Tag: ซาอุดีอาระเบีย
-
หญิงชาวอินโดถูกตัดสิน “ประหาร” ในซาอุฯ เพราะฆ่านายจ้างที่พยายาม ‘ข่มขืน’ เธอ
ชาวอินโดนีเซียในกรุงจาการ์ตาได้เกิดความไม่พอใจกับทางประเทศซาอุดีอาระเบียอย่างมาก หลังหญิงชาวอินโดนีเซีย ถูกตัดสินประหารชีวิต โดยไม่มีการแจ้งรัฐบาลอินโดฯ Tuti Tursilawati ผู้ใช้แรงงานหญิงชาวอินโดนีเซียที่อพยพเข้ามายังประเทศซาอุดีอาระเบียได้ถูกตัดสินประหารชีวิตในปี 2011 ด้วยคดีฆาตกรรมนายจ้างของตน แต่ถึงอย่างนั้นเธอยังไม่ได้รับโทษ กระทั่งวันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม 2018 ที่ผ่านมา เธอถูกประหารชีวิตเป็นที่เรียบร้อยในเมืองอัฏฏออิฟ ประเทศซาอุดีอาระเบีย Tuti Tursilawati การตัดสินคดีในครั้งนี้ทำให้เกิดความไม่พอใจแก่ชาวอินโดนีเซียอย่างยิ่ง Joko Widodo นายกรัฐมนตรีของอินโดนีเซียได้ติดต่อไปยังกระทรวงการต่างประเทศของซาอุดีอาระเบีย ถึงสาเหตุที่ไม่แจ้งข่าวการประหารชีวิต Tuti Tursilawati ให้ทางการอินโดนีเซียได้ทราบ ประกอบกับการให้ปากคำของ Tuti ที่กล่าวว่าเป็นการกระทำเพื่อ ป้องกันตนเอง หลังจากถูกนายจ้างของเธอลวนลามและคุกคามทางเพศ ยิ่งทำให้ชาวอินโดนีเซียยิ่งไม่พอใจ ภายหลังทราบว่า ทางซาอุดีอาระเบียไม่สนใจเรื่องของการร้องขอสิทธิมนุษยชนและสิทธิการรักษาชีวิตของตน (ผู้กระทำผิด) สุดท้าย นายกรัฐมนตรีของอินโดนีเซียจึงได้พยายามร่างข้อตกลงจริงจังกับประเทศซาอุดีอาระเบียเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ขึ้นอีก เหตุการณ์ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 4 แล้วที่ทางการประเทศซาอุดีอาระเบียมีกาประหารชีวิตชาวอินโดนีเซียโดยไม่มีการแจ้งกลับมายังประเทศบ้านเกิด ที่มา: migrantcare, nextshark และ Daily Mail
-
พบประติมากรรมอูฐอายุ 2,000 ปี บนหน้าผาซาอุดีอาระเบีย ทั้งที่ยังไม่นิยมสลักภาพนูนในช่วงนั้น…
งานแกะสลักรูปอูฐขนาดเทียบเท่าของจริงจากราวๆ 2,000 ปีก่อน ถูกพบเจอ ณ ที่รกร้างแห้งแล้งในทะเลทรายของซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเมื่อเทียบกับยุคที่มันเกิดขึ้นแล้ว มันเป็นประติมากรรมที่มีมาตราส่วนแบบไม่เคยคาดคิดมาก่อน งานชิ้นนี้ถูกพบในเมืองอัลเจาฟ์ ทางตอนเหนือของผระเทศซาอุดีอาระเบีย สถานที่ที่พบเจอถูกเรียกว่า Camel Site ส่วนผู้ที่ค้นพบก็คือทีมนักวิจัย Franco-Saudi แม้งานแกะรูปอูฐนี้ดูไม่สมบูรณ์นัก และถูกสลักบนหินทั้งสามส่วนที่ยื่นออกมาจากหน้าผา กลุ่มนักวิจัยก็สามารถระบุรูปร่างของอูฐได้หลายตัวทีเดียว ถึงกระนั้น เหตุผลที่ผู้สลักเลือกที่จะมาแกะสลักรูปสัตว์ไว้ ณ พื้นที่ห่างไกลแบบนั้น ยังคงเป็นปริศนาที่ต้องสืบหากันต่อไป นักวิทยาศาสตร์เสนอว่าสถานที่แห่งนี้อาจจะเคยเป็นสถานที่สำหรับพิธีการบูชาหรือไม่ก็รูปภาพอูฐเหล่านี้อาจถูกสลักไว้เป็นเครื่องหมายแบ่งเขตแดน มีการศึกษาเกิดขึ้นโดยอิงมาจาก Centre National de la Recherche Scientifique (CNRS) ในฝรั่งเศสและทีมงานจาก Saudi Commission for Tourism and National Heritage (SCTH) ที่เข้ามาสำรวจงานแกะสลักนี้ในปี 2016 และ 2017 นักโบราณคดีชื่อว่า Guillaume Charloux ผู้ที่เป็นวิศกรงานวิจัยของ CNRS ฝรั่งเศสกล่าวว่า “แม้ว่าการกร่อนที่เกิดจากธรรมชาติได้ทำลายภาพอูฐไปส่วนหนึ่ง แต่ด้วยร่องรอยของการใช้เครื่องมือ ที่มีการลงน้ำหนักหลากรูปแบบ ทำให้เราสามารถระบุภาพแกะสลัก และภาพผิวนูนของสัตว์จำพวกอูฐหรือม้าได้” ส่วนหนึ่งปรากฏภาพการพบกันของอูฐหนอกเดียวกับลาซึ่งเป็นสัตว์ที่แทบไม่พบอยู่บนการแกะสลักหิน…