Tag: ดึกดำบรรพ์
-
นักวิจัยค้นพบ ‘เต่า’ อายุ 228 ล้านปี ‘ไม่มีกระดอง’ กับการวิวัฒนาการอันน่าฉงนของมัน!?
หลายคนคงจะเข้าใจกันดีว่า ‘เต่า’ เป็นสัตว์ที่มี ‘กระดอง’ เป็นอวัยวะของร่างกาย หากขาดกระดองไปมันก็อาจจะมีชีวิตอยู่ไม่ได้ แต่เพื่อนๆ รู้หรือไม่ว่าเมื่อราวๆ 228 ล้านปีก่อนมี ‘เต่า’ ที่ไม่มีกระดองอาศัยอยู่บนโลกของเรา ก่อนที่จะวิวัฒนาการมาเรื่อยๆ จนกลายมาเป็นเต่าที่มีกระดองจนถึงทุกวันนี้ จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ลงในวารสารเกี่ยวกับธรรมชาติเมื่อวันพุธที่ผ่านมา ได้มีการระบุว่าค้นพบฟอสซิลของสัตว์ชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Eorhynchochelys หรือแปลได้ว่า ‘เต่าจงอยปากพระอาทิตย์จากเมืองจีน’ (Dawn beak turtle from China) เป็นเพราะมันมีเต่าสปีชีส์แรกที่มีจงอยปากนั่นเอง มันมีรูปร่างลำตัวเป็นลักษณะจานร่อน มีกระดูกซี่โครงกว้าง แต่ซี่โครงเหล่านั้นไม่ได้ก่อตัวสร้างเป็นกระดองเหมือนกับเต่าในยุคปัจจุบัน “สิ่งมีชีวิตชนิดนี้น่าจะมีความยาวประมาณ 1.8 เมตร มีรูปร่างคล้ายแผ่นซีดี และหางยาว ส่วนปากของมันมีลักษณะเป็นจงอย” “มันน่าจะอาศัยอยู่ในหนองน้ำตื้น และใช้ปากเพื่อขุดหาอาหารในดินโคลน จึงทำให้ปากของมันต้องมีลักษณะแบบนั้น” Olivier Rieppel ผู้ชำนาญวิชาที่ว่าด้วยสัตว์และพืชดึกดำบรรพ์กล่าว ถือเป็นเรื่องที่น่าฉงนใจเป็นยิ่งนัก กับการวิวัฒนาการของเต่า เพราะเต่าที่มีชีวิตก่อนหน้านี้ประมาณ 240 ล้านปี ชื่อว่า Pappochelys กลับเป็นเต่าที่มีกระดองแต่เป็นกระดองที่อยู่ตรงใต้ท้องเท่านั้น แถมไม่มีปากเป็นจงอยอีกด้วย พอวิวัฒนาการต่อมากลับไม่มีกระดองอยู่เลย กลับกันเต่าในยุคปัจจุบันที่มีทั้งจงอยปาก และกระดองที่อยู่ด้านใต้ท้องและด้านบนหลัง ทำให้เห็นว่าการวิวัฒนาการของมันนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงไปมาได้แทนที่จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เป็นเหมือนเส้นตรง…
-
ชวนคิดถึง… สัตว์ 17 ชนิดที่เคยอยู่ร่วมกับมนุษย์แต่ต้อง “สูญพันธุ์” ไปอย่างน่าเศร้า
เหล่าสรรพสัตว์บนโลกของเรานั้นมีมากมายหลายชนิดเสียเหลือเกิน แต่ถึงแม้จะมีมากอย่างไรมันก็มีการลดจำนวนลงไปเนื่องจากการสูญพันธุ์ สัตว์หลายชนิดที่สูญพันธุ์ไปก็เป็นอันตรายต่อมนุษย์อย่างมหาศาล แต่ขณะเดียวกันสัตว์หลายๆ ชนิดก็เป็นส่วนสำคัญต่อสภาพแวดล้อมและห่วงโซ่อาหาร แต่สุดท้ายมันก็กลับต้องสูญพันธุ์ไปอย่างน่าเศร้า วันนี้ เราจึงอยากเสนอ สัตว์ 17 ชนิดที่เคยอยู่ร่วมกับมนุษย์แต่ต้อง สูญพันธุ์จากไปอย่างน่าเศร้า จะมีสัตว์ชนิดไหนบ้างนั้น ไปชมกันเลย… 1. เสือโคร่งชวา, เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย สูญพันธุ์ไปเมื่อปี 1993 ที่มา: Javan_tiger 2. นกพิราบพาสเซนเจอร์, ทวีปอเมริกาเหนือ สูญพันธุ์เมื่อวันที่ 1 กันยายน 1904 ที่มา: Passenger_pigeon 3. แมวน้ำมังค์แคริบเบียน, หมู่เกาะแคริบเบียน สูญพันธุ์เมื่อปี 2008 ที่มา: Caribbean_monk_seal 4. คางคกสีทอง, ประเทศคอสตาริกา สูญพันธุ์เมื่อปี 1989 ที่มา: Golden_toad 5. นกโดโด, ประเทศมอริเชียส ทวีปแอฟริกาตะวันออก สูญพันธุ์เมื่อปี 1662 ที่มา: Dodo 6. วัวทะเลชเตลเลอร์, หมู่เกาะคอมมานเดอร์…
-
11 อสุรกายดึกดำบรรพ์ ที่เคยแหวกว่ายอยู่จริงใต้มหาสมุทร แค่คิดก็สยิวแล้ว!!
ภายใต้ผืนน้ำและมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ เพียงแค่ความลึก ความดำมืด และแรงดันมหาศาล ก็ทำให้คนเราเกิดความกลัวได้อย่างมากโขแล้ว ทั้งที่ยังมีสิ่งมีชีวิตปริศนามากมายที่ยังไม่ถูกค้นภพภายใต้มหาสมุทรอันแสนมืดมน แต่มหาสมุทรกลับทำให้เราต้องขนหัวลุกอีกครั้ง เมื่อในอดีตกาล “มหาสมุทร” เคยเป็นที่อยู่อาศัยของเหล่าสัตว์ประหลาดยักษ์ หากใครย่างกรายเข้าไปในผืนสมุทรก็อาจถูกอสุรกายเหล่านี้ฆ่าได้อย่างง่ายดายราวกับเป็นแมลง แต่ถือว่าโชคดีที่ปัจจุบันมันได้สูญพันธุ์ไปแล้ว เรามาสัมผัสความน่ากลัวเหล่านั้นกันดีกว่ากับ 11 อสุรกายใต้น้ำ ที่ครั้งหนึ่งเคยแหวกว่ายอยู่ในมหาสมุทรจริงๆ 1. Megalodon อสุรกายตัวนี้มีฉายาว่า ฉลามที่ตัวเท่าวาฬ มันมีความยาวมากกว่า 15 เมตร มันล่าวาฬเป็นอาหาร ความโหดของมันคือ เมื่อจับวาฬเป็นเหยื่อได้แล้วมันจะฉีกหางและครีบของวาฬออก ปล่อยให้ดิ้นทุรนทุรายพร้อมกับกัดกินไปด้วย โชคดีที่ Megalodon สูญพันธุ์ไปตั้งแต่ 2.6 ล้านปีที่แล้ว 2. Dunkleosteus เจ้าตัวนี้มีฉายาว่า อสุรกายหุ้มเกราะ เคยอาศัยอยู่บนโลกเมื่อราวๆ 400 ล้านปีที่แล้ว ปลาตัวนี้มีพลังกัดมหาศาล กัดได้รุนแรงยิ่งว่าไดโนเสาร์ T-Rex เสียอีก อาหารของมันก็คือ อะไรก็ตามที่มันอยากกิน ลำตัวของมันมีเปลือกแข็งห่อหุ้มตั้งแต่หัวจรดหาง ลำตัวของมันมีความยาวราวๆ 10 เมตร 3. Mosasaurus …
-
นักวิทย์พบฟอสซิล ‘แมงมุม’ อายุกว่า 100 ล้านปีในอำพัน สภาพสมบูรณ์ แถมมีหางด้วย!?
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2018 สำนักข่าว Daily Mail ได้รายงานถึงเรื่องการค้นพบสุดเหลือเชื่อของนักวิทยาศาสตร์ที่ได้ไปเจอเข้ากับซากฟอซซิลแมงมุมอายุกว่า 100 ล้านปี ที่มีหางยาวออกมาเหมือนกับแมงป่อง นี่เป็นการค้นพบของทีมงานจากหลายประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน เยอรมนี และสหราชอาณาจักร โดยพวกเขาเจอเจ้าสิ่งนี้เขตหุบเขา Hukawng ประเทศพม่า ลักษณะของแมงมุมที่มีการค้นพบในอำพัน แมงมุมทั้ง 4 ตัวที่พวกเขาค้นพบว่าเป็นซากอยู่ในก้อนอำพัน เป็นสิ่งมีชีวิตที่หลงเหลือมาจากยุคกลางครีเทเชียส เมื่อ 100 ล้านปีก่อน สมัยที่ไดโนเสาร์ยังมีชีวิตกันอยู่ สภาพของพวกมันเรียกได้ว่าสมบูรณ์แบบจริงๆ นักวิทยาศาสตร์สามารถตรวจสอบอวัยวะร่างกายโดยรอบของพวกมันได้อย่างชัดเจน ทั้งขา เขี้ยว อวัยวะที่ใช้ปล่อยใย อวัยวะบ่งบอกเพศที่ทำให้รู้ว่าทุกตัวคือตัวผู้ และหางที่ไม่มีอยู่ในแมงมุมสมัยนี้ นักวิทย์เชื่อว่าหางที่ติดตัวพวกมันมามีการทำงานเหมือนกับหางของแมงป่องคือ เป็นตัวรับสัมผัสใช้สำหรับการสำรวจสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ไว้มองหาเหยื่อที่จะกลายมาเป็นอาหาร ขนาดตัวของแมงมุมหน้าตาประหลาดเหล่านี้ก็ถือว่าเล็กเอามากๆ ลำตัวของพวกมันยาวแค่ประมาณ 2.5 มิลลิเมตร ส่วนหางนั้นจะยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร และนี่เป็นครั้งแรกที่มีการพบหางติดอยู่กับตัวแมงมุม ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีการคาดการณ์เอาไว้ถึงสิ่งมีชีวิตที่ลักษณะคล้ายกับแมงมุมมีหางเหมือนกัน แต่ว่าไม่มีตัวปล่อยใย อาศัยอยู่บนโลกของเราในยุคเดโวเนียนเมื่อประมาณ 380…
-
นักโบราณคดีค้นพบ “แหล่งล่าสัตว์” ที่มีอายุเก่าแก่ถึง 500,000 ปี พร้อมกับอุปกรณ์หากินจากยุคนั้นเพียบ!!
การค้นพบสิ่งต่างๆ ในโลกของเรานั้นสามารถเป็นหลักฐานซึ่งบ่งบอกอะไรได้หลายอย่าง รวมไปถึงสิ่งที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีตกาลที่มิได้มีผู้ใดจดบันทึกเอาไว้ อย่างเช่นที่ใน อิสราเอล มีการการค้นพบ ‘แหล่งล่าสัตว์’ ของเหล่าบรรพบุรุษของมนุษย์ที่น่าจะมีอายุราวๆ ครึ่งล้านปี เนื่องจากมีการขุดพบ “ขวานหิน” และเครื่องไม้เครื่องมืออื่นๆ นับพันชิ้น ในพื้นที่ก่อสร้างและบริเวณใกล้เคียง มีประกาศจากนักโบราณคดี ในวันที่ 7 มกราคม 2017 ว่าหลังจากที่มีการขุดลงไปในดินเพียง 5 เมตร ก็พบหลักฐานทางโบราณคดี ซึ่งก็คือเครื่องไม้เครื่องมือและขวานหินดังกล่าวที่สามารถสันนิษฐานได้ว่าพื้นที่บริเวณนั้นเคยเป็นดังสถานที่รวมตัวกันของเหล่านักล่าสมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์ราว 500,000 ปีก่อน สถานที่ดังกล่าวตั้งอยู่ที่ Jaljulia ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับเมือง คฟาร์ ซาบา ประเทศอิสราเอล อีกทั้งยังอยู่ใกล้กับถนนสายหลักหมายเลข 6 ที่มีจำนวนรถที่สัญจรไปมามากที่สุดสายหนึ่งอีกด้วย ด้วยความที่ครั้งหนึ่งในอดีตสถานที่แห่งนี้เคยเป็นแม่น้ำ ลำธาร ประกอบกับการขุดพบโครงกระดูกของสัตว์จำนวนมาก นักโบราณคดีจึงสันนิษฐานว่า สถานที่แห่งนี้ต้องเคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ โฮโม อีเร็กตัส ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว “ที่นี่คือทำเลที่เยี่ยมยอดสำหรับมนุษย์” แรน บาร์ไค นักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟกล่าว และยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “ฟลิ้นท์ที่ใช้ทำเครื่องมือไหลมากับแม่น้ำ มีแม่น้ำก็ต้องมีเหล่าสัตว์ ที่นี่มีทุกอย่างที่มนุษย์ยุคนั้นต้องการ” ทำให้นักโบราณคดีเกิดข้อสงสัยว่า มนุษย์ในยุคนั้นน่าจะกลับมาในพื้นที่บริเวณนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีกตามฤดูกาล แรน จึงเสริมว่า…
-
เจ้าหนูวัย 9 ขวบสะดุดล้มกับก้อนหิน ดันพบซากดึกดำบรรพ์อายุกว่า 1,000,000 ปี โดยบังเอิญ!?
เรื่องราวน่าประหลาดใจมักเกิดขึ้นกับเราได้เสมอ เหมือนกับเจ้าหนูวัย 9 ขวบคนนี้ที่บังเอิญเดินไปพบกับโครงกระดูกสัตว์ดึกดำบรรพ์ จนกลายเป็นอีกหนึ่งการค้นพบที่ยิ่งใหญ่มากๆ วันหนึ่งระหว่างที่เจ้าหนู Jude Sparks กำลังเดินเล่นกับครอบครัวในเมือง Las Cruces รัฐนิวเม็กซิโก หนูน้อยได้สะดุดเข้ากับหินก้อนใหญ่ และเมื่อพวกเขาลองตรวจสอบที่หินก้อนนั้นดูกลับพบว่ามันคือกรามของสัตว์โบราณขนาดใหญ่!! เจ้าหนูและกรามขนาดใหญ่ของช้างดึกดำบรรพ์ที่เขาพบโดยบังเอิญ “มันเป็นมีรูปร่างแปลกมาก ผมคิดว่ามันไม่ใช่วัตถุธรรมดาที่เราสามารถพบได้ทั่วไป” เด็กน้อยให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับสำนักข่าว New York Times เมื่อวันอังคารที่ 18 กรกฏาคมที่ผ่านมา หลังจากนั้นพ่อและแม่ของเจ้าหนูได้ถ่ายรูปของเจ้าวัตถุก้อนนี้ แล้วส่งไปให้คุณ Peter Houde ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาประจำมหาวิทยาลัย New Mexico State University หลังจากนั้นไม่นานศาสตราจารย์ Houde ก็รีบมายังสถานที่ที่พบโครงกระดูกดังกล่าว เขาบอกว่าโครงกระดูกนี้เป็นของพวก Stegomastodon สัตว์ดึกดำบรรพ์รูปร่างคล้ายช้างที่สูญพันธุ์ไปกว่า 1,200,000 ปีแล้ว ทีมสำรวจเริ่มลงมือขุดซากโครงกระดูกทันทีที่มาถึง “พวกเราดีใจมากๆ ที่พวกเขาติดต่อเรามา เพราะถ้าหากพวกเขาไม่ติดต่อเรามา หรือพยายามที่จะขุดโครงกระดูกนั้นด้วยตัวเองอาจทำให้เราสูญเสียฟอสซิลชิ้นสำคัญไปเลยก็ได้” ศาสตราจารย์ Houde กล่าว โครงกระดูกของ Stegomastodon หลังจากที่ถูกขุดขึ้นมา “เราควรจัดการกับซากดึกดำบรรพ์ที่พบด้วยความรู้และความระมัดระวัง” ศาสตราจารย์กล่าวทิ้งท้าย ไปชมการชุดกู้ซากดึกดำบรรพ์และการให้สมัมภาษณ์ของศาสตราจารย์ Houde ได้ที่คลิปวิดีโอด้านล่างนี้เลย… ที่มา boredpanda