Tag: พลังงานสะอาด
-
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ!! จีนเรืองอำนาจคว้าชัยชนะ และกลายเป็นอันดับ 1 ด้านพลังงานสะอาด
นับตั้งแต่ที่ปัญหาโลกร้อนรุนแรงขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกเริ่มหายไป ประเทศชั้นนำมากมายทั่วโลกก็เริ่มตระหนักได้ว่าการผลิตพลังงานในปัจจุบันนั้นสร้างผลเสียให้กับโลกของเรามากขนาดไหนไม่ว่าจะด้วยน้ำมันหรือถ่านหินก็ตาม นั่นจึงส่งผลให้ชาติมากมายหันมาเดินหน้าและใส่ใจในพลังงานธรรมชาติกันมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นพลังงานจากลม น้ำหรือแม้แต่แสงแดดก็ตาม แน่นอนว่าพวกเขาก็ไม่ได้ทำมันเฉยๆ เพราะมันยังคงขับเคลื่อนด้วยการแข่งขันเช่นเคย ในปี 2017 ที่ผ่านมา จีนถือเป็นประเทศที่นำหน้าในเกมการแข่งขันเรื่องพลังงานสะอาดไปอย่างขาดลอย ซึ่งทาง UN ก็ออกมาบอกว่า เมื่อนับแค่พลังงานสะอาดเท่านั้นมารวมกัน ทั้งโลกนั้นสามารถผลิตพลังงานเพิ่มได้ถึง 157 กิกะวัตต์ในปีเดียว ซึ่งพลังงานสะอาดที่ฮิตมากๆ ในช่วงนี้คงจะหนีไม่พ้นพลังงานแสดงอาทิตย์ เพราะจากตัวเลขข้างต้นนั้น 100 กิกะวัตต์ มาจากพลังงานแสดงอาทิตย์ ส่วนอีก 50 มาจากพลังงานลม ซึ่งเจ้าพลังงานที่ว่านี้ถือเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้จีนกลายเป็นผู้นำเลยก็ว่าได้ เพราะว่าในปี 2017 มีการลงทุนเกี่ยวกับพลังงานสะอาดจากทุกชาติในโลกรวมกันได้ 279.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 8,750 ล้านบาท แต่จีนได้ลงทุนแผงพลังงานแสงอาทิตย์ไปมากถึง 126.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 3,940 ล้านบาท ซึ่งเป็นครึ่งหนึ่งจากเงินลงทุนในพลังงานทั้งหมดจากทุกประเทศทั่วโลก และแน่นอนว่า 86.5 ล้านดอลลาร์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินลงทุนทั้งหมดนั้นเป็นเงินที่ลงทุนกับแผงโซลาร์เซลล์นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจีนจะเป็นผู้นำ อเมริกาจะเป็นตาม หรืออินเดียที่ตั้งเป้าจะเป็นผู้ชนะให้ได้ ทั้งหมดล้วนเป็นเรื่องที่ดีต่อโลกแทบทั้งสิ้น เพราะนี่คือการแข่งขันผลิตพลังงานสะอาดที่ปลอดภัยและเป็นมิตร…
-
อินเดียประกาศยกเลิกโรงงานถ่านหิน พร้อมกับเดินหน้าส่งเสริมพลังงานสะอาดเต็มที่!!
โลกที่หมุนไป สภาพอากาศที่แย่ลงทุกวันทำให้คนเริ่มหันมาสนใจและรักษาบ้านของมวลมนุษย์กันมากขึ้น หลายประเทศเริ่มที่จะหันมาสนใจพลังงานทดแทนกันมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งล่าสุดอินเดีย ก็เป็นอีกประเทศที่ตั้งใจจะเอาดีด้านนี้บ้าง ในตอนแรกนั้นทางอินเดียได้วางแผนจะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 4,000 เมกะวัตต์ในรัฐคุชราต ซึ่งถือว่าเป็นโครงการ Ultra Mega Power Projects (UMPP) หรือ โปรเจกต์พลังงานขนาดยักษ์ แห่งที่สองในอินเดีย แต่ว่าทางรัฐบาลของอินเดียนั้นได้ออกมาเปลี่ยนความคิดใหม่และบอกว่า ประเทศอินเดียในตอนนี้นั้นมีพลังงานมากพอแล้ว (จาก UMPP แห่งแรก) ทางรัฐอยากจะหันไปสนใจในเรื่องพลังงานทดแทนมากกว่า เพราะถ้ามองในเรื่องของผลระยะยาวมันส่งผลดีกว่านั่นเอง ฉะนั้นโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจำเป็นจะต้องหยุดดำเนินการต่อทันที Chimanbhai Sapariya รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานบอกว่า “รัฐคุชราตเพิ่งจะสำเร็จโครงการ UMPP แรกไปเมื่อปีก่อน ฉะนั้นพวกเราจึงรู้ว่ายังไม่จำเป็นจะต้องเร่งเดินหน้าโครงการที่สองในเร็ววันนี้ สิ่งที่พวกเราต้องสนใจในตอนนี้คือพลังงานทดแทน ซึ่งทางรัฐบาลจะให้ความสนใจที่พลังงานแสงอาทิตย์เป็นอันดับแรก” จากการประกาศและเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้พื้นที่ในรัฐคุชราตนั้นมีการผสมผสานของการผลิตไฟฟ้าหลายรูปแบบ ซึ่งตอนนี้ทางรัฐคุชราตก็กำลังวางแผนจะติดตั้งโซลาเซลล์บนหลังคาบ้านเรือนทุกหลัง นอกจากนี้ทางรัฐบาลอินเดียก็ยังตั้งเป้าจะเป็นผู้นำด้านพลังงานแสงอาทิตย์อันหนึ่งของโลก แถมยังคาดว่าจะผลิตพลังงานได้มากถึงระดับเทราวัตต์ (1 ล้านล้านวัตต์) ในปี 2030 ด้วย งานนี้ก็ต้องรอดูแล้วว่าประเทศอินเดียจะทำสำเร็จหรือไม่!? ที่มา independent
-
นักวิทย์คิดค้นวิธีชาร์จไฟไร้สายแบบใหม่ ด้วยกลวิธี ‘ปรบมือ’ หรือ ‘เต้น’ ออกกำลังแลกไฟฟ้า!?
ในปัจจุบันการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลืองนั้นทำให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมายกับสิ่งแวดล้อม นั่นทำให้ผู้คนหันมาสนใจนวัตกรรมพลังงานสะอาดมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงานและทรัพยากร แถมยังช่วยลดโลกร้อนได้อีกด้วย และไม่นานมานี้นักวิทยาศาสตร์ก็ได้คิดค้นวิธีใหม่ในการสร้างพลังงานให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยการปรบมือและการเต้น เทคโนโลยีในการสร้างพลังงานสะอาดนี้ได้วิธีมาจาก Triboelecticity ที่สามารถกำเนิดพลังงานได้จากการเคลื่อนไหวและการสั่นสะเทือน นักวิจัยชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียจากสถาบัน Clemson’s Nanomaterial Institute (CNI) ได้สร้างอุปกรณ์ที่มีชื่อว่า Ultra-Simple Triboelectricity Nanogenerator หรือเรียกสั้นๆ ว่า U-TENG ในปี 2017 U-TENG เป็นอุปกรณ์ชิ้นเล็กๆ ที่ทำมาจากพลาสติกและเทปที่สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าได้เมื่อวัสดุทั้งสองได้มากระทบกัน โดยตัวอุปกรณ์จะตรวจจับการกระทบไม่ว่าจะเป็นการปรบมือ หรือการย่ำเท้าผ่านสายไฟและวงจรด้านนอก และเก็บสะสมพลังงานที่ได้มาไว้ในแบตเตอร์รี่หรือตัวเก็บประจุ นอกจากนั้นยังได้มีการสร้างอุปกรณ์รุ่นใหม่ที่ไร้สายโดยมีชื่อเรียกว่า W-TENG ที่ใช้วัสดุผสมผสานมาจาก Teflon และเส้นใยหลายๆ ส่วน ซึ่งประกอบไปด้วยวัสดุที่บางเป็นพิเศษอย่าง Graphene W-TENG สามารถเก็บประจุไฟฟ้าได้ถึง 3,000 โวลต์ ซึ่งสามารถสร้างสนามไฟฟ้าที่สามารถส่งต่อพลังงานได้ไกลถึง 3 เมตรเลยทีเดียว “นอกจากนี้ มันยังสามารถใช้สนามไฟฟ้าให้เป็นรีโมทได้อีกด้วย เช่นการปรบมือกับอุปกรณ์ W-TENG…
-
นักศึกษาชาวดัตช์คิดค้น “รถยนต์จากพืช” คันแรกของโลก ที่สามารถวิ่งบนถนนได้จริงๆ
ทุกวันนี้เรามักจะพยายามเสนอนวัตกรรมสีเขียวเพื่อช่วยและอนุรักษ์โลกกันอยู่บ่อยๆ อย่างเช่น รถยนต์อีโคคาร์ เป็นต้น ซึ่งก็จะเป็นนวัตกรรมประหยัดในด้านพลังงานเท่านั้น แต่ถ้าบอกว่าตอนนี้มีคนคิดค้นรถที่อีโคจริงๆ ขึ้นมาล่ะจะว่ายังไง? แถมอีโคที่ว่าไม่ใช่แค่พลังงานที่ตัวรถใช้ แต่รวมถึงตัวรถเกือบทั้งคันนั้นเป็นวัสดุจากพืชเลยทีเดียว ห๊ะ?!! Lina คือชื่อของรถที่ถูกคิดค้นโดยนักศึกษาเนเธอร์แลนด์ จาก Eindhoven University of Technology ซึ่งเป็นรถคันแรกของโลกที่มีส่วนประกอบเป็นธรรมชาติล้วนๆ Quinten Oostvogel ผู้จัดการของทีมวิจัยให้สัมภาษณ์พร้อมพูดถึงรถของพวกเขาว่า “พวกเราได้คิดค้นวัสดุของรถที่มีพื้นฐานเป็นวัสดุชีวภาพทั้งหมด โดยพืชหลักที่เราใช้ก็จะเป็นต้นฝ้ายซึ่งนำมาใช้สร้างรถคันนี้ นั่นก็หมายความว่าตัวรถทั้งคันมาจากต้นฝ้ายนั่นเอง ไม่ใช่แค่นั้นนะ การตกแต่งภายในและส่วนอื่นๆ ก็ยังเป็นวัสดุชีวภาพแทบทั้งสิ้น” พวกเขายังได้อธิบายเสริมถึงสาเหตุของการใช้ต้นฝ้ายอีกว่า “ที่เราใช้ต้นฝ้ายก็เพราะเป็นพืชที่เมื่อนำมาใช้แล้วจะเป็นวัสดุชีวภาพที่แข็งแรงมากๆ และเมื่อนำมารวมเข้ากับหัวผักกาดหวาน พวกเราก็สามารถที่จะใช้วัสดุดังกล่าวมาสร้างตัวรถได้ ที่สำคัญพืชพวกนี้ยังสามารถหาได้ง่ายทั่วยุโรปเลยล่ะ” ในส่วนของพลังงานที่ Lina ใช้แน่นอนว่าก็ต้องเป็นพลังงานสะอาดซึ่งพวกเขาเลือกใช้พลังงานไฟฟ้า นอกจากนั้นตัวรถยังกินไฟไม่มากเพราะรถมีน้ำหนักที่น้อยเพียงแค่ 300 กิโลกรัมเท่านั้น ทำให้ไม่ต้องใช้แรงขับที่เยอะมากนัก อย่างไรก็ตามเหล่าผู้ผลิตรายใหญ่มากมายยังมองว่า Lina เป็นผลผลิตจากการทดลองบ้านๆ เท่านั้นไม่สามารถผลิตมาขายได้จริงแต่พวกเขาอาจจะคิดผิด และในอนาคตเราอาจจะได้ใช้รถที่มี Lina เป็นต้นแบบก็เป็นได้ สามารถรับชมการให้สัมภาษณ์ของทีมผู้สร้างได้ข้างล่าง ส่วนใครที่อยากเห็นตัวรถเต็มๆ พร้อมกับแบบวิ่งขยับได้สามารถดูได้ที่คลิปนี้ …
-
ประเทศสวีเดนกำลังจะเป็นประเทศแรกๆ ที่เลิกใช้พลังงานจากฟอสซิล!! พวกเขาทำอย่างไร??
ประเทศสวีเดนอาจเป็นประเทศเล็กๆที่ไม่ค่อยมีใครสนใจเท่าไหร่ แต่รู้หรือไม่ ตอนนี้พวกเขากำลังจะทำสิ่งที่ปฏิวัติวงการพลังงานโลกตลอดไป เมื่อนายกรัฐมนตรีของสวีเดน Stefan Löfven ได้แถลงในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติว่า พวกเขาจะกลายเป็นประเทศแรกๆที่เลิกใช้พลังงานฟอสซิลถาวรในเร็วๆนี้ พูดถึงพลังงานฟอสซิลหลายคนอาจงงว่าคืออะไร พูดง่ายๆ พลังงานฟอสซิลคือพลังงานที่มาจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ ซึ่งก็คือปิโตรเลียมหรือน้ำมันต่างๆที่เราใช้ทุกวันนั่นเอง ในปัจจุบัน ประเทศสวีเดนก็เป็นผู้นำในการใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) โดย 2 ใน 3 ของพลังงานที่ใช้ในประเทศสวีเดนล้วนมาจากพลังงานหมุนเวียนทั้งสิ้น หรือแม้กระทั่งประเทศข้างๆอย่างเดนมาร์ก สามารถผลิตพลังงานจากลมได้ถึง 140 เปอร์เซ็นจากความต้องการใช้พลังงานในแต่ละวัน จนเหลือพอส่งไปให้ประเทศเพื่อนบ้านอย่างเยอรมัน สวีเดน และนอร์เวย์ (ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 15 ของโลก ย้อนแย้งมั้ยละ ผลิตขายแต่ไม่ใช้) ส่วนประเทศไอซ์แลนด์นั้น สามารถผลิตพลังงานหมุนเวียนได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นเลยทีเดียว โดยพวกเขาได้ลงทุนในการผลิตพลังงานจากน้ำและความร้อนใต้โลก แต่การที่ประเทศสวีเดนจะยกเลิกการใช้พลังงานฟอสซิลนั้นเป็นเป้าหมายที่ยากมาก เพราะพวกเขามีทั้งภาคอุตสหกรรมที่ยังต้องใช้พลังงานฟอสซิลอยู่ ในงบประมาณประจำปีที่เพิ่งประกาศไปเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา รัฐบาลสวีเดนประกาศว่าจะใช้เงินประมาณ 356 ล้านยูโร หรือ ประมาณ 14,300 ล้านบาท ในการสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อย่างเช่นแผงโซล่าเซลล์และกังหันลม รวมถึงจะปรับปรุงระแบบขนส่งสาธารณะใหม่ให้สะอาดขึ้น และมีระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะอีกด้วย นอกจากนี้พวกเขาจะใช้เงินอีกประมาณ…