่ถึงแม้จะมีมากอย่างไรมันก็มีการลดจำนวนลงไปเนื่องจากการสูญพันธุ์ สัตว์หลายชนิดที่สูญพันธุ์ไปก็เป็นอันตรายต่อมนุษย์อย่างมหาศาล แต่ขณะเดียวกันสัตว์หลายๆ ชนิดก็เป็นส่วนสำคัญต่อสภาพแวดล้อมและห่วงโซ่อาหาร แต่สุดท้ายมันก็กลับต้องสูญพันธุ์ไปอย่างน่าเศร้า วันนี้ เราจึงอยากเสนอ สัตว์ 17 ชนิดที่เคยอยู่ร่วมกับมนุษย์แต่ต้อง สูญพันธุ์จากไปอย่างน่าเศร้า จะมีสัตว์ชนิดไหนบ้างนั้น ไปชมกันเลย… 1. เสือโคร่งชวา, เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย สูญพันธุ์ไปเมื่อปี 1993 ที่มา: Javan_tiger 2. นกพิราบพาสเซนเจอร์, ทวีปอเมริกาเหนือ สูญพันธุ์เมื่อวันที่ 1 กันยายน 1904 ที่มา: Passenger_pigeon 3. แมวน้ำมังค์แคริบเบียน, หมู่เกาะแคริบเบียน สูญพันธุ์เมื่อปี 2008 ที่มา: Caribbean_monk_seal 4. คางคกสีทอง, ประเทศคอสตาริกา สูญพันธุ์เมื่อปี 1989 ที่มา: Golden_toad 5. นกโดโด, ประเทศมอริเชียส ทวีปแอฟริกาตะวันออก สูญพันธุ์เมื่อปี 1662 ที่มา: Dodo 6. วัวทะเลชเตลเลอร์, หมู่เกาะคอมมานเดอร์…
-
ฉลามน้ำจืดหายาก “ฉลามแม่น้ำคงคา” ถูกพบเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี……ที่ตลาด
ปลาฉลามแม่น้ำคงคา หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ Glyphis gangeticus คือปลาฉลามน้ำจืดสายพันธุ์หายากที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำคงคาสมชื่อ พวกมันเป็นหนึ่งในปลาฉลามที่หายากที่สุดในโลกและเสียต่อการสูญพันธุ์เป็นอย่างมาก ซึ่งถูกพบเห็นครั้งสุดท้ายในปี 2006 แต่เมื่อปี 2016 ที่ผ่านมานักศึกษามหาวิทยาลัย ได้พบกับฉลามจำนวนมากถูกชำแหละขายในตลาดขายปลาที่ท่าเรือ Sassoon ในมุมไบ หนึ่งในนั้นคือฉลามเพศเมียขนาด 8 ฟุต 7 นิ้ว (ราวๆ 260 ซม.) ที่มีจมูกกลม ตาเล็ก โครงร่างดูแข็งแรง และครีบกว้าง แม้จะมีลักษณะคล้ายฉลามวัวทั่วไป แต่เขาก็สงสัยว่ามันจะเป็นว่าฉลามตัวที่ว่านั้นคือ ปลาฉลามแม่น้ำคงคา และได้ทำการถ่ายรูปของปลาฉลามที่ว่าไว้ ก่อนที่มันจะถูกชำแหละขายในราคาสูง ฉลามแม่น้ำมีความลึกลับมาก มันจะมีตาเล็ก และครีบกว้างมาก ภาพที่ว่านั้นได้รับการยืนยันว่าฉลามตัวในภาพนั้นเป็นปลาฉลามแม่น้ำคงคาจริงๆ โดยงานวิจัยที่ได้รับเงินทุนจากมูลนิธิ Save Our Seas ในเวลาต่อมา และถูกนำไปตีพิมพ์ในวารสารชีววิทยาปลาเมื่อไม่นานมานี้ โดยที่มีหลายๆ คนเชื่อว่าปลาฉลามตัวในภาพนั้น อาจจะเป็นปลาฉลามตัวสุดท้ายของสายพันธุ์นี้ก็เป็นได้ ผู้เชี่ยวชาญยังคงพยายามหาตำแหน่งที่แน่ชัดที่ฉลามแม่น้ำคงคานี้ถูกจับขึ้นมา โดยหวังว่าพวกเขาจะสามารถพบปลาฉลามแม่น้ำคงคาที่ยังไม่ถูกล่าอีก ตามการคาดการนั้น ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่ามันถูกจับมาจากที่ไหนสักแห่งตามแนวทะเลอาหรับ “เมื่อพิจารณาถึงสถานะที่ใกล้สูญพันธุ์ของสัตว์ชนิดนี้และความหายากของปลาฉลามชนิดนี้ ทำให้จำเป็นต้องมีการดำเนินการจัดการเร่งด่วนเพื่อเพิ่มจำนวนประชากรของมัน ทั้งในด้านการจัดหาที่อยู่อาศัยที่อุดมสมบูรณ์ ควบคู่ไปกับการให้ความรู้แก่ชาวประมงในพื้นที่” ผู้เขียนงานวิจัยกล่าว ที่มา dailymail, foxnews, express, ibtimes
-
นักสัตววิทยาเผย โลกกำลังเผชิญวิกฤตใกล้สูญพันธุ์ และอาจจะเร็วกว่าเดิมถึง 100 เท่า!!
ด้วยภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลก ทั้งการมีมลพิษต่างๆ ที่มากขึ้น รวมถึงภาวะโลกร้อนที่เรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ทำให้โลกของเราดูเหมือนว่าจะมีอายุที่สั้นลงและสิ่งมีชีวิตก็เริ่มสูญพันธุ์กันมากขึ้น และหากยังมีสภาพที่เป็นเช่นนี้อยู่ ก็อาจจะเกิดเรื่องร้ายๆ ขึ้นกับโลกของเรามากขึ้นตามไปด้วย และเมื่อไม่นานมานี้นักสัตววิทยาได้ออกมาเปิดเผยว่า โลกของเราอาจจะต้องเผชิญกับการสูญพันธุ์ขนาดใหญ่อีกครั้ง นับตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์ที่สูญพันธุ์ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว โดยรายงานสิ่งแวดล้อม The Living Planet report ซึ่งจัดทำโดยองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) และสมาคมสัตวศาสตร์แห่งลอนดอน (ZSL) ได้คาดการณ์เอาไว้ว่าจากสถานการณ์ในปัจจุบันโลกของเราจะเผชิญกับการสูญพันธุ์ที่ไวกว่ากำหนดเดิมถึง 100 เท่า ด้วยเหตุนี้ ในปี 2020 นี้จำนวนประชากรสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, ปลา, สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์อื่นๆ ที่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ จะลดลงถึง 2-3 เท่าในเวลา 50 ปีที่ผ่านมา ในอดีตเราอาจจะมีความคิดที่ว่า ไดโนเสาร์อาจจะสูญพันธุ์ไปจากโลกเนื่องจากมีอุกกาบาตขนาดใหญ่พุ่งเข้ามาชนที่โลกของเรา แต่ในตอนนี้สิ่งที่จะทำให้ดาวดวงนี้ใกล้จะเข้าสู่ภาวะวิกฤตก็คือสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า ‘มนุษย์’ รายงานสิ่งวาดล้อมนี้ได้วิเคราะห์ข้อมูลสายพันธุ์สัตว์กว่า 3,706 ชนิด และได้พบว่า ในช่วงปี 1970 ถึง 2012 จำนวนประชากรสัตว์แต่ละชนิดลดลงไปถึง 58 เปอร์เซ็นต์ และถ้ายังรักษาระดับนี้ไว้เรื่อยๆ ภายในปี 2020 ตัวเลขจะลดลงไปถึง…
-
รู้จัก “การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่” ของสิ่งมีชีวิตทั้ง 5 ครั้ง ที่เคยเกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์โลก!!
ใครๆ ต่างก็เคยได้ยินเรื่องอุกกาบาตครั้งใหญ่ ที่เป็นสาเหตุให้สิ่งมีชีวิตยุคไดโนเสาร์ต้องสูญพันธุ์ไป แน่นอนว่าหลายคนก็คงจะคิดว่ามันเป็นการสูญพันธุ์เพียงครั้งเดียวที่เคยเกิดขึ้นบนโลกใบนี้ แต่ทว่าจริงๆ แล้วการสูญพันธ์ุนั้นเกิดขึ้นมาแล้วมากถึง 5 ครั้งเลยทีเดียว ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เรารู้ได้ก็มาจากการที่นักวิทยาศาสตร์ได้วิเคราะห์ฟอสซิลจากใต้ทะเล ทำให้พวกเขาพบว่า ก่อนหน้ายุคไดโนเสาร์ ได้มีการสูญพันธ์ของสิ่งมีชีวิตบนโลกมาแล้วมากถึง 4 ครั้ง ว่าแต่จะมีอะไรบ้างเรามาดูกันเลยดีกว่า 1. ช่วง 430-440 ล้านปีก่อน การสูญพันธุ์ยุคแรกรู้จักกันในชื่อว่า ยุคออร์โดวิเชียน (Ordivician) ซึ่งเป็นยุคที่สิ่งมีชีวิตประเภทปะการัง ไบรโอซัว และปลาหมึก อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก พอเข้าสู่ยุคไซลูเรียน (Sulurian) ก็เริ่มมีสิ่งมีชีวิตประเภทปลาที่มีขากรรไกรและสัตว์บกขึ้นเป็นครั้งแรก รวมถึงพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยสปอร์ ส่วนสาเหตุของการสูญพันธุ์คาดว่าน่าจะเกิดจากน้ำทะเลลดระดับลง จากการก่อตัวเป็นก้อนน้ำแข็งยักษ์ และต่อมาน้ำทะเลเพิ่มระดับขึ้นกะทันหัน จากการละลายของก้อนน้ำแข็งขนาดยักษ์ ทำให้สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต 25% ในโลกต้องสูญพันธุ์ไป และคิดเป็น 60% ของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำทั้งหมดเลยทีเดียว 2. ช่วง 364 ล้านปีก่อน ช่วงเวลานี้จะอยู่ในยุคดีโวเนียน (Devonian) ซึ่งเป็นยุคที่อเมริกาเหนือ-กรีนแลนด์ ยังรวมเข้ากับยุโรปอยู่ และเป็นยุคของปลาดึกดำบรรพ์ต่างๆ (แมลงได้เกิดขึ้นครั้งแรกในยุคนี้) แถมพืชจำพวกเมล็ดก็เริ่มขยายพันธุ์ออกไปจนเกิดเป็นป่าขึ้นมา สาเหตุของการสูญพันธุ์ในยุคนี้ยังไม่มีสมมติฐานที่มีน้ำหนักเพียงพอในการสรุปว่าอะไรเป็นสาเหตุกันแน่ แต่ทว่าผลลัพธ์ของเหตุการณ์นี้ทำให้สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ไป 22% ซึ่งคิดเป็น…