Tag: ทำลายป่า
-
อยู่ได้ก็อยู่ไป!! ชาวเชียงใหม่รวมใจผูกริบบิ้นเขียว-เขียนข้อความ “ไม่ขายของให้คนทำลายป่า”
กลายเป็นประเด็นดราม่ากันมาได้พักใหญ่ๆ แล้ว สำหรับการก่อสร้างบ้านพักตุลาการบนที่ดินเชิงดอยสุเทพ จนทำให้ชาวเชียงใหม่แสดงความไม่พอใจเนื่องจากมีการทำลายผืนป่าและสร้างบ้านโดยไม่ได้รับความเห็นชอบ แม้จะมีการเสนอแนวทางในการปรับปรุงให้พื้นที่บริเวณนั้นกลายเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับประชาชน และขอเวลาปรับปรุงพื้นที่เป็นเวลา 10 ปี แต่ก็ดูจะยังไม่เป็นที่น่าพอใจ (อ่านข่าวเก่าที่นี่) ล่าสุดได้เกิดเป็นปรากฏการณ์ “โซเชียลแซงก์ชั่น” (การลงโทษทางสังคม) ขึ้นในหลายๆ พื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ โดยพ่อค้าแม่ค้าและผู้ให้บริการรถประจำทาง (รถแดง) ได้มีการติดป้ายข้อความที่ระบุว่าจะไม่ขายสินค้านั้นๆ ให้กับผู้ที่ทำลายผืนป่า หรือหากบางที่ไม่ได้เขียนข้อความไว้ก็จะมีการติดริบบิ้นสีเขียวเอาไว้แทน เพื่อบ่งบอกให้รู้ว่าพวกเขาจะไม่ให้บริการกับผู้ที่ทำลายป่าเช่นกัน ภาพทั้งหมดถูกเผยแพร่ผ่านเฟซบุ๊กเพจ ขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ ซึ่งเป็นเฟซบุ๊กที่เปิดขึ้นเพื่อประณามการทำลายป่าเพื่อสร้างบ้านพักตุลาการ รณรงค์ให้ผู้คนตื่นตัวและเรียกร้องให้ภาครัฐมีการฟื้นฟูพื้นที่บริเวณนั้น พร้อมกันนี้ยังมีข้อความประกอบด้วยว่า “อยู่ได้ก็อยู่ไป!! ให้มันรู้กันไประหว่าง ‘คนเชียงใหม่กับคนหมู่บ้านป่าแหว่ง’ ใครมันจะแน่กว่ากัน ถ้าคุณคิดว่าสามารถทนกระแสสังคมคนเชียงใหม่ไปได้ก็เชิญอยู่ตามสบายเลย #เราคนเชียงใหม่ไม่ขอร่วมสังฆกรรมกับคนบ้านป่าแหว่ง #ขอคนละหนึ่งภาพคัดค้านบ้านป่าแหว่งจัดมา #เชียงใหม่โมเดล #เพจขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ” “ร้านนี้ไม่ต้อนรับคนทำลายป่า ร่วมใจทวงคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ ลงชื่อได้ใน Change.org” เสื้อยืดที่มีข้อความว่า “ขอคืนพื้นที่ป่า ดอยสุเทพ” ริบบิ้นสีเขียว ที่เป็นสัญลักษณ์ทวงคืนผืนป่า . . . . …
-
ภาพสะเทือนอารมณ์ จากแคมเปญต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่า เพราะคุณกำลังฆ่าสัตว์อยู่…
ทุกครั้งที่มีการตัดไม้ทำลายป่า มันไม่ได้ส่งผลเสียกับแค่ต้นไม้ ใบหญ้าเท่านั้น แต่มันคือการฆ่าสัตว์ไปด้วย เพราะป่าไม้คือที่อยู่อาศัยของสัตว์ เมื่อไม่มีป่าแล้วสัตว์จะอยู่อย่างไร? ด้วยเหตุนี้ Ganesh Prasad Acharya จึงได้จัดทำภาพแคมเปญต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่าขึ้นมา ให้กับทางมูลนิธิปกป้องสัตว์ป่า Sanctuary Asia ได้นำไปเผยแพร่กับผู้คนให้ได้รับรู้ ปกติการอนุรักษ์ด้วยภาพสัตว์น่ารัก หรือป่าเขียวชอุ่ม อาจไม่ได้รับความสนใจมากพอ แคมเปญนี้จึงเน้นภาพที่สะเทือนอารมณ์ ซึ่งเป็นภาพที่สื่อสารได้ชัดเจนมากกว่า หวังจะให้ผู้คนหันมาใส่ใจสัตว์ป่ามากขึ้น มูลนิธิปกป้องสัตว์ป่า Sanctuary Asia ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1981 โดย Bittu Sahgal ตามคำสั่งของนักอนุรักษ์ Fateh Singh Rathore Sanctuary Asia เป็นองค์กรอนุรักษ์ธรรมชาติชั้นนำของอินเดีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสารกับผู้อ่านให้ทำความเข้าใจเหตุผลของการคุ้มครองสัตว์ป่าและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยมุ่งเน้นที่อนุทวีปอินเดีย ดังนั้นนับตั้งแต่ก่อตั้งมา Sanctuary Asia ก็กลายเป็นศูนย์รวมของการอนุรักษ์สัตว์ป่านับไม่ถ้วน และยังทำหน้าที่เป็นเวทีสำหรับกลุ่มบุคคลและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการแลกเปลี่ยนความรู้ด้วย ที่มา Sanctuary Asia l Instagram l Facebook l designyoutrust