Tag: ทางจิต
-
หนุ่มมีแฟนเป็น “โรคตื่นตระหนกและโรควิตกกังวล” จึงออกมาแชร์ 7 วิธีรับมือกับอาการ
ต้องยอมรับว่าความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการรับมือกับผู้ที่มี อาการทางจิต ของคนทั่วๆ ไปยังถือว่าน้อย หากว่าไม่ได้เป็นผู้ที่รับการศึกษาด้านนี้หรือเป็นผู้ที่สนิทชิดเชื้อกับผู้ป่วยทางจิตมาก่อน ก็อาจรับมือได้ยากทีเดียว และวันนี้หนุ่มคนหนึ่งที่แฟนสาวของเขาเคยมีอาการของ โรคแพนิก และ โรควิตกกังวล ก็จะมาเขียนเล่าถึงวิธีการรับมือกับอาการตื่นตระหนกและวิตกกังวล ที่เขาได้เรียนรู้มาจากแฟนสาว สถิติจาก Anxiety and Depression Association of America เผยว่าในชาวอเมริกันกลุ่มโรควิตกกังวล (รวมโรคแพนิกด้วย) นั่นเป็นความเจ็บป่วยทางจิตที่พบบ่อยที่สุด กระนั้นกลุ่มโรควิตกกังวลนับว่าเป็นกลุ่มโรคที่รักษาได้ง่าย แต่ก็มีผู้ป่วยเพียง 36.9 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่เข้ารับการรักษา แล้วเราจะทำอย่างไรเมื่อพบว่าตัวเองหรือคนรอบข้างมีอาการของโรคแพนิกและโรควิตกกังวล ลองไปอ่านที่หนุ่มคนดังกล่าวเขียนอธิบายเอาไว้กันเลยดีกว่า… นี่คือสิ่งที่ผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาการแพนิกจากแฟนของผม 1. พยายามอย่ากอดบ่อย มันใช้เวลานานมากนะกว่าแฟนผมจะรู้สึกดีขึ้นเวลาที่ถูกกอดให้ใจเย็นลง เพราะการกอดมันทำให้เธอรู้สึกเหมือนถูกบังคับให้หยุดตื่นตระหนก 2. เวลาที่พวกเขาไม่ตอบคุณไม่ใช่ว่าพวกเขาไม่สนใจคุณนะ แต่บางครั้งเป็นเพราะพวกเขายังไม่พร้อมคุยเท่านั้นเอง อาการแพนิกบางทีก็มาตอนทะเลาะกันนั่นแหละ หลายครั้งผมก็ใช้วิธีการเงียบใส่และมันผิดพลาดมาก อันที่จริงถ้าคุณอยากคุยแต่เขายังไม่อยากคุย ก็แค่ลองใช้นิ้วสะกิดพวกเขาเบาๆ ดู 3. หายใจให้ดังๆ เข้าไว้ คุณเคยได้ยินไหมว่าหากเรากอดหรือคลอเคลียกับใคร เราจะหายใจพร้อมๆ กันโดยอัตโนมัติ หรือหากมีใครมาสูดหายใจลึกๆ ใกล้ๆ คุณมันก็จะทำให้คุณอยากหายใจตามจังหวะของคนๆ นั้น เช่นเดียวกันเลย เมื่อพวกเขาเกิดอาการแพนิกและหายใจแรงแบบควบคุมไม่ได้ ให้คุณหายใจดังๆ ช้าๆ…
-
สาวเป็นโรควิตกกังวล เขียนรายละเอียดให้แฟนหนุ่มได้อ่าน เพื่อให้เข้าใจในสิ่งที่เป็นอยู่…
อาการหรือโรคที่เกี่ยวกับทางด้านจิตใจภายใน เป็นสิ่งที่มองเห็นได้ยากและยากที่จะเข้าใจได้สำหรับบุคคลที่ไม่ได้เป็น เนื่องจากไม่สามารถคาดเดาอารมณ์หรือความรู้สึกนึกคิดของผู้ป่วยได้ และควรจะรับมืออย่างไร… ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกเผยว่า โรควิตกกังวล เป็นโรคทางจิตที่มีผู้ป่วยมากที่สุดในอัตรา 1 ต่อ 13 คนทั่วทั้งโลก ความวิตกกังวลเหล่านี้ จะทำให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตประจำวันได้ยากมากขึ้น แม้จะเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายๆ ก็ตาม Kelsey Darragh Kelsey Darragh ได้แชร์ประสบการณ์เผยถึงโรควิตกกังวลของเธอ พร้อมกับเขียนรายละเอียดลงในสมุด เพื่อให้แฟนหนุ่มได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเธอและโรคนี้ เธอได้จดรายการ 15 สิ่งที่ควรทำเพื่อรับมือกับอาการของเธออย่างถูกต้อง “ฉันเป็นโรคแพนิคกับโรควิตกกังวล แฟนฉันไม่ได้เป็น แต่เขาต้องการที่จะเข้าใจมันเพื่อที่เขาจะช่วยฉันได้ ฉันก็เลยทำลิสต์มาให้ แชร์ให้กับคนที่คุณรักเพื่อเป็นแนวทางนะ” เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคทางจิตใจ เธอจึงทำลิสต์สิ่งที่ควรปฏิบัติต่อผู้ป่วยให้แฟนหนุ่ม เพื่อที่จะรับมือได้อย่างถูกวิธี 15 สิ่งที่คุณสามารถช่วยให้ฉันก้าวผ่านอาการแพนิควิตกกังวลไปได้ 1) ต้องรู้ก่อนว่าฉันกลัวจริงๆ แต่อธิบายไม่ถูกว่าคืออะไร เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งสติแตกหรือรำคาญกันเลยนะเธอจ๋า 2) หายามาให้ทันทีหากรู้ว่าอยู่ใกล้ๆ และต้องให้มั่นใจด้วยว่าฉันกินจริงๆ 3) การฝึกหายใจอาจจะทำให้รู้สึกหงุดหงิด แต่ก็จำเป็นสำหรับการควบคุมตัวฉันเอง ให้หายใจเป็นจังหวะพร้อมกับเธอ 4) ให้คำแนะนำอย่างอ่อนโยนเกี่ยวกับสิ่งที่เราจะทำด้วยกันได้ เพื่อเบี่ยงเบนอาการกลัวออกไป (อย่าบอกว่าต้องทำหรือควรทำอย่างนู้นอย่างนี้)…
-
สถาปนิกหนุ่มอธิบายความผิดปกติทางจิต 16 ชนิด ผ่านรูปบ้าน ตามแบบที่เขาเข้าใจ
ลองจินตนาการดูสิว่า ถ้าหากมีคนให้คุณจินตนาการถึงความผิดปกติทางจิต ออกมาในรูปแบบบ้าน มันจะออกมาเป็นบ้านรูปแบบใด? ‘Federico Babina’ สถาปนิกหนุ่มผู้ได้วาดแบบบ้านทั้ง 16 แบบ ภายใต้คอนเซ็ปท์ที่ชื่อว่า ‘Archiatric’ ซึ่งเป็นการอธิบายถึงอาการความผิดปกติทางจิตใจทั้ง 16 ชนิด ตามความเข้าใจของเขาเอง เราลองไปชมพร้อมๆ กันเลยดีกว่าว่า ภาพต่างๆ ที่เจ้าตัววาดออกมา จะช่วยอธิบายอาการทางจิตเหล่านั้นให้เราเข้าใจได้ดีขนาดไหน… 1. โรควิตกกังวล 2. โรคซึมเศร้า 3. โรคนอนไม่หลับ 4. โรคสมองเสื่อม 5. โรคย้ำคิดย้ำทำ 6. โรคอัลไซเมอร์ 7. โรคจิตเภท 8. โรคออทิซึม 9. โรคไบโพล่าร์ 10. โรคกลัว 11. โรคจิตหวาดระแวง …
-
นักวิทย์เผย คนชอบโพสต์ภาพตัวเองขณะออกกำลังกายบ่อยๆ อาจมี ‘อาการหลงตัวเอง’ เบาๆ !!?
น่าสนใจเหมือนกันนะเนี่ย…. เพราะว่าเป็นกิจกรรมที่หลายๆ คนมักจะทำเช่นกัน (#จ่าสิบเหมียว เองด้วยล่ะ -*-) ที่จะถ่ายภาพของตัวเองเวลาออกกำลังกายแล้วโพสต์ลงในโลกโซเชียล!!? แต่กลายเป็นว่าการกระทำนี้ เป็นอาการที่แสดงออกถึงอาการทางจิตอ่อนๆ ซะงั้น จากการเปิดเผยของเหล่านักวิจัยแห่ง Brunel University ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ การโพสต์ภาพตัวเองออกกำลังกายเหมือนเป็นอาการของโรคหลงตัวเองแบบอ่อนๆ งั้นหรือ!? โดยเฉพาะคนที่โพสต์ภาพของตัวเองบ่อยๆ เกือบทุกวัน จนจะเรียกว่าเป็นกิจวัตรเลยทีเดียวนั้นยิ่งมีความหนักหน่วงของอาการนี้มาก เพราะเป็นการสื่อถึงอาการ ‘ความหลงตัวเอง’ ในบุคคลนั้นๆ ทางมหาวิทยาลัย Brunel แห่งประเทศอังกฤษได้ตีพิมพ์การค้นพบของพวกเขาใน Science Daily ว่า ‘คนที่มักจะหลงตัวเองนั้นชอบที่จะอัพเดทเรื่องราวเกี่ยวกับความสำเร็จและสิ่งที่ตัวเองทำได้อยู่บ่อยๆ ซึ่งมีรากฐานมาจากความความต้องการที่จะเป็นที่สนใจและได้รับการยอมรับในสังคมโซเชียลมีเดีย’ ส่วนหนึ่งของการหลงตัวเองในยุคปัจจุบัน!? นอกจากนี้ Dr. Tara Marshal หนึ่งในผู้วิจัยในเรื่องนี้ก็ได้ออกมาให้เหตุผลเพิ่มเติมด้วยว่า ‘ถึงแม้ว่าแต่ละโพสต์ของพวกเขาจะได้จำนวนถูกใจและคำติชมเยอะแยะมากมายจนโด่งดังกลายเป็นเซเลปในเฟซบุ๊ค แต่ก็อาจเป็นไปได้ว่าเพื่อนๆ ในเฟซของเขาทำเป็นมารยาทเพียงเท่านั้น พวกเขาแค่เก็บความไม่ชอบและหมั่นไส้เอาไว้เงียบๆ อยู่ภายใน’ ไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่านะเนี่ย แต่ลึกๆ แล้วที่จริงเราอาจรู้สึกแบบนั้นก็ได้นะเนี่ย เพื่อนๆ คิดอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้กันบ้าง?? มาร่วมคอมเม้นท์ให้เหตุผลประกอบกันได้เลยนะจ๊ะ ที่มา: Distractify