Tag: ชนพื้นเมือง
-
ระยะทาง 40,000 กม. กับเวลา 1ปี ตากล้องกลับมาพร้อมภาพชนพื้นเมืองไซบีเรีย จากดินแดนอันกว้างใหญ่
เพื่อนๆ จำ Alexander Khimushin ตากล้องที่ใช้เวลา 6 เดือนเดินทางเก็บภาพชาวพื้นเมืองของของไซบีเรีย ด้วยระยะทางกว่า 25,000 กม. ได้กันมั้ย เขาได้กลับมาแล้ว โดยใช้เวลาเพิ่มไปเป็นหนึ่งปีเพื่อให้ได้มาซึ่งภาพของเหล่าชนพื้นเมืองในพื้นที่ต่างๆ เค้านั้นขับรถ SUV คนเดียวด้วยระยะทางร่วมกว่า 40,000 กิโลเมตร และได้พบเจอกับสถานที่ต่างๆ ในไซบีเรีย ตั้งแต่ทะเลสาบ Baikal ไปถึงชายฝั่งของทะเลญี่ปุ่น จากที่ราบอันไม่มีที่สิ้นสุดของมองโกเลียไปจนถึงที่ที่หนาวที่สุดในโลกอย่าง Yakutia เหตุผลเดียวที่เค้ายอมเดินทางอย่างยากลำบากซึ่งเจอทั้งทางโหดๆ สภาพอากาศที่โหดร้าย ในครั้งนี้ก็เพื่อให้ได้มาซึ่งรูปถ่ายชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ โดยเค้าให้เหตุผลไว้ว่า “ขณะที่คนกลุ่มเล็กๆ บางกลุ่มนั้นได้กุมอำนาจในประเทศนั้นๆ แต่ชนกลุ่มน้อยอีกหลายกลุ่มกลับแทบจะไม่มีตัวตน ด้วยประชากรในกลุ่มที่เหลืออยู่เพียงเล็กน้อย จนถึงปัจจุบันพวกเขาก็ยังไม่เป็นที่รู้จักจากโลกภายนอกด้วยซ้ำ” ทำให้เค้าอยากที่จะนำเสนอชนกลุ่มเล็กๆ นี้ ให้คนทั้งโลกได้เห็น Alexander Khimushin ยอมลงทุนลำบากขนาดนี้แล้ว เพื่อนๆ จะไม่ยอมไปดูผลงานที่เขาหามาให้เราได้ชมกันเหรอ แน่นอนว่า #เหมียวฝึกหัด ต้องนำผลงานพวกนั้นมาให้เพื่อนๆ ได้ชมกันอยู่แล้ว ไปชมกันเลยครับ เด็กหญิงชาว Even ผู้หญิงชาว Sakha หญิงชราชาว Dukha เด็กสาวตัวน้อยชาว Ulchi หนุ่มชาว Oroqen…
-
ธรรมเนียมของชาวอินโดนีเซีย เก็บศพคนในครอบครัวไว้ และปฏิบัติราวกับยังมีชีวิตอยู่…
โดยปกติแล้วหากคนในครอบครัวของเราได้เสียชีวิตไป จะต้องมีการจัดพิธีตามธรรมเนียม ในบางประเทศก็นำศพไปฝัง หรืออย่างในบ้านเราเมื่อทำพิธีสวดเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะนำไปเผาใช่ไหมละ แต่สำหรับชาว Torajan ชนพื้นเมืองบนเกาะสุลาเวสี ประเทศอินโดนีเซีย กลับมีธรรมเนียมสุดแปลกประหลาดที่สืบทอดกันมาอย่างช้านานนั่นก็คือ การเก็บศพของบรรพบุรุษเอาไว้ในบ้านนั่นเอง เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2560 ทางสำนักข่าวเดลีเมล์มีรายงานว่า หลังจากที่สมาชิกในครอบครัวของชาว Torajan ได้เสียชีวิตลง พวกเขาจะทำการเก็บศพของญาติเอาไว้ในบ้านเป็นเวลานานหลายเดือน หรือบางครั้งก็นานเป็นปีๆ จนกว่าจะพร้อมจัดงานศพขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ และในขณะที่ศพอยู่ภายในบ้าน คนในครอบครัวก็จะปฏิบัติต่อศพราวกับว่ายังมีชีวิตอยู่ แม้ว่าอาจจะฟังดูแปลกพิลึก แต่บอกเลยว่าธรรมเนียมดังกล่าวนั้น ได้ถูกปฏิบัติต่อกันมานานกว่าหลายร้อยปีแล้ว หลายคนอาจจะกำลังสงสัยว่า หากเก็บศพไว้นานขนาดนี้ จะไม่ส่งกลิ่นเหม็น หรือเน่าเปื่อยหรือ? ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ชาว Torajan เขามีวิธีการเก็บศพให้คงอยู่ได้นานด้วยนะ โดยจะนำน้ำสมุนไพร หรือฉีดฟอร์มาลีนเข้าไป เพื่อเป็นการรักษาสภาพของศพ นอกจากนี้ ทางญาติก็จะนำอาหาร เครื่องดื่ม รวมถึงบุหรี่ไปวางไว้หน้าศพวันละสองครั้ง พร้อมกับชำระล้างร่างกาย และเปลี่ยนเสื้อผ้าให้กับศพอยู่เสมอ อีกทั้ง ยังนำกระโถนมาตั้งไว้ตรงมุมห้องเพื่อให้ผู้ตายได้เข้าห้องน้ำอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ซากศพจะไม่ถูกทิ้งเอาไว้ตามลำพัง และจะถูกนำไปเก็บไว้ในห้องที่เปิดไฟสว่างๆ อยู่เสมอ ทั้งนี้…
-
ชนเผ่า Wapichan จับภาพคนตัดไม้ด้วยโดรนแบบ DIY ที่ศึกษามาจาก ‘ยูทูบ’ แล้วนำส่งให้ทางการ
ในประเทศกายอานาที่ตั้งอยู่บนทวีปอเมริกาใต้นั้น กว่า 80% ของประเทศถูกปกคลุมไปด้วยภัยคุกคามของการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าอย่างผิดกฎหมาย และไม่ค่อยมีใครได้รู้ถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นเท่าไหร่นัก ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลายาวนานและไม่มีทีท่าที่จะหายไปได้ง่ายๆ มันเป็นเรื่องที่ยากมากกับการจะบอกให้ชาวโลกได้รับรู้ว่าที่นี่มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ส่วนหนึ่งนั้นมาจากจำนวนประชากรที่น้อยซะเหลือเกิน เพียงแค่ 735,000 คนเท่านั้น ซึ่งถ้าเทียบกับขนาดของพื้นที่กว่า 83,000 ตารางไมล์ แล้วต้องขอบอกเลยว่าน้อยมาก นั่นทำให้การตรวจตราและการดูแลผืนป่าไม่ถูกกระจายไปทั่วถึง แต่ชนเผ่า Wapichan ที่เป็นชาวพื้นเมืองประมาณ 9,000 คน ที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ อันเป็นพื้นที่อยู่ของเขานั้นได้ถูกบุกรุกพิ้นที่ป่าไปอย่างรวดเร็ว พวกเขาจึงร่วมกันคิดแผนการต่อต้านการบุกรุกพื้นที่ป่าอันเป็นถิ่นที่อยู่ของพวกเขา จากรายงานของเว็บไซต์ Quartz บอกว่าการที่รัฐบาลไม่สามารถลงมาจัดการกับเรื่องดังกล่าวได้นั้น เป็นเพราะพวกเขาไม่มีหลักฐานที่ชี้ชัดได้ว่า มีการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าเกิดขึ้นจริงๆ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการอะไรได้เลย ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงเป็นที่มาของความคิดอันแสนชาญฉลาดของชนเผ่า Wapichan ที่ทำการสร้างโดรนบังคับติดกล้องแบบ DIY ขึ้นมา เพื่อบังคับให้มันไปบันทึกภาพและคลิปวิดีโอเหตุการณ์การบุรุกป่าที่เกิดขึ้นจริงๆ เก็บมาเป็นหลักฐาน และส่งให้กับหน่วยงานรัฐ ทั้งหมดนั้นพวกเขาศึกษาวิธีทำมาจากคลิปวิดีโอใน Youtube และลงมือสร้างมันขึ้นมาเองทั้งหมด จากนั้นเจ้าโดรนตัวนั้นก็ถูกใช้บันทึกภาพการบุกรุกป่าในพื้นที่อยู่อาศัยของชนเผ่า Wapichan เป็นเวลากว่า 1 เดือน ก่อนจะส่งหลักฐานทั้งหมดที่ถ่ายเก็บเอาไว้ได้ให้กับทางรัฐบาล…