Tag: ฟอสซิล
-
11 ฟอสซิลจากยุคดึกดำบรรพ์ที่ “แปลกและเจ๋งที่สุด” เท่าที่เคยมีการค้นพบมาเลยล่ะ!!
ฟอสซิล ถือเป็นหลักฐานทางโบราณคดีชั้นยอดที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ นักโบราณคดี หรือนักศึกษาซากดึกดำบรรพ์นั้น เข้าถึงใจยุคสมัยแรกเริ่มได้เป็นอย่างดี หลายครั้งที่ฟอสซิลทำให้เราเห็นว่าโลกเราสมัยโบราณนั้นมีสิ่งชีวิตประเภทใดอาศัยอยู่บ้าง และครั้งนี้มันไม่ธรรมดาตรงนี้ เราได้รวบรวมฟอสซิล “สุดเท่” ที่เห็นได้ไม่ง่าย มาให้เพื่อนๆ ได้ชมกัน ไปดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง… 1. ฟอสซิลหางไดโนเสาร์ นี่เป็นฟอสซิลที่หายากที่สุดเลยล่ะ นักวิทยาศาสตร์และนักศึกษาซากดึกดำบรรพ์ ได้แกะรอยไปจนพบกับอัญมณีสีเหลืองน้ำตาล ที่เรียกว่า “อำพัน” ซึ่งมีซากขนนกอยู่ข้างในนั้น จึงเข้าใจได้ว่า ในยุคไดโนเสาร์ มีไดโนเสาร์ชนิดหนึ่งที่มีหางปกคลุมไปด้วยขนคล้ายขนนก ที่มา: http://www.sci-news.com/paleontology/feathered-dinosaur-tail-burmese-amber-04437.html 2. ฟอสซิลวิลอซิแรปเตอร์ที่กำลังต่อสู้กับเหยื่อของมันอยู่ หลักฐานชิ้นนี้กลายเป็นฟอสซิล ขณะที่ไดโนเสาร์วิลอซิแรปเตอร์กำลังโจมตีโปรโตเซอราทอปส์ แต่ดูเหมือนทั้งคู่จะยังไม่รู้แพ้รู้ชนะกัน แรปเตอร์นั้นใช้กรงเล็บแทงไปที่ตัวโปรโตเซอราทอปส์ กลับกันเจ้าโปรโตเซอราทอปส์ ก็ใช้ขากรรไกรอันทรงพลังกัดแขนของแรปเตอร์จนแตกหัก แต่ยังไม่ทันรู้ผลทั้งคู่ก็ต้องตายและกลายเป็นฟอสซิลหลังเนินทรายถล่มลงมาทับร่าง ที่มา: https://www.newscientist.com/article/mg22530090-800-stunning-fossils-dinosaur-death-match/ 3. ปลาผู้ล่าเทอโรแดคทิลลัส ตายขณะคาบเหยื่อ จากตำแหน่งบนฟอสซิล สามารถสันนิษฐานได้ว่า ไดโนเสาร์ชนิดปีกเทอโรแดคทิลลัสกำลังบินลงมาเพื่อหาปลาเล็กเป็นเหยื่อ แต่กลับถูกปลาขนาดใหญ่กระโดดงับ จนทั้งคู่จมลงสู่ใต้ทะเล ที่มา: https://scitechdaily.com/pterosaur-rhamphorhynchus-being-eaten-by-ganoid-fish-aspidorhynchus-fossilized/ 4. การล่าเหยื่อของแมงมุมเมื่อ 100 ล้านปีก่อน ในฟอสซิลอำพัน แมงมุมตัวโตกำลังจับตัวต่อเป็นอาหาร ร่องรอยบนฟอสซิลถูกเก็บไว้อย่างดีในอัญมณียางไม้สีเหลืองน้ำตาลที่เรียกกันว่า…
-
นักวิทย์พบฟอสซิล ‘แมงมุม’ อายุกว่า 100 ล้านปีในอำพัน สภาพสมบูรณ์ แถมมีหางด้วย!?
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2018 สำนักข่าว Daily Mail ได้รายงานถึงเรื่องการค้นพบสุดเหลือเชื่อของนักวิทยาศาสตร์ที่ได้ไปเจอเข้ากับซากฟอซซิลแมงมุมอายุกว่า 100 ล้านปี ที่มีหางยาวออกมาเหมือนกับแมงป่อง นี่เป็นการค้นพบของทีมงานจากหลายประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน เยอรมนี และสหราชอาณาจักร โดยพวกเขาเจอเจ้าสิ่งนี้เขตหุบเขา Hukawng ประเทศพม่า ลักษณะของแมงมุมที่มีการค้นพบในอำพัน แมงมุมทั้ง 4 ตัวที่พวกเขาค้นพบว่าเป็นซากอยู่ในก้อนอำพัน เป็นสิ่งมีชีวิตที่หลงเหลือมาจากยุคกลางครีเทเชียส เมื่อ 100 ล้านปีก่อน สมัยที่ไดโนเสาร์ยังมีชีวิตกันอยู่ สภาพของพวกมันเรียกได้ว่าสมบูรณ์แบบจริงๆ นักวิทยาศาสตร์สามารถตรวจสอบอวัยวะร่างกายโดยรอบของพวกมันได้อย่างชัดเจน ทั้งขา เขี้ยว อวัยวะที่ใช้ปล่อยใย อวัยวะบ่งบอกเพศที่ทำให้รู้ว่าทุกตัวคือตัวผู้ และหางที่ไม่มีอยู่ในแมงมุมสมัยนี้ นักวิทย์เชื่อว่าหางที่ติดตัวพวกมันมามีการทำงานเหมือนกับหางของแมงป่องคือ เป็นตัวรับสัมผัสใช้สำหรับการสำรวจสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ไว้มองหาเหยื่อที่จะกลายมาเป็นอาหาร ขนาดตัวของแมงมุมหน้าตาประหลาดเหล่านี้ก็ถือว่าเล็กเอามากๆ ลำตัวของพวกมันยาวแค่ประมาณ 2.5 มิลลิเมตร ส่วนหางนั้นจะยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร และนี่เป็นครั้งแรกที่มีการพบหางติดอยู่กับตัวแมงมุม ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีการคาดการณ์เอาไว้ถึงสิ่งมีชีวิตที่ลักษณะคล้ายกับแมงมุมมีหางเหมือนกัน แต่ว่าไม่มีตัวปล่อยใย อาศัยอยู่บนโลกของเราในยุคเดโวเนียนเมื่อประมาณ 380…
-
พบ ‘ซากคล้ายไดโนเสาร์’ ในอินเดีย ที่ยังมีชิ้นเนื้อติดอยู่ คาดเป็นหลักฐานทางโบราณคดีชิ้นสำคัญ
ไดโนเสาร์คือสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่สูญพันธู์ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว การศึกษาเกี่ยวกับพวกมันจึงหาข้อมูลได้ยาก ที่ผ่านมานั้นนักวิทยาศาสตร์ได้เพียงแต่ศึกษาข้อมูลของพวกมัน ผ่านทางเศษกระดูก รอยเท้า และฟอสซิลที่พบเท่านั้น แต่ล่าสุด มีการค้นพบซากสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายไดโนเสาร์ และถ้ามันเป็นซากไดโนเสาร์จริงๆ ละก็ มันจะกลายเป็นข้อมูลชิ้นสำคัญที่ทำให้เราได้ศึกษาไดโนเสาร์ได้ลึกซึ้งมากขึ้น เพราะซากชิ้นส่วนนี้มีความพิเศษไม่เหมือนกับสิ่งที่เคยพบมาก่อนนั่นเอง ซากลักษณะคล้ายไดโนเสาร์ที่ถูกค้นพบ ซากรูปร่างคล้ายไดโนเสาร์ที่ว่านี้ถูกค้นพบโดยบังเอิญ เมื่อมีช่างไฟฟ้าคนหนึ่งเข้าไปทำงานที่สถานีรถไฟใต้ดินร้างที่ถูกปล่อยทิ้งไว้กว่า 35 ปี ในเมืองแจสเพอ รัฐอุตตราขัณฑ์ ประเทศอินเดีย แต่มันมีความพิเศษกว่าซากหรือฟอสซิลอื่นๆ ที่เคยพบมา เนื่องจากซากชิ้นนี้ ยังมีชิ้นเนื้อของสิ่งมีชีวิตติดมากับกระดูกที่มีรูปร่างค่อนข้างสมบูรณ์ด้วย นักวิทยาศาสตร์ต่างตื่นเต้นกันมากที่พบซากในลักษณะนี้ ขณะนี้ซากที่พบก็ถูกส่งไปยัง Kamuan University แล้ว เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านฟอสซิล Dr.Bahadur Kotlia ได้ทำการวิเคราะห์ จะได้รู้กันว่ามันเป็นไดโนเสาร์จริงหรือไม่ แล้วมันมีจากยุคใด ซากไดโนเสาร์นั้นมีความยาวประมาณ 28 เซนติเมตร จึงอาจจะตีความได้ว่ามันเป็นไดโนเสาร์สายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่งระหว่าง Deinonychus, Coelophysis และ Dromaeosarus ซึ่งทั้งสามสายพันธุ์นี้เป็นไดโนเสาร์พันธุ์เล็ก จัดเป็นไดโนเสาร์ในกลุ่ม Theropod ซึ่งเป็นกลุ่มสายพันธุ์เดียวกับไดโนเสาร์ T Rex นั่นเอง อย่างไรก็ตามนักอนุรักษ์…
-
คนงานรถไฟใต้ดิน LA บังเอิญเจอซากฟอสซิลอายุ 10,000 ปี คาดว่ามีชีวิตในช่วงยุคน้ำแข็ง
ในลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา มีการขุดเจาะขยายทางรถไฟใต้ดินมาตั้งแต่ปี 2014 ซึ่งในระหว่างนั้นได้มีการค้นพบซากฟอสซิลของชิ้นส่วนสัตว์ดึกดำบรรพ์หลายชนิด อย่างเช่น กรามกระต่าย ฟันของสัตว์ขนาดใหญ่ หรือช่วงขาของอูฐ แต่ถึงแม้ฟอสซิลเหล่านั้นจะมีอายุเก่าแก่มากขนาดไหน ก็ไม่สามารถทำให้ Ashley Leger รู้สึกพึงพอใจได้เท่าครั้งนี้เลย เมื่อลูกทีมของเธอค้นพบฟอสซิลขนาดใหญ่ที่มีอายุมานานกว่า 10,000 ปี การขุดเจาะเพื่อขยายทางรถไฟใต้ดิน . เธอคนนี้คือผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ โดยการขุดเจาะถนนจำเป็นต้องมีเธอเข้ามาร่วมทีมด้วยก็เพราะว่า เมื่อไหร่ที่มีการพบฟอสซิล เธอจะเป็นคนเข้าไปตรวจสอบผลงานดังกล่าวด้วยตัวเอง ระหว่างการขุดเจาะนานเป็นปีๆ คืนหนึ่งลูกทีมของเธอก็ติดต่อมาและบอกว่า ค้นพบฟอสซิลขนาดใหญ่ ซึ่งนั่นทำให้เธอรีบตรงไปยังไซต์งานดังกล่าวในวันต่อมา ฟอสซิลที่ถูกค้นพบในครั้งนี้ก็มีขนาดใหญ่กว่าที่เคยค้นพบ เพราะมันคือส่วนกะโหลกของแมมมอธ ซึ่งเคยมีชีวิตอยู่เมื่อ 10,000 ปีก่อน ในช่วงสุดท้ายของยุคน้ำแข็ง ฟอสซิลขนาดใหญ่ที่บังเอิญพบเข้าระหว่างการทำงาน Ashley หญิงสาวผู้ควบคุมปฏิบัติการการขุดฟอสซิลในครั้งนี้ จากการตรวจสอบ น่าจะเป็นกะโหลกของโคลัมเบียนแมมมอธวัยประมาณ 8-12 ปี และความพิเศษของเจ้าสิ่งนี้คือ ส่วนของงามันยังคงติดอยู่กับส่วนหัว ซึ่งนี่เป็นเรื่องที่หาได้ยากมากจากฟอสซิลที่เคยค้นพบก่อนหน้านี้ Ashley บอกว่า “มันเหมือนฝันที่เป็นจริง นี่คือหนึ่งในฟอสซิลที่ฉันอยากค้นพบมากที่สุดตลอดชีวิตการทำงาน” โดยก่อนหน้านี้เธอเคยตามหาฟอสซิลแมมมอธในรัฐเซาท์ดาโคตา แต่เธอก็ไม่เคยเจอฟอสซิลที่มีความสมบูรณ์มากขนาดนี้เลย …
-
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบกะโหลกมนุษย์อายุกว่า 300,000 ปี เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมา
หากจะว่าด้วยเรื่องต้นกำเนิดของมนุษย์เรานั้น ในปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่ามีที่มาที่ไปอย่างไรและเกิดขึ้นมาตอนไหน แต่ว่าในตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบหลักฐานสำหรับที่มาของมนุษยชาติแล้ว เพราะว่าพวกเขาได้ค้นพบหัวกะโหลกที่มีอายุมากกว่า 300,000 ปี ซึ่งอาจเปลี่ยนประวัติศาสตร์ของโลกไปเลย Jean-Jacques Hublin และทีมงานของเขาจากสถาบันวิจัย Pax Planck ได้ค้นพบโครงกระดูกอายุกว่า 300,000 ปีซึ่งน่าจะเป็นที่มาของมนุษยชาติซึ่งเหล่าฟอสซิลเหล่านี้น่าจะเป็นโครงกระดูกที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษย์ที่เคยมีการค้นพบเลยก็ว่าได้ ซึ่งที่มาของการค้นพบครั้งนี้เกิดจากเมื่อประมาณเมื่อ 20-30 ปีก่อนคนงานเหมืองแร่ใน Marrakesh ประเทศโมร็อกโกได้สะดุดเข้ากับหัวกะโหลกของมนุษย์เข้า นั่นจึงได้เริ่มการขุดค้นบริเวณนี้ขึ้นเพราะเชื่อว่าสถานที่แห่งนี้ยังมีโครงกระดูกอื่นๆ อีกมาก จนมาพบเข้ากับซากโครงกระดูกโบราณนี้ในที่สุดโดยในตอนแรกพวกเขาสันนิษฐานกันไว้ว่ากะโหลกมนุษย์ที่ค้นพบนี้มีอายุกว่า 40,000 ปีเลยทีเดียวแต่เมื่อนำไปเทียบกับหลักฐานในยุคต่างๆ ที่เคยมี ปรากฏว่ามันไม่ตรงกับยุคไหนเลยและน่าจะมีความเก่าแก่มากกว่านั้น นอกจากกะโหลกอันนี้แล้วพวกเขายังพบโครงกระดูกอื่นๆ อีกในบริเวณนี้โดยน่าจะเป็นโครงกระดูกสำหรับคน 5 คนอีกทั้งยังพบมีดที่ทำมาจากหินอยู่ข้างๆ โครงกระดูกและเมื่อนำสิ่งต่างๆ ไปตรวจสอบรังสีแล้วก็พบว่าโครงกระดูกเหล่านี้น่าจะมีอายุกว่า 300,000-350,000 ปีก่อนเลยทีเดียว ในตอนแรก Hublin คิดว่าลักษณะของกะโหลกโบราณต้องมีกระดูกคิ้วที่แข็งแรง รูปร่างกะโหลกค่อนข้างใหญ่และมีใบหน้ามีแบนเรียบ แต่เมื่อมีการค้นพบนี้ขึ้นก็ปรากฏว่ากะโหลกของมนุษย์เมื่อ 3 แสนปีก่อนมีความใกล้เคียงกับมนุษย์ในยุคปัจจุบันเลย Hublin ยังมีความเชื่ออีกว่าประเทศโมร็อกโกนี้ยังมีซากดึกดำบรรพ์ซึ่งอาจเป็นกุญแจในการไขจุดกำเนิดของมนุษย์ ที่รอคอยการค้นพบอีกจำนวนมาก ที่มา: unilad , businessinsider
-
ค้นพบฟอสซิลสิ่งมีชีวิตในจีน คาดเป็นบรรพบุรุษสิ่งมีชีวิต มีอายุมากกว่า 540 ล้านปี
เรารู้กันดีว่าในยุคสมัยหลายล้านปีก่อน โลกของเราเคยเป็นยุคของไดโนเสาร์ และก่อนไดโนเสาร์ ก็มีสิ่งมีชีวิตก่อนหน้าอีกที ซึ่งทุกอย่างก็ถูกยืนยันด้วยซากฟอสซิลที่หลายคนได้เจอนั่นเอง ทว่าการพ้นพบกลับไม่หยุดแค่นั้น เพราะล่าสุดนักวิทยาศาตร์ได้ค้นพบซากฟอสซิลชนิดใหม่ที่ประเทศจีน และพวกเขาก็คาดว่ามันเป็นฟอสซิสของสิ่งมีชีวิตอายุมากกว่า 540 ล้านปี ที่สำคัญยังเป็นต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิตมากมายในยุคแรกอีกด้วย!! ทางนักวิจัยบอกว่า เจ้าสิ่งมีชีวิตที่เป็นเจ้าของฟอสซิลนี้เป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนพื้นทรายใต้น้ำ และมีส่วนประกอบหลักเพียงแค่ปากขนาดใหญ่ ไม่มีตาจมูก หรือแม้แต่รูทวาร ซึ่งพวกเขาตั้งชื่อให้มันว่า Saccorhytus coronarius เจ้า Saccorhytus นั้นถูกจัดอยู่ในสัตว์ประเภทแรกๆ ของสัตว์ตระกูล Deuterostomes ซึ่งในภายหลังก็พัฒนาไปสู่สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในท้องทะเลและยาวไปจนถึงสัตว์บกรวมถึงมนุษย์ด้วย การค้นพบครั้งนี้เป็นการร่วมมือกันของนักวิทยาศาสตร์สามชาติด้วยกัน เยอรมนี จีน และสหราชอาณาจักร ซึ่งได้ตีพิมพ์เรื่องราวการค้นพบผ่านวารสารเนเจอร์ สุดท้ายพวกเขาบอกว่า การค้นพบนี้ถือเป็นเรื่องใหม่ที่สุดยอดมากๆ เพราะขนาดของเจ้าฟอสซิลดังกล่าวนี้มีขนาดที่เล็กมากแค่ 1 มิลลิเมตร เท่านั้น ถ้ามองแบบไม่คิดอะไรมันก็จะเป็นแค่ก้อนดินชิ้นๆ เท่านั้นเอง ที่มา bbc,weirdasianews,wikipedia
-
เจ้าหนูวัย 9 ขวบสะดุดล้มกับก้อนหิน ดันพบซากดึกดำบรรพ์อายุกว่า 1,000,000 ปี โดยบังเอิญ!?
เรื่องราวน่าประหลาดใจมักเกิดขึ้นกับเราได้เสมอ เหมือนกับเจ้าหนูวัย 9 ขวบคนนี้ที่บังเอิญเดินไปพบกับโครงกระดูกสัตว์ดึกดำบรรพ์ จนกลายเป็นอีกหนึ่งการค้นพบที่ยิ่งใหญ่มากๆ วันหนึ่งระหว่างที่เจ้าหนู Jude Sparks กำลังเดินเล่นกับครอบครัวในเมือง Las Cruces รัฐนิวเม็กซิโก หนูน้อยได้สะดุดเข้ากับหินก้อนใหญ่ และเมื่อพวกเขาลองตรวจสอบที่หินก้อนนั้นดูกลับพบว่ามันคือกรามของสัตว์โบราณขนาดใหญ่!! เจ้าหนูและกรามขนาดใหญ่ของช้างดึกดำบรรพ์ที่เขาพบโดยบังเอิญ “มันเป็นมีรูปร่างแปลกมาก ผมคิดว่ามันไม่ใช่วัตถุธรรมดาที่เราสามารถพบได้ทั่วไป” เด็กน้อยให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับสำนักข่าว New York Times เมื่อวันอังคารที่ 18 กรกฏาคมที่ผ่านมา หลังจากนั้นพ่อและแม่ของเจ้าหนูได้ถ่ายรูปของเจ้าวัตถุก้อนนี้ แล้วส่งไปให้คุณ Peter Houde ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาประจำมหาวิทยาลัย New Mexico State University หลังจากนั้นไม่นานศาสตราจารย์ Houde ก็รีบมายังสถานที่ที่พบโครงกระดูกดังกล่าว เขาบอกว่าโครงกระดูกนี้เป็นของพวก Stegomastodon สัตว์ดึกดำบรรพ์รูปร่างคล้ายช้างที่สูญพันธุ์ไปกว่า 1,200,000 ปีแล้ว ทีมสำรวจเริ่มลงมือขุดซากโครงกระดูกทันทีที่มาถึง “พวกเราดีใจมากๆ ที่พวกเขาติดต่อเรามา เพราะถ้าหากพวกเขาไม่ติดต่อเรามา หรือพยายามที่จะขุดโครงกระดูกนั้นด้วยตัวเองอาจทำให้เราสูญเสียฟอสซิลชิ้นสำคัญไปเลยก็ได้” ศาสตราจารย์ Houde กล่าว โครงกระดูกของ Stegomastodon หลังจากที่ถูกขุดขึ้นมา “เราควรจัดการกับซากดึกดำบรรพ์ที่พบด้วยความรู้และความระมัดระวัง” ศาสตราจารย์กล่าวทิ้งท้าย ไปชมการชุดกู้ซากดึกดำบรรพ์และการให้สมัมภาษณ์ของศาสตราจารย์ Houde ได้ที่คลิปวิดีโอด้านล่างนี้เลย… ที่มา boredpanda
-
พบฟอสซิลไดโนเสาร์มีปีกอายุ 125 ล้านปี คาดเป็นบรรพบุรษของเวโลซีแรปเตอร์!!!
หนึ่งในตัวละคร (เรียกตัวละครได้มั้ยเนี่ย) ที่เป็นที่ชื่นชอบของเหล่าผู้ชมเป็นอย่างมาก ในหนังเรื่อง Jurassic World คงหนีไม่พ้นเจ้าแก๊งชายสี่เวโลซีแรปเตอร์จอมขโมยซีน ตอนนี้ดูเหมือนว่า ในโลกแห่งความเป็นจริง เราจะได้พบกับบรรพบุรุษของพวกมันกันแล้ว ล่าสุด มีการค้นพบซากฟอสซิลของไดโนเสาร์มีปีกอายุราวๆ 125 ล้านปี มีความสูงราวๆ 2 เมตร ซึ่งคาดว่าเป็นบรรพบุรุษของเจ้าเวโลซีแรปเตอร์ในทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน โดยการสำรวจครั้งนี้เป็นการร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัย Edinburgh และสถาบันธรณีวิทยาของจีน ผู้ที่เป็นหัวแกนหลักในการสำรวจครั้งนี้คือ Dr.Steve Brusatte และ Junchang Lü จากรายงานของ BBC เจ้าไดโนเสาร์ตัวนี้ถูกตั้งชื่อว่า Zhenyuanlong ซึ่งแปลว่า มังกรแห่งเซิ่นหยวน โดยทางหัวหน้าคณะสำรวจ Dr.Steve Brusatte ได้กล่าวว่า ซากฟอสซิลชิ้นนี้ เป็นฟอสซิ่ลที่มีความสมบูรณ์มากที่สุดชิ้นหนึ่งที่เขาเคยพบมาเลย ส่วนใครที่สงสัยว่าหน้าตามันเป็นยังไง เขาบอกว่า หน้าตาของมันเหมือนกับไก่งวงเวอร์ชั่นที่ดุร้ายกว่าและน่ากลัวกว่า แถมดูก็คล้ายๆกับเจ้าเวโลซีแรปเตอร์เป็นอย่างมากอีกด้วย แต่ถึงแม้ว่ามันจะมีปีก ดูเหมือนว่ามันจะไม่สามารถใช้ปีกเพื่อบินได้จริงๆ เนื่องจากน้ำหนักตัวของมันนั่นเอง เจ๋งไปเลยเนอะเพื่อนๆ ไม่แน่ภาคต่อของ Jurassic World อาจจะมีเจ้าไดโนเสาร์ตัวนี้อาจจะไปมีส่วนร่วมก็เป็นได้…