Tag: ตัวจบ
-
โจ้วๆ!! นักศึกษา Harvard สร้างอัลบั้มเพลง “แร็พ” เพื่อทำเป็นวิทยานิพนธ์จบการศึกษา
ในการเรียนปีสุดท้ายของมหาลัยเราจะต้องทำตัวจบหรือปริญญานิพนธ์ ซึ่งเป็นหัวข้อที่จะวัดว่าเราสามารถนำความรู้ที่เรียนมาปรับใช้ได้จริงหรือไม่? ขึ้นชื่อว่าตัวจบย่อมเป็นอะไรที่เหนื่อยและหนักแน่นอน แต่สำหรับหนุ่มคนนี้กลับเป็นเรื่องที่ง่ายดายมาก เพราะแทนที่เขาจะทำเอกสารค้นคว้าเหมือนคนทั่วไป เขากลับนำเสนอด้วยวิธีที่ตัวเองรักจนเรียกเสียงฮือฮาในอินเตอร์เน็ตอย่างล้นหลามในขณะนี้ พบกับหนุ่ม Obasi Shaw บัณฑิตป้ายแดงผู้เขียนเพลงแร็พขึ้นมา 1 อัลบั้มเพื่อทำเป็นตัวจบ แถมยังได้เกียรตินิยมอันดับ 2 อีกด้วย Obasi Shaw เจ้าของผลงาน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยใน Harvard ไม่จำเป็นต้องส่งวิทยานิพนธ์ระดับสูงเพื่อจบการศึกษา แต่สำหรับผู้ที่ต้องการจบการศึกษาด้วยเกียรตินิยมล่ะก็นี่เป็นสิ่งจำเป็นสุดๆ แต่แทนที่เขาจะมานั่งเขียนวิทยานิพนธ์เรียงความธรรมดาๆ แม่ของ Shaw กลับสร้างแรงบันดาลใจให้เขานำเรื่องราวมาเล่าผ่านสิ่งที่เขาถนัดและรัก นั่นคือการ “แร๊พ” หนุ่มวัย 20 ปีผู้มีพื้นเพจากเมืองแอตแลนตารัฐจอร์เจียกล่าวว่า “ผมไม่คิดหรอกว่าฮาร์วาร์ดจะยอมรับผลงานนี้” Shaw ถ่ายภาพกับประตูของมหาวิทยาลัยที่เขารัก และสุดท้าย Shaw ก็ได้แต่งเพลงขึ้นมาทั้งหมด 10 เพลง ซึ่งในแต่ละเพลงนั้นจะเล่าเรื่องจากมุมมองของตัวละครสมมุติ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากผลงานชิ้นเอกในศตวรรษที่ 14 ของ Geoffrey Chaucer เรื่อง The Canterbury Tales ในส่วนของเนื้อหานั้นจะมุ่งเน้นไปที่เอกลักษณ์ของชนผิวสีในอเมริกา ในเพลงแรกของอัลบั้มที่มีชื่อว่า Declaration of…
-
‘โปรเจ็คจบ’ ของนักศึกษา ลองไปปลูกกระท่อมในป่า เรียนรู้ชีวิตจริงๆ เป็นเวลา 8 เดือน
ใครที่เคยทำตัวจบมาแล้ว คงเข้าใจดีว่า มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย บางคนแก้แล้วก็แก้อีกก็ไม่ผ่านสักที ในขณะที่บางคนต้องลงพื้น ต้องทำตัวให้กลมกลืนกับหัวข้อตัวจบมากที่สุด เพื่อให้งานออกมาสมบุรณ์แบบนั่นเอง เช่นเดียวกับ Dylan Miller นักศึกปีสุดท้ายจากวิทยาลัย Juniata ถึงขั้นลงทุน เข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในป่าเป็นเวลาเกือบปี เพื่อทำความเข้าใจกับตัวเองให้มากที่สุด Miller ทำตัวจบในหัวข้อ “การใช้ชีวิตที่เรียบง่าย” ที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก Henry David Thoreau และ Ralph Waldo Emerson ซึ่งเป็นคนที่แสวงหาอิสรภาพทั้งกายและใจ ก่อนที่จะตัดสินใจเข้าไปใช้ชีวิตในป่าแห่งนี้ Miller ก็ได้ไปขออนุญาตจากทางวิทยาลัย และพวกเขาก็เห็นด้วย เพราะเป็นวิธีการที่จะทำให้นักศึกษาสามารถเข้าถึงตัวจบของตัวเองมากขึ้น และอาจเป็นการทำให้ตัวจบนั้นเป็นไปได้ง่ายขึ้นด้วย เมื่อได้ย้ายมาอยู่ในป่า เขาได้สร้างกระท่อมเล็กๆ ไว้หลังหนึ่ง ซึ่งไม่มีไฟฟ้า ไม่มีน้ำประปา และแน่นอนไม่มีอินเตอร์ด้วย กลางคืนต้องอาศัยแสงจากตะเกียงเท่านั้น (และที่แย่ที่สุดคือ เขาต้องเผชิญหน้ากับแขกไม่ได้รับเชิญอย่าง ‘หมี’ ด้วย) Miller บอกว่า “ผมคิดว่า ปัจจุบันนี้ผู้คนให้ความสำคัญกับวัตถุนิยมมากเกินไป จนทำให้พวกเขาไม่มีความสุขที่แท้จริง แต่สิ่งที่ผมทำอยู่นี้ ก็เพื่อพิสุจน์ให้เห็นว่า ผมสามารถใช้ชีวิตได้โดยไม่ต้องมีสิ่งเหล่านั้น” เขายังบอกอีกว่า “อยู่ที่นี่ ผมรู้สึกเป็นอิสระ เดินไปไหนมาไหนในป่านี้ก็ได้ ที่สำคัญผมนอนหลับอย่างสบายทุกคืนเลย”…
-
จบซักที!! ชายหนุ่มพา “งานวิจัยตัวจบ” เที่ยวถ่ายรูปสั่งลา ไหนๆก็อยู่ด้วยกันมาทั้งปี…
ไม่ว่าใครต่างก็มีฝันร้ายกับงานวิจัยหรือการทำตัวจบกันทั้งนั้น เพราะมันคือความรู้ของเราที่สั่งสมกันมาตั้งแต่เรียนปี 1 แล้วกลั่นมาเป็นหนังสือ 1 เล่มที่เราอดหลับอดนอนทำมันขึ้นมา เชื่อว่าหลายคนก็รู้สึกภูมิใจที่เราเขียนหนังสือขึ้นมาได้ตั้ง 1 เล่ม เกิดมาไม่เคยทำอะไรแบบนี้มาก่อน หลายคนก็ไปฉลองกันหลังทำเสร็จ แต่สำหรับชายคนนี้ เขากลับพางานวิจัยของเขาไปเที่ยวและถ่ายรูปเป็นที่ระลึก Morris Vanegas จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ใช้เวลาหลายเดือนในการทำวิจัยตัวจบการศึกษา และเมื่อเขาทำเสร็จ ก็อยากจะมีความจริงจำดีๆ กับมันซะหน่อย จึงออกมาเป็นชุดภาพถ่ายเหล่านี้ เขาคิดว่างานวิจัยชิ้นนี้เป็นเหมือนเพื่อน และเหมือนลูกที่อยู่กินกับเขามานาน มันสอนเขาให้เติบโต และเขาก็เป็นคนทำให้มันเติบโตด้วยเช่นกัน . . . . “ผมบอกล่าไม่ค่อยเก่ง เลยอยากจะทำให้มันเร็วๆ หวังว่าเราจะได้เจอกันอีกครั้ง ตอนที่นางกลายเป็นบทอ้างอิงในงานต่อไปของฉันนะ ลาก่อน..” ถึงแม้เขาจะเสียเพื่อน(ใช่เหรอ) คนหนึ่งไป แน่นอนว่าเขาต้องไปเจออะไรที่ใหญ่กว่านี้แน่ และอาจจะได้กลับมาพบกันอีกครั้งก็เป็นได้ ที่มา distractify
-
ละ ละ ล้ำ!! ผลงานตัวจบอันยิ่งใหญ่ของนักศึกษาญี่ปุ่น ‘Plock’ นาฬิกาเขียนบอกเวลา
เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากยุคอนาล็อกสู่ยุคดิจิตอล ถ้าให้พูดถึงเรื่องของนาฬิกาก็ยังคงรูปแบบเดิมเอาไว้อยู่ และควบคู่ไปกับการบอกเวลาแบบดิจิตอลเช่นเดียวกัน แล้วถ้าหากว่านาฬิกาดิจิตอลมันยังไม่ถูกใจ ต้องการความคลาสสิคแบบยุคเก่ากึก วันนี้ #เหมียวเลเซอร์ ขอนำเสนอ นาฬิกาเขียนดินสอเขียนบอกเวลาชิ้นโตจากผลงานของนักศึกษาญี่ปุ่นชิ้นนี้เลย!! นาฬิกาเขียนดินสอบอกเวลานี้ สร้างสรรค์ขึ้นมาโดย Kango Suzuki วัย 22 ปี นักศึกษามหาวิทยาลัย Tohoku University สาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์ . เป็นผลงานตัวจบที่อลังการงานสร้างมากๆ โดยมีชิ้นส่วนงานประกอบทั้งสิ้น 407 ชิ้น โดยมีวัสดุหลักเป็นไม้ที่ต้องทำจากมือล้วนๆ ทุกชิ้น ชื่อของผลงานชิ้นโบว์แดงนี้คือ Plock มาจากการผสานสองคำคือ Plot ในความหมายของการวาด การเขียน กับคำว่า Clock ที่แปลว่านาฬิกา ออกแบบแยกกลไกเป็นสองส่วนก็คือส่วนนาฬิกากับส่วนการเขียน ชิ้นส่วนฟันเฟืองจะทำการหมุนตามช่วงเวลา เมื่อครบ 60 วินาที กลไกปากกาสไตลัสแม่เหล็กก็เขียนแสดงผลใหม่ทันทีบนบอร์ดแม่เหล็ก แม้ว่าจะทำงานได้ดีในระดับหนึ่ง แต่เขาบอกว่าผลงานชิ้นนี้ยังมีข้อบกพร่องอยู่ เพราะว่าฟันเฟืองยังทำงานได้ไม่ราบรื่นนัก…