Tag: ทารุณกรรมเด็ก
-
ความรุนแรงที่ใกล้ตัว… คุณแม่ลงมือทำร้ายลูกวัยสามขวบ เหตุเพราะหาแท็บเล็ตไม่เจอเลยโทษเด็ก
การใช้ความรุนแรงในครอบครัว เป็นอีกหนึ่งปัญหาร้ายแรงที่ยากเกินกว่าจะควบคุมและหาทางแก้ไขได้เนื่องจากเราไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่าจะเกิดเหตุการณ์สุดสะเทือนใจเมื่อไหร่ แล้วยิ่งไปกว่านั้นผู้ที่ใช้ความรุนแรงก็เป็นคนใกล้ตัวมากๆ และปัญหาการใช้ความรุนแรงนี้ก็ส่งผลกระทบโดยตรงกับผู้ที่ถูกทำร้าย เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2018 ได้มีการเผยแพร่คลิปวิดิโอที่เรียกได้ว่าสะเทือนใจสำหรับคนเป็นพ่อเป็นแม่หรือแม้แต่คนทั่วไปนั่นก็คือ คลิปวิดีโอที่หญิงคนหนึ่งกำลังทุบตีเด็กน้อยอย่างรุนแรงพร้อมกับด่าทอจนเด็กนั้นทนความเจ็บปวดไม่ไหวจนร้องไห้ออกมา คลิปวิดีโอมีความรุนแรง โปรดใช้วิจารณญาน จากคลิปวิดีโอจะเห็นได้ว่าหญิงผู้ที่คาดว่าจะเป็นแม่ได้ทำการทุบตีลูกของเธอ โดยเด็กหญิงที่สวมเสื้อสีเขียวที่เป็นพี่คนโตนั้นถูกทุบตี จิกหัว และเตะเข้าที่ลำตัวอย่างหนัก ส่วนคนน้องนั้นถูกตีเข้าที่หลังอย่างแรง สาเหตุที่เด็กโดนทำร้ายร่างกายในครั้งนี้มีเหตุเนื่องมาจากผู้เป็นแม่นั้นหาแท็บเล็ตของเธอไม่เจอและคิดว่าเด็กน้อยนั้นเป็นผู้เอาไป และแม่ก็ยังทุบตีเด็กน้อยไปเรื่อยๆ แล้วพูดว่า “เอาแท็บเล็ตคืนมาให้ฉัน ไม่งั้นฉันจะฆ่าแก!!” เด็กน้อยก็ได้แต่ตอบว่า “ทำไมแม่ไม่จำล่ะว่าเอาไปไว้ที่ไหน” พร้อมกับกรีดร้องออกมาด้วยความกลัว หลังจากนั้นเด็กน้อยก็ถูกแม่จิกหัวขึ้นอีกครั้งพร้อมกับทุบตีจนเด็กน้อยอาเจียนออกมา เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่เมือง Bahia Blanca ประเทศอาร์เจนตินา คลิปวิดีโอนี้ถูกอัปโหลดโดยผู้ไม่ประสงค์ออกนาม หลังจากที่คลิปวิดีโอได้เผยแพร่ออกไปก็ได้มีการแชร์และคอมเมนต์ด่าทอถึงการกระทำของหญิงผู้นี้อย่างหนัก แต่นั่นก็ทำให้เด็กอายุ 3 ขวบและน้องสาวอีก 2 คนได้รับการช่วยเหลือโดยเจ้าหน้าที่และถูกส่งต่อให้ผู้ดูแลต่อไป ส่วนแม่ผู้ใช้ความรุนแรงนั้นถูกสอบสวนและอาจถูกตั้งข้อหาว่ากระทำความผิด การใช้ความรุนแรงในครอบครัวนั้นเป็นเรื่องที่ร้ายแรงมากๆ เพราะมันอาจจะไม่ใช่เพียงแค่การทำร้ายร่างกายแต่มันรวมไปถึงการทำร้ายจิตใจให้เด็กนั้นซึมซับความรุนแรงและอาจจะเป็นปมที่ฝังลึกในใจตลอดไป ที่มา dailymail
-
แม่พาลูกที่ไม่ได้ป่วยอะไรเลย เข้าโรงพยาบาลกว่า 323 แห่ง รับผ่าตัดอีก 13 ครั้ง
คำกล่าวที่ว่าพ่อแม่ทุกคนต่างต้องการให้ลูกได้รับสิ่งที่ดีที่สุดเสมอ ไม่เป็นความจริงเสมอไป เนื่องจากในปัจจุบันมีพ่อแม่บางคนที่ไม่ใส่ใจลูก หรือหนักกว่านั้นคือใช้ลูกเป็นเครื่องมือหาผลประโยชน์ เหมือนกับแม่คนนี้ Kaylene Bowen-Wright อาศัยอยู่ที่เมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา เธอและสามีหย่าร้างกันแล้ว ส่วนลูกชาย Christopher Bowen นั้นอยู่ในสิทธิ์เลี้ยงดูของเธอ ตอนนี้เขามีอายุได้ 8 ขวบแล้ว แต่เด็กชายไม่ได้ถูกเลี้ยงดูอย่างสุขสบายเลย เพราะคุณแม่พาเขาตระเวนเข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลแล้วกว่า 323 ครั้ง และเข้ารับการผ่าตัดมาแล้วทั้งสิ้น 13 ครั้ง ทั้งๆ ที่เด็กชายไม่ได้ป่วยแต่อย่างใด Kaylene Bowen-Wright และลูกชาย Christopher ในตอนต้นนั้นคุณแม่โกหกว่าลูกเป็นโรคแพ้นมเท่านั้น แต่ต่อมาอาการที่เธอกุขึ้นมาก็รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งบอกว่าลูกมีอาการเหนื่อยง่าย ช็อก ขาอ่อนแรงจนเดินไม่ได้ และที่ร้ายที่สุดคือเธอบอกว่าลูกชายของตัวเองเป็นโรคมะเร็งอีกด้วย จากการที่เธอโกหกมาทั้งหมด ทำให้เด็กชายต้องผ่านการผ่าตัดหลายครั้งโดยไม่มีความจำเป็น และต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือหลายอย่างเหมือนคนพิการ เช่น ท่ออาหาร หน้ากากออกซิเจน และรถเข็น เธอยังคงปั้นน้ำเป็นตัวต่อไปเรื่อยๆ เพื่อรับเงินช่วยเหลือ เธอถึงกับทำเพจโครงการรับบริจาคเงินมาช่วยเรื่องค่ารักษาพยาบาลให้กับลูกชาย ทั้งๆ ที่ตัวเขาเองก็สบายดี โครงการรับบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่ายการรักษาของ Christopher เมื่อปี…
-
ครูมาเลเซียถูกผู้ปกครองฟ้อง จากการ ‘หยิกจู๋’ เด็กวัย 4 ขวบเป็นการทำโทษที่ไม่ยอมนอน
โรงเรียนอนุบาลเป็นสถานที่ที่เหล่าพ่อแม่ผู้ปกครองไว้วางใจให้ทางโรงเรียนเป็นผู้ดูแลบุตรหลานของตัวเอง แต่ทว่ากลับมีข่าวคราวเกี่ยวกับคุณครูทำร้ายเด็กๆ อยู่บ่อยครั้ง จนทำให้เหล่าผู้ปกครองต้องคอยเป็นห่วงบุตรหลานอยู่เสมอ และอีกข่าวที่เกี่ยวกับเรื่องเด็กอนุบาลในครั้งนี้เกิดขึ้นที่โรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่งในเมือง Sungai Buloh ประเทศมาเลเซีย เด็กชายวัย 4 ขวบได้รับบาดเจ็บที่อวัยวะเพศ ซึ่งผู้ปกครองสังเกตเห็นเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ในขณะที่กำลังอาบน้ำให้เด็กน้อย เด็กน้อยมีมีอาการบวมแดงที่บริเวณอวัยวะเพศ ทางผู้ปกครองจึงได้สอบถามไปที่โรงเรียนว่าเกิดอะไรขึ้นกับลูกชายของพวกเขา ซึ่งเด็กชายได้บอกเบื้องต้นว่าโดนคุณครูหยิกที่อวัยวะเพศ คุณครูประจำชั้นผู้ถูกกล่าวหาได้บอกว่า พ่อแม่ของเด็กต้องการที่จะให้เธอยอมรับโดยการขอดูภาพจากกล้องวงจรปิด โดยเธอได้บอกว่าเด็กบาดเจ็บจากการเล่นกันเท่านั้น แต่เมื่อสืบไปสืบมาความจริงก็ได้ปรากฏ คุณครูออกมายอมรับว่าเธอทำร้ายเด็กชายจริงๆ เพราะว่าเจ้าหนูไม่ยอมนอนกลางวันจึงต้องทำโทษด้วยวิธีนี้ ทางครอบครัวได้เข้าแจ้งความกับตำรวจทันทีเพื่อให้ทางตำรวจดำเนินการจัดการกับคุณครูท่านนี้โดยด่วน และทางครอบครัวก็ได้นำหนูน้อยคนนี้ไปตรวจร่างกายเพิ่มเติม แต่ก็เป็นกังวลว่าลูกจะได้รับผลกระทบทางจิตใจหรือไม่ เรื่องราวนี้ได้รับความสนใจจากเหล่าผู้ปกครองเด็กในมาเลเซียกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นาย Datuk Seri Micheal หัวหน้าแผนกบริการและการร้องเรียน ก็ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยได้ออกมาเตือนให้ผู้ปกครองดูแลบุตรหลานอย่างเข้มงวด และอย่าไว้ใจโรงเรียนอนุบาลมากนัก “เราต้องการที่จะนำคดีนี้ไปขยายความเพื่อให้มันกระจ่าง เพราะว่าเรารู้ว่ามันเป็นเพียงแค่หนึ่งในคดีเล็กที่เป็นส่วนหนึ่งของการล่วงละเมิดเด็กที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจจะมีกรณีแบบนี้เกิดขึ้นอีกมากมายเพียงแค่เราไม่รู้เพียงเท่านั้นเอง” Datuk กล่าว ที่มา says
-
Mary Ellen เด็กสาวผู้ถูกกดขี่ จนเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดกฎหมายการคุ้มครองเด็กจากครอบครัว
กฎหมายบ้านเมืองที่บังคับใช้กันในทุกวันนี้ย่อมมีที่มาที่ไปเสมอ บางกฎตั้งขึ้นเพื่อจัดระเบียบในสังคม ในขณะที่บางกฎตั้งขึ้นหลังจากที่เหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว นั่นก็เพื่อไม่ได้เกิดเหตุการณ์เดิมซ้ำอีก เหมือนอย่างกฎหมายการคุ้มครองเด็กจากการทารุณกรรมที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ถูกตั้งขึ้นและบังคับใช้หลังจากที่มีการกดขี่เด็กหญิงคนหนึ่ง นี่คือคำบอกเล่าจาก Mary Ellen Wilson เด็กหญิงผู้ถูกกดขี่ “ฉันชื่อ Mary Ellen Wilson ฉันไม่รู้ว่าตัวเองอายุเท่าไหร่ ฉันโดนแม่ตีและเฆี่ยนด้วยแส้เกือบทุกวัน ฉันไม่เคยได้รับการจูบด้วยความรัก” “ฉันไม่เคยได้รับอนุญาตให้เล่นกับเด็กคนอื่นๆ ฉันไม่กล้าพูดกับใคร เพราะถ้าฉันทำ ฉันจะโดนเฆี่ยน…เมื่อแม่ออกไปข้างนอก เธอจะล็อกประตูขังฉันไว้ในห้อง ฉันจึงไม่มีโอกาสได้ออกไปข้างนอกเลย…” ไม่ใช่แค่ Mary Ellen คนเดียว แต่มีเด็กๆ นับไม่ถ้วนที่ถูกทารุณกรรมเช่นเดียวกับเธอ และเรื่องราวของพวกเขามักจะถูกรายงานผ่านสื่อบ่อยมาก ตามข้อมูลจาก Army Community Service Family Advocacy Group ระบุว่า ทุกๆ วันจะมีเด็กเสียชีวิตอย่างน้อย 5 คน ซึ่งเป็นผลมาจากการทารุณกรรม โดยสามในสี่มีอายุต่ำกว่า 4 ขวบ ย้อนกลับไปในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมา ไม่มีกฎหมายสำหรับคุ้มครองเด็กๆ จากการถูกทำร้ายร่างกายโดยพ่อแม่ของพวกเขา นั่นทำให้พ่อแม่มักจะลงโทษลูกตัวเองอย่างหนักเมื่อไม่เชื่อฟังคำสั่ง กรณีของ Mary Ellen เกิดขึ้นเมื่อปี 1874 และเรื่องราวของเธอนี้เองที่เปลี่ยนความเข้าใจของสาธารณชนเกี่ยวกับการล่วงละเมิดต่อเด็กอย่างสิ้นเชิง ยิ่งกว่านั้นสังคมยังให้ความร่วมมือในการป้องกันและยุติการทารุณกรรมต่อเด็กด้วย…