Tag: ทางช้างเผือก
-
NASA เผยภาพถ่ายชวนอัศจรรย์ใจ จากจักรวาลอันไกลโพ้น ไม่เปลืองขั้วพลังแกนวาร์ป…
เตรียมชุดอวกาศและถังอ๊อกซิเจนของท่านให้พร้อม เพราะเราจะพาคุณเดินทางสู่นอกจักรวาลอันไกลโพ้นไปกับกล้อง Hubble Space Telescope ขององค์กรนาซ่า ขอให้ทุกคนเตรียมตัวให้พร้อม เพราะคุณจะได้เห็นภาพตั้งแต่หลุมดำ ไปจนถึงกลุ่มดวงดาวที่ทอแสงระยิบระยับอยู่บนจักรวาล เอาเป็นว่าเราตามไปชมกันเลย ฟิ๊ววววว… นี่ก็คือหน้าตาของกล้อง Hubble Space Telescope เรามาดูกันว่ากล้องอันบิ๊กเบ้งขนาดนี้ จะถ่ายภาพออกมาได้โหดขนาดไหน Bubble Nebula เป็นกลุ่มก๊าซที่ตั้งอยู่ห่างจากโลก 8,000 ปีแสง ณ ใจกลางกาแล็คซี่ทางช้างเผือก จะมีหลุมดำขนาดใหญ่ที่เรียกว่า Sagittarius A อยู่ (แสงสีขาวทางขวามือ) กลุ่มดาว Pismis 24 กับแสงระยิบระยับที่มองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า Lobster Nebula ตั้งอยู่ห่างจากโลก 5,500 ปีแสง นักดาราศาสตร์ชี้ว่า ภาพจักรวาลที่เราเห็นแบบนี้ เกิดจากสองจักรวาลสร้างแรงดึงดูดเข้าหากัน กาแล็คซี่ Antennae กำลังเดินทางผ่านกลุ่มก๊าซ กลายเป็นภาพที่ดูสวยงามสุดๆ ดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะของเราก็คือดาวพฤหัสบดี (แค่จุดแดงๆ ตรงซ้ายมือนั่นก็ใหญ่กว่าโลก 1.3…
-
เมื่อมองภาพกาแล็กซีทางช้างเผือกผ่านคลื่นต่างๆ เราจะเห็นความแตกต่างอย่างไรบ้าง?
เป็นที่รู้กันดีว่าโลกของเรานั้นเป็นเพียงส่วนเล็กๆ ส่วนหนึ่งของกาแล็กซีทางช้างเผือก และเนื่องด้วยความสงสัยที่ว่าหากเรานำภาพกาแล็กซีทางช้างเผือกมามองผ่านคลื่นต่างๆ ที่มีอยู่ล่ะ หน้าตาของมันจะเป็นอย่างไรบ้าง? เปลี่ยนไปมากน้อยแค่ไหน? สำหรับช่วงของแสงที่ตาของมนุษย์ทั่วไปสามารถมองเห็นได้นั้นจะถูกเรียกว่า สเปกตรัมที่มองเห็นได้ ซึ่งมีหลากหลายคลื่นด้วยกันตามความแตกต่างของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า กาแล็กซีทางช้างเผือกผ่านคลื่นวิทยุ กาแล็กซีทางช้างเผือกผ่านคลื่นไมโครเวฟ กาแล็กซีทางช้างเผือกผ่านคลื่น Far-Infrared กาแล็กซีทางช้างเผือกผ่านคลื่น Near-Infrared กาแล็กซีทางช้างเผือกผ่านคลื่น Hydrogen Alpha กาแล็กซีทางช้างเผือกผ่านรังสีเอกซ์ กาแล็กซีทางช้างเผือกผ่านรังสีแกมมา หน้าตาของทางช้างเผือกที่เรารู้จักดูแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิงเลยแฮะ ถ้าเกิดว่าใครอยากดูแบบละเอียดมากกว่านี้สามารถไปตามเล่นกันได้ที่ Chromoscope เลยจ้า ที่มา : thechive