Tag: ชัตเตอร์
-
ง้อววว!! 20 ภาพอันเฟี้ยวฟ้าวของเหล่าเหมียว ที่พากันกลายร่างเป็นแมวนินจา แต่ละท่าคือสวย
คุณอาจจะมองว่าแมวเป็นสัตว์เลี้ยงธรรมดาๆ ทั่วไป แต่ใครจะรู้ล่ะว่าความจริงแล้วพวกมันมีความพิเศษมากกว่าที่คิด เพราะนอกจากการเป็นสัตว์เลี้ยงที่แสนดีแล้ว ยังมีความสามารถในการสวมบทเป็นนินจาอีกด้วย สำหรับใครที่นึกภาพว่าแมวนินจาจะมีลักษณะอย่างไร? Hisakata Hiroyuki ช่างภาพชาวญี่ปุ่นคนนี้ เขาได้บันทึกภาพถ่ายช่วงวินาทีที่พวกมันได้กลายร่างเป็นนินจามาให้เราได้ชมกันแล้ว คุณ Hiroyuki ได้ตัดสินใจที่จะสละเวลาของตัวเอง… เพื่อจับภาพวินาทีสุดอัศจรรย์ของเหล่าแมวเหมียว ในขณะที่มันกำลังสวมบทเป็นแมวนินจา และภาพที่ออกมาก็ดูสมบูรณ์แบบอย่างที่เห็น นี่ไม่ใช่การถ่ายภาพที่ง่ายเลย เพราะเขาจะต้องรอเวลา และใช้ความว่องไวในการกดชัตเตอร์ จนออกมาเป็นภาพที่ดูสวยและสมบูรณ์แบบอย่างที่เห็น ด้านล่างนี้เป็นภาพถ่ายของเหล่าแมวเหมียวที่พากันออกมาแสดงตนว่า มันเกิดมาพร้อมกับการเป็นนินจานะ ว่าแล้วก็มารับชมกันได้เลย . . . . . . . . . . . . . นี่เป็นเพียงภาพถ่ายสุดเท่ส่วนหนึ่งของเหล่าแมวนินจาเท่านั้น หากคุณอยากจะรับชมภาพเจ๋งๆ ของพวกมันอีกล่ะก็ สามารถเข้าไปดูได้เลยในอินสตาแกรม photo.accent และทวิตเตอร์ sakata_77 ที่มา : boredpanda
-
ความสวยงามของภาพถ่ายแบบ Long Exposure มุมมองใหม่ที่เกิดจาก “การรอคอย”
โดยปรกติแล้วการถ่ายภาพนั้นจะเป็นการบันทึกสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ เพราะบางครั้งปรากฏการณ์หรือภาพความสวยงามนั้นอาจเกิดขึ้นเพียงแค่เสี้ยววินาทีเท่านั้น แต่ยังมีเทคนิคการถ่ายภาพอีกประเภทที่ช่างภาพอาจจะต้องใช้เวลาในการถ่ายภาพที่นาน และเทคนิคที่ว่านั้นก็คือการถ่ายภาพแบบ Long Exposure โดยการถ่ายภาพประเภทนี้ช่างภาพจะต้องใช้เทคนิคและการกดชั๊ตเตอร์ที่นานกว่าปรกติ ซึ่งจะทำให้เห็นการเคลื่อนไหวของแสงและอีกมิติหนึ่งของความสวยงาม และนี่คือภาพจากเทคนิค Long Exposure ที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ แต่ละผลงานจะสวยงามแค่ไหนไปชมกันเลย… 1. ภาพถ่าบแบบ Long Exposure ของเครื่องบินที่กำลังลงจอด 2. ภาพถ่าบแบบ Long Exposure ของการตีกอล์ฟ 3. ภาพถ่าบแบบ Long Exposure รถรางที่กำลังเคลื่อนที่ออกไป 4. ภาพถ่าบแบบ Long Exposure ของไฟจากต้นคริสต์มาส 5. ภาพถ่าบแบบ Long Exposure ดอกไม้ไฟ 6. ภาพถ่าบแบบ Long Exposure ไฟจราจร 7. ภาพถ่าบแบบ Long Exposure ของรถไฟที่กำลังแล่นผ่านเทือกเขา Rockies ในประเทศแคนนาดา 8. ภาพถ่าบแบบ Long Exposure…
-
นี่คือสิ่งที่จะเกิดขึ้น เมื่อคุณกะพริบตาได้เร็วกว่า ‘ชัตเตอร์ของกล้องถ่ายรูป’ …
นี่เป็นภาพที่เกิดขึ้นเมื่อคุณกะพริบตาได้เร็วกว่าชัตเตอร์ของกล้อง… จะเห็นได้ว่าเด็กชายที่อยู่ในภาพด้านซ้ายมือยังคงหลับตาอยู่ แต่เงาสะท้อนของเขาที่อยู่ในทีวีนั้นกลับลืมตาซะงั้น!? ภาพดังกล่าวถูกแชร์ลงในเว็บไซต์ Reddit โดยสมาชิกที่ชื่อว่า bmullerone และพบว่ามันได้รับความสนใจจากชาวเน็ตมากมาย มีคนเข้าชมโพสต์ถึง 92,5000 ครั้ง และแสดงความเห็นอีกกว่า 2,127 ความเห็นเลยทีเดียว แล้วภาพแบบนี้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร? หรือจริงๆ แล้วอาจจะเป็นภาพตัดต่อก็เป็นได้? เราลองไปไขข้อข้องใจพร้อมๆ กันเลยดีกว่า เหตุการณ์แบบนี้เรียกว่า Rolling Shutter คือปกติเราจะเข้าใจว่าชัตเตอร์ของกล้อง จะทำการจับภาพทั้งเฟรมพร้อมกันจนได้ออกมาเป็นภาพถ่าย แต่จริงๆ แล้วมันไม่ใช่แบบนั้น ยกตัวอย่างภาพใบพัดของเครื่องบินที่ถูกถ่ายออกมาเป็นภาพแบบนี้ นั่นเป็นเพราะการจับภาพในแต่ละครั้งจะเกิดจากการที่ม่านชัตเตอร์เลื่อนผ่านชัตเตอร์ ซึ่งจะเกิดขึ้นเร็วมากจนไม่ถึง 1 วินาทีซะด้วยซ้ำ และเมื่อเราทำการถ่ายภาพวัตถุที่ทำการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว (เร็วกว่าม่านชัตเตอร์) ก็จะทำให้ออกมาเป็นภาพแบบยึกๆ ยือๆ แบบที่เห็น อธิบายไปก็ดูแล้วน่าจะเข้าใจยาก ลองไปชมภาพเคลื่อนไหวตัวอย่างที่ข้างล่างดีกว่า อย่างเช่นภาพนี้ที่มีวัตถุเคลื่อนที่อยู่ด้านหลัง ทำให้กล้องจับภาพเสาออกมาเอียงเหมือนอย่างที่เห็น เอาล่ะ กลับมาที่ภาพของเด็กชาย มันก็จะสามารถอธิบายได้ว่าตอนที่ม่านชัตเตอร์เลื่อนไปถึงใบหน้าทางด้านซ้ายเขากำลังเริ่มกะพริบตา แล้วก็เลื่อนไปจนถึงเงาที่อยู่ในทีวีเขาก็ลืมตาขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว จนทำให้ได้ภาพออกมาอย่างที่เห็น (ในกรณีนี้อาจจะมีการตั้งค่ากล้องขึ้นมาก็เป็นได้) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเหตุการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้นกับเฉพาะแค่กล้องที่คุณภาพต่ำ อย่างเช่นกล้องโทรศัพท์ หรือกล้องเก่าๆ…
-
เพียงแค่ภาพเดียวสามารถอธิบายฟังก์ชั่นต่างๆ ของทฤษฎีการถ่ายภาพได้เกือบทั้งหมด!!
เหมียวเองก็ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการถ่ายภาพหรอก แต่ก็พอเรียนรู้มาบ้างว่าทฤษฎีการถ่ายภาพเป็นอย่างไร การที่จะได้ภาพตามที่เราต้องการนั้นจะต้องปรับแต่งอย่างไรบ้าง ซึ่งฟังก์ชั่นต่างๆ นั้นก็มีลูกเล่นเยอะพอสมควร การเรียนรู้ทางด้านทฤษฎีเป็นเรื่องที่ต้องหมั่นศึกษา ถ้าหากว่าไม่ตั้งใจและรักจริง ก็อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ถอดใจได้ดื้อ เพราะฉะนั้นแล้วก็มีภาพนี้ปรากฏขึ้นมาเพื่อสอนเกี่ยวกับฟังก์ชั่นรูรับแสง, ความเร็วชัตเตอร์ และการตั้งค่า ISO ทั้งนี้ภาพดังกล่าวประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ 1) ค่ารูรับแสง คืดเป็นค่า f ยิ่งน้อย รูรับแสงก็จะใหญ่ขึ้น ส่งผลในส่วนของความสว่างในภาพถ่าย แต่เรื่องของหน้าชัดหลังเบลอนั้นจะมีระยะห่างวัตถุเข้ามาเกี่ยวข้อง . 2) Speed Shutter หรือความเร็วชัตเตอร์ คือระยะเวลาที่ชัดเตอร์ของกล้องเปิดให้แสงเข้าก่อนที่จะทำการจับภาพ ยิ่งเปิดไว้นานภาพที่ได้ก็จะสว่าง แต่มีข้อเสียว่าหากมีการเคลื่อนไหวภาพที่ได้ก็จะเบลอ ซึ่งก็เปรียบเทียบให้เห็นภาพความแตกต่างของความเร็วชัตเตอร์ 1 ต่อส่วนวินาที . 3) ในส่วนที่ 3 คือเรื่องของค่า ISO เป็นค่าที่ใช้เร่งแสงขึ้นมาจากภาพด้วยระบบของกล้อง ยิ่งมีค่าสูงภาพที่ได้ก็จะสว่างมาก นับค่าเป็นตัวเลข แต่ก็แลกมากับค่า Noise กระจายเต็มภาพ ทั้งนี้ยิ่งเกินระดับ 800…