Tag: ทิเบต

  • ‘พิธีศพแห่งท้องฟ้า’ กับความเชื่อว่า ‘อีแร้ง’ จะช่วยพาร่างกายของผู้ตายไปสู่สวรรค์…

    ‘พิธีศพแห่งท้องฟ้า’ กับความเชื่อว่า ‘อีแร้ง’ จะช่วยพาร่างกายของผู้ตายไปสู่สวรรค์…

    บนโลกที่แสนกว้างใหญ่ใบนี้มีความแตกต่างกันอยู่มากมายไม่ว่าจะเป็น ชาติพันธุ์ สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้เกิด ประเพณี ความเชื่อ ที่มีเอกลักษณ์ ซึ่งมันก็ส่งผลไปถึงวิถีชีวิตของผู้คนที่อยู่อาศัยในแต่ละพื้นที่ด้วย ในวันนี้ #เหมียวหง่าว จะขอพาเพื่อนๆ ไปทำความรู้จักกับพิธีกรรมงานศพของชาวธิเบตกัน ที่ช่างแตกต่างกับเมืองไทยซะเหลือเกิน จะเป็นอย่างไรบ้างลองไปชมพร้อมๆ กันได้เลยจ้า…   พิธีศพแห่งท้องฟ้าเป็นพิธีศพที่ทำกันอย่างแพร่หลายในประเทศทิเบต ศพของผู้ตายจะถูกตัดออกเป็นชิ้นๆ แล้วนำไปวางบนยอดเขาเพื่อให้อีแร้งบินลงมากิน   พิธีกรรมนี้ชาวธิเบตเรียกว่า Jhator หมายความว่า ‘การมอบทานให้แก่นก’   ชาวธิเบตส่วนใหญ่นั้นนับถือศาสนาพุทธ ทำให้พวกเขาเชื่อในเรื่องของ ‘โลกหน้า’ ร่างกายอันไร้วิญญาณของเราเป็นเพียงแค่ภาชนะอันว่างเปล่าเท่านั้น ฉะนั้นการที่นกจะมาจิกกิน หรือให้มันย่อยสลายไปตามธรรมชาติ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดต่อหลักจริยธรรมแต่อย่างใด แต่เนื่องจากพื้นดินในประเทศธิเบตนั้นมีความแข็ง ทำให้การขุดหลุมฝังศพนั้นกลายเป็นเรื่องที่ยากลำบาก จึงทำให้รูปแบบงานศพออกมาเป็นพิธีศพแห่งท้องฟ้า   ในช่วงพิธีศพก็จะมีการประดับประดาธงรูปแบบอย่างที่เห็นนี้เอาไว้ เพื่อเป็นการสวดภาวนาขอให้ผู้ตายไปสู่สุขติ   สัปเหร่อจะเป็นผู้ทำพิธีผ่าศพ และจัดการทุกอย่างเกี่ยวกับศพ (ในภาพเขากำลังลับมีดอยู่)   พิธีศพของชาวธิเบตนั้นเริ่มต้นเมื่อช่วงศตวรรษที่ 7 เมื่อพิธีกรรมเริ่มขึ้นพื้นที่ที่ถูกจัดพิธีกรรมจะอบอวลไปด้วยกลิ่นหอมของธูปและกำยาน เพื่อเป็นการนำดวงวิญญาณของผู้ตายไปสู่สวรรค์ ศพของผู้ตายจะถูกวางเอาไว้ในสถานทำพิธี จากนั้นสัปเหร่อจะทำการหั่นศพให้เป็นชิ้นๆ ให้กับเหล่าอีแร้งที่ถูกเรียกว่า ‘เหยี่ยวศักดิ์สิทธิ์’ ชาวธิเบตเชื่อว่าอีแร้งเหล่านั้นจะช่วยพาร่างของผู้ตายขึ้นไปสู่สวรรค์ และสัปเหร่อก็จะได้รับค่าจ้างประมาณ 100…