Tag: พายุหิมะ
-
นักปีนเขาถูกชาวเน็ตถล่มหนัก หลังตัดสินใจทิ้งหมาไว้กลางทาง เนื่องจากพายุเข้ากะทันหัน!?
นักปีนเขาคนหนึ่งถูกชาวเน็ตโจมตีอย่างหนักหน่วง เนื่องจากเขาทิ้งสัตว์เลี้ยงของตัวเองเอาไว้ท่ามกลางพายุหิมะบนภูเขาในประเทศสก๊อตแลนด์ แล้วหนีไปหลบพายุหิมะคนเดียว ภายหลังก็พบว่ามันตายเสียแล้ว ในวันที่ 14 มกราคมที่ผ่านมา นาย Paul Finnegan นักปีนเขาจากเมืองช็อตส์ เขตนอร์ธลานาร์คชายร์ ประเทศสก๊อตแลนด์ ตัดสินไปขึ้นไปปีนเขา Beinn Sgulaird ซึ่งสูงถึง 3074 ฟุต (ประมาณ 930 เมตร) กับ Meg สุนัขพันธุ์บอร์เดอร์คอลลี่ของเขา ทว่าเจ้าสุนัขวัย 12 ปีเกิดหมดแรงขึ้นมากลางทาง ซ้ำร้ายตอนนั้นยังมีพายุหิมะเข้าหนักอีก หลังจากเขาและเพื่อนพยายามแบกมันลงจากเขาสักพัก เขาก็ต้องตัดใจลงไปหลบพายุหิมะแล้วทิ้งมันไว้แล้วกลางทาง Meg สุนัขของ Paul Finnegan ญาติของเขาบอกว่าเขาไม่มีทางเลือกอื่นแล้ว เพราะว่าอากาศก็เลวร้ายลงเรื่อยๆ จึงต้องทิ้งมันเอาไว้ก่อนอย่างช่วยไม่ได้ แล้วออกตามหามันเมื่อพายุหิมะสงบลงอีกที นักปีนเขาที่เชี่ยวชาญเองก็ไม่โทษเขาเหมือนกัน กลับรู้สึกเห็นใจเขาด้วย เพราะแม้ว่าเขาจะตัดสินใจทิ้งสุนัขแสนรักเอาไว้กลางภูเขาหิมะแบบนั้น แต่มันก็เป็นการตัดสินใจในสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างหนึ่งที่ช่วยชีวิตเขาไว้ได้ โพสต์ของครอบครัวนาย Paul Finnegan ที่ขอความช่วยเหลือตามหาสุนัข เมื่อพายุหิมะสงบลงเขากับเพื่อนก็กลับไปหาสุนัขทันที แต่เนื่องจากจำไม่ได้ว่ามันหายไปตรงไหน จึงทำให้การค้นหาเป็นไปอย่างลำบาก สุดท้ายเขาก็หามันไม่เจอ คนในครอบครัวของเขาจึงโพสต์ในเฟซบุ๊กเพื่อขอความช่วยเหลือว่า “ฉันอยากขอคำแนะนำหน่อยค่ะ เมื่อวานคนในครอบครัวไปปีนเขา Beinn…
-
ภาพเหตุการณ์ “น้ำแข็งท่วม” เมืองบอสตัน น้ำท่วมและหนาวจัด เกิดเป็นภัยพิบัติหาชมยาก!!
ภัยธรรมชาติเป็นเรื่องที่มนุษย์พยายามหลีกเลี่ยงมาอย่างยาวนาน อย่างไรก็ดีธรรมชาติก็เป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์และหลีกเลี่ยงได้อยู่ดี และราวกับธรรมชาติกลั่นแกล้งในบางครั้งมนุษย์เราก็ต้องพบกับภัยพิบัติอันแสนเลวร้ายยิ่งกว่าที่เคยมีมาอีกด้วย ในขณะเมืองบอสตันกำลังพยายามจัดการกับปัญหาน้ำท่วมอยู่นั้นพวกเขาก็ได้พบกับอุณหภูมิที่ลดลงอย่างกะทันหันจากพายุหิมะ จนทำให้เกิดธารน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่ปกคลุมไปทั่วท้องถนน สำนักข่าว The Boston Globe รายงานว่าประชาชนราว 20 ครอบครัวต้องทำการอพยพจากที่พักอาศัย แต่มีเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่ได้รับความช่วยเหลือจากยานพาหนะลุยน้ำของเจ้าหน้าที่ National Guard น้ำท่วมแข็งในทางเหนือของเมือง Boston ภาพของรถที่ทำการยกที่ปัดน้ำฝนและกระโปรงหลังไว้เพื่อไม่ให้ส่วนนั้นจมอยู่ในหิมะ แต่ก็ไม่สามารถต่อต้านการจมอยู่ในธารน้ำแข็งที่เกิดจากน้ำท่วมแข็งได้ . ภาพพยากรณ์อากาศของของอเมริกาฝั่งตะวันออก อุณหภูมิเยือกแข็งที่ประมาณ -9 องศาเซลเซียส จะยังปกคลุมเมืองบอสตันไปอีกประมาณสองวันและอาจลดลงไปได้ถึง -18 องศาเซลเซียสในตอนกลางคืน โดยที่ในบางพื้นที่อาจพบลมหนาวพัดซึ่งทำให้อุณหภูมิสามารถลดลงไปอย่างเลวร้ายที่สุดที่ -37 องศาเซลเซียส Benjamin Sipprell นักอุตุนิยมวิทยาในบอสตันกล่าวว่าน้ำท่วมครั้งนี้เกิดจากพายุหิมะพัดผ่านในช่วงน้ำขึ้นซึ่งขึ้นสูงกว่าปกติเพราะซูเปอร์มูนเมื่อวันพุธที่ผ่านมา ซึ่งเหตุการณ์ซูเปอร์มูนมักจะเกิดขึ้นประมาณ 4-6 ครั้งต่อปี น้ำขึ้นน้ำลงเกิดขึ้นเพราะดวงจันทร์ น้ำจะขึ้นสูงสุดในช่วงพระจันทร์เต็มดวงและซูเปอร์มูนจะยิ่งทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นไปอีก จนในที่สุดก็ทะลักเข้าท่วมเมือง “น้ำขึ้นตามปกติในบอสตันจะสูงประมาณ 9 ถึง 10 ฟุต” Sipprell บอก “มันอาจขึ้นไปได้ถึง 12 ฟุต และเราก็คาดการณ์ว่าครั้งนี้มันจะขึ้นไปได้ถึง 12.1 แต่กลายเป็นว่ามันกลับสูงถึง 15 ฟุต มันต้องกลายเป็นประวัติศาสตร์แน่ๆ “ ครั้งสุดท้ายที่เมืองจมอยู่ในธารน้ำแข็งแบบนี้ก็ตั้งแต่เมื่อปี 1978 และเมืองที่ได้รับผลกระทบเลวร้ายที่สุดก็จะเป็นเมืองที่ติดแนวชายฝั่งแบบ Plum…
-
รู้จักกับปรากฏการณ์ ‘คลื่นสเลอปี้’ ที่น้ำทะเลเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำแข็ง จากอุณหภูมิติดลบ หาชมได้ยากยิ่ง!!
จากที่เกิดพายุหิมะที่กระทบชายฝั่งตะวันออก เป็นที่สนใจอย่างมาก ทางวิทยาศาสตร์ได้อธิบายเหตุการณ์แบบนี้ว่า “ระเบิดพายุไซโคลน” แต่ตอนนี้มีปรากฏการ์อื่นแบบเจ้าคลื่นสเลอปี้ด้วยเช่นกัน คลื่นสเลอปี้แน่นอนมันฟังดูเหมือนกับ คลื่นเริ่มเย็นลงและเคลื่อนตัวไปช้าๆ ขณะที่มันม้วนตัวเข้าหาฝั่ง คุณ Jonathan Nimerfroh เป็นช่างภาพที่ได้ถ่ายภาพเหตุการณ์นี้ได้เมื่อวันที่ 3-4 มกราคม ปี 2561 ที่ผ่านมานี่เอง จากปรากฏการณ์พายุฤดูหนาว Grayson ที่หาด Nobadeer ซึ่งเป็นจุดโต้คลื่นของเกาะ Nantucket รัฐแมสซาชูเซต ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ใช้ Instagram ชื่อ jdnphotography ได้โพสต์ภาพเจ้าคลื่นสเลอปี้พร้อมเขียนว่า “คลื่นสเลอปี้กลับมาแล้ว” คลื่นยังสามารถใช้เล่นเซิร์ฟบอร์ดได้เหมือนเดิมนะ . น่าลงไปเล่นมากๆ คลื่นสเลอปี้ช่วงพายุหิมะกลายเป็นภาพสวยๆ ให้เรารับชมกัน มาดูเป็นแบบภาพเคลื่อนไหวของเจ้าคลื่นสเลอปี้กันมั่งดีกว่า ที่มา Ibtimes, Designyoutrust