Tag: ที่ไป

  • สาระน่ารู้เรื่องวัฒนธรรม “สินสอด” มาจากไหน ใครให้สินสอดบ้าง แล้วถ้าไม่ให้จะได้ไหม?

    สาระน่ารู้เรื่องวัฒนธรรม “สินสอด” มาจากไหน ใครให้สินสอดบ้าง แล้วถ้าไม่ให้จะได้ไหม?

    เศรษฐกิจยุคนี้มันช่างฝืดเคือง ค้าขายก็ไม่ค่อยจะดี แถมความรักก็ดูจะไปไม่รอด เพราะพ่อตาเล่นเรียกค่าสินสอดซะสูงเหลือเกิน แล้วลูกผู้ชายชนชั้นกลางอย่างเราๆ จะไปหาเงินหลายแสนจากไหนมาแต่งงานดีล่ะน้อ… เรียกได้ว่าวัฒนธรรมการให้สินสอด เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยเรามาอย่างยาวนาน นานซะจนคนรุ่นใหม่อย่างเราๆ บางคนอาจจะไม่เข้าใจว่า มันมีที่มาจากไหน? หรือทำไปเพื่ออะไร? ด้วยความสงสัยดังกล่าว เราจึงไปค้นข้อมูลผ่านอากู๋ผู้รู้ใจ และได้พบว่าอันที่จริงแล้ว วัฒนธรรมสินสอดเนี่ย ไม่ได้มีแค่ในประเทศฝั่งเอเชียอย่างบ้านเราเท่านั้น แต่มันมีมานานมากแล้ว ตั้งแต่สมัยยุคอารยธรรมเมโสโปเตเมีย นู้นแน่ะ     นักมานุษยวิทยาชาวฝรั่งเศส Philippe Rospabé ได้ระบุไว้ว่า วัฒนธรรมสินสอดแบบใช้เงินตราเนี่ย เพิ่งปรากฏขึ้นเมื่อช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งมันมาจากรากฐานความคิดเรื่องของความมั่นคงในชีวิตคู่หลังการแต่งงาน และอาจแตกต่างกันไปตามบริบทการเป็นอยู่ของแต่ละสังคม   เมโสโปเตเมีย อ้างอิงจากตำราฮัมมูราบี ได้กล่าวไว้ว่า สินสอดในอดีตของวัฒนธรรมชาวเมโสโปเตเมีย นั้นจะถูกกำหนดโดยญาติผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย โดยมีกฏร่วมกันอยู่ว่า ถ้าหากฝ่ายชายมีชู้จะไม่ได้รับค่าสินสอดคืน ยกเว้นก็แต่ว่าพ่อตาจะไม่เอาเรื่อง   วัฒนธรรมชาวยิว จากคัมภีร์ฮิบรูของชาวยิวได้มีการกำหนดเรื่องสินสอดไว้ตั้งแต่อดีตกาลนานมาแล้ว โดยมีบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า ‘ชายใดที่เกี้ยวพานราศีกับหญิงบริสุทธิ์ ต้องจ่ายค่าสินสอดทองหมั้น และแต่งงานกับเธอ แต่ถ้าหากพ่อของฝ่ายหญิงปฏิเสธยกลูกสาวให้ ฝ่ายชายต้องจ่ายค่าสินสอดเพื่อชดใช้พรหมจรรย์ที่เสียไป’   กฏของชาวอิสลาม สำหรับวัฒนธรรมการแต่งงานของผู้นับถือศาสนาอิสลามนั้น ได้มีกฏบัญญัติไว้ว่า ฝ่ายชายจะต้องจ่าย ‘มะฮัร’  ซึ่งถือเป็นของขวัญ และสินน้ำใจที่ฝ่ายชายมอบให้ โดยจะแตกต่างจากสินสอด…