Tag: การเขียน
-
เขียนหรือพิมพ์!? รวม 23 ภาพ “ลายมือ” โคตรสวย ต้องฝึกกี่ชาติถึงจะเขียนได้แบบนี้เนี่ย!?
นับวันเทคโนโลยียิ่งก้าวหน้า เมื่อการพิมพ์ข้อความต่างๆ สามารถทำได้โดยง่าย สิ่งที่จะร่นถอยลงไปก็คือทักษะการเขียนด้วยลายมือนั่นเอง ทั้งๆ ที่การเขียนด้วยลายมือที่สวยงามจะเป็นสิ่งปกติที่คนเราควรมี แต่ว่าปัจจุบันการเขียนด้วยลายมือที่สวยงามมันได้กลายเป็นศิลปะไปเสียแล้ว แถมคนที่มีลายมือสวยยังดูน่าชื่นชมอีกต่างหาก วันนี้เราจึงรวบรวมภาพลายมือการเขียนที่โคตรสวยราวกับใช้คอมพิวเตอร์ โดยรวบรวมมาจากเว็บไซต์ Boredpanda และ Reddit ลองไปชม แล้วคุณจะรู้สึกว่ามันน่าหลงใหลจริงๆ 1. นี่คือลายมือของเด็กเกรด 8 (ม.2) ชาวอินเดีย โดยคุณ notautobot 2. ศาสตราจารย์ชาวฟิลิปปินส์ผู้มีระเบียบยันลายมือ โดยคุณ comsatteur 3. สวยทั้งลายมือ ทั้งภาพวาด โดยคุณ BikerThrowaway606 4. ลายมือตัวเขียนภาษาอังกฤษ สวยงามสุดๆ โดยคุณ that_guy183 5. ลายมือตัวเขียนฉบับครีเอทีฟ เจ๋งมากแถมยังสวยอีกด้วย โดยคุณ pennsler 6. ลายมือแบบนี้เลยที่ต้องการ อ่านง่ายแถมเป็นระเบียบ โดยคุณ handwritten.art 7. ลายมือของคุณปู่!! โดยคุณ MAKE_HATE 8. เขียนบทกลอน The Raven ออกมาด้วยลายมือนี้มันช่างดูขลังจริงๆ…
-
ผู้เชี่ยวชาญออกเตือน ‘เด็กๆ จับปากกาเขียนผิดวิธี’ จะส่งผลเสียต่อความแม่นยำในการเขียน…
การจับปากกาหรือดินสอนั้นดูเหมือนจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่อะไร แต่ถ้าหากมองลงไปลึกๆ แล้ว จะพบว่าเด็กในยุคปัจจุบันที่เติบโตท่ามกลางอุปกรณ์ทัชสกรีน และใช้เวลาส่วนมากไปกับสิ่งเหล่านี้ จะไม่มีความสามารถในการเขียนหนังสือได้ดีเท่าที่ควร จากรายงานล่าสุดของ NHS Trust ได้กล่าวถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กๆ ชาวอังกฤษ ที่ไม่สามารถจับปากกาหรือดินสอ เขียนได้อย่างคล่องแคล่วเหมือนกับเด็กๆ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา “เด็กๆ ส่วนมากไม่มีความแข็งแรงและความแม่นยำของมือ เมื่อเทียบกับเด็กๆ ในช่วง 10 ปีที่แล้ว” Sally Payne กุมารเวชศาสตร์บำบัดผู้เป็นหัวหน้าทีมวิจัยกล่าว “จะเห็นได้ชัดว่าจำนวนของเด็กที่ไม่สามารถจับดินสอเขียนได้อย่างมั่นคง มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะพวกเขาไม่มีทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานเลย” เธอกล่าวเสริม ลักษณะการจับเครื่องเขียนที่ถูกต้องแบบ Dynamic Tripod นิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลาง ประสานร่วมกัน สามารถเคลื่อนไหวสะบัดได้เล็กน้อยตามต้องการ ทักษะการเขียนนั้นจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อมือ ซึ่งแตกต่างจากการปัดหรือการแตะหน้าจอ ที่ถูกใช้งานในการอ่านและเขียนข้อความบนโลกออนไลน์ในปัจจุบัน เมื่อการเขียนถูกนำมาใช้บนแผ่นกระดาษ การจับดินสอหรือปากกาที่ถูกต้องนั้นกลายเป็นเรื่องโบราณไปในทันที และตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว การจับเครื่องเขียนที่ถูกต้องนั้นก็มีมากกว่า 1 วิธี อ้างอิงจากงานวิจัยในปี 1996 ทำการสรุปผลการศึกษาอีกหลายชิ้นในช่วงยุค…
-
“3 วิธีการพูด” ที่เป็นสัญญาณว่าคุณมีแนวโน้มของ “โรคซึมเศร้า” ลองไปสังเกตกันดู…
ในสังคมปัจจุบันนี้เราสามารถพบเห็นผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าในสมัยก่อน โดยผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะไม่เหมือนกับความรู้สึกเศร้าของคนทั่วไปที่เกิดขึ้นและหายไปเป็นครั้งคราว พวกเขาจะรู้สึกซึมเศร้าเป็นประจำและแต่ละครั้งก็ยาวนานกว่าปกติ แถมบ่อยครั้งยังไม่รู้สาเหตุของความเศร้าด้วย อย่างไรก็ตามการที่จะสังเกตว่าเราหรือคนรอบตัวเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่าเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก บางคนก็เป็นโรคซึมเศร้าโดยที่ไม่รู้ตัว หากอยากทราบแน่ชัดต้องไปให้จิตแพทย์วินิจฉัยเท่านั้น แต่ในวันนี้มีอีกหนึ่งวิธีสังเกตที่ได้ผ่านผลการรับรองจากนักวิจัยแล้ว ด้วยการสังเกตจากวิธีพูดของแต่ละคนนั่นเอง งานวิจัยที่ว่านี้ถูกตีพิมพ์ลงในวารสารวิทยาศาสตร์ Clinical Psychological Science โดยทำการทดลองจากการอ่านบันทึก และฟังบทสนทนาจำนวนมากของคนที่เป็นโรคซึมเศร้า และคนที่ไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้า จึงสังเกตเห็นว่าคนที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมีการใช้ภาษาที่แตกต่างออกไปดังนี้ 1. มักจะใช้สรรพนามบุคคลที่หนึ่งที่เป็นเอกพจน์ คนเป็นโรคซึมเศร้ามักจะใช้สรรพนามกล่าวถึงตัวเองเช่น ฉัน ผม หรือเรา(ในกรณีที่หมายถึงตัวเองคนเดียว) อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเป็นตัวชี้ให้เห็นว่าพวกเขาไม่ค่อยมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นมากนัก อาจจะเป็นเพราะเพวกเขาชอบปลีกตัวมาอยู่คนเดียวมากกว่าจะอยู่คนจำนวนมากก็ได้ อีกทั้งการใช้สรรพนามแบบนี้ ยังทำให้เราเห็นว่าคนที่เป็นโรคซีมเศร้ามักจะให้ความสนใจกับตัวเองและแนวคิดของตัวเองมากเป็นพิเศษ และไม่ค่อยสนใจแนวคิดในแบบของคนอื่นมากนัก 2. พูดถ้อยคำที่มีความหมายในเชิงลบอยู่บ่อยครั้ง เมื่อเปรียบเทียบกับคนทั่วไปแล้ว คนที่เป็นโรคซึมเศร้าจะใช้คำที่มีความหมายเชิงลบมากกว่า โดยคำพูดเหล่านั้นมักจะเกี่ยวกับอารมณ์ในเชิงลบเช่น เศร้า และเหงา เป็นต้น และยังรวมไปถึงคำพูดอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ของตัวเองด้วย แต่ผลการวิจัยก็ชี้ว่าการใช้สรรพนามบ่งบอกถึงโรคซึมเศร้าได้ดีกว่าการใช้คำพูดในเชิงลบอย่างเห็นได้ชัด 3. ภาษาที่ใช้มักจะมีความสุดโต่ง เมื่อคนเราอยู่ในภาวะซึมเศร้าก็มักจะใช้ภาษาแบบสุดโต่ง (ถ้าไม่ขาวก็ดำไปเลย ไม่มีระหว่างกลาง) มากกว่าที่คิด อย่างเช่นคำว่า เป็นประจำ ไม่เคย เต็มไปหมด…