Tag: ฟ้อนท์
-
โปรเจคจบสุดเจ๋ง!! นวัตกรรมใหม่ของ ‘เครื่องสแกน’ ได้ทั้งฟ้อนท์และสี เพียง ‘คลิ๊ก’ เดียว
คนที่ทำงานออฟฟิศคงคุ้นเคยกับการพิมพ์งานเป็นอย่างดี แต่บางครั้งเราคงเคยเจอปัญหาที่ว่า เปิดหนังสือมา อยากได้ ฟ้อนท์ตัวหนังสือแบบนี้ แต่หายากจัง หายังไงก็ไม่มี หรือบางที อยากได้สีแบบนี้ ก็ไม่มีซะอีก งั้นจะทำยังไงดีละ? วันนี้ #เหมียวขี้ส่อง ขอแนะนำเทคโนโลยีของเครื่องสแกนที่บอกได้ว่า จะได้ทั้งฟ้อนท์ทั้งสีที่ต้องการแน่นอน และใช้ง่ายอีกด้วย ไปทำความรู้จักเทคโนโลยีนี้กันเถอะ Fiona O’Leary นักศึกษาจากวิทยาลัย Royal College of Art ณ กรุงลอนดอน เธอได้สร้างเครื่องมือที่ชื่อว่า Spector เพื่อส่งเป็นตัวจบของเธอ ที่สามารถเก็บได้ทั้งฟ้อนท์และสี ซึ่งสามารถใช้ได้กับโปรแกรม InDesign, Word และโปรแกรมอื่นๆ O’Leary เรียกเจ้า Spector นี้ว่า “Physical Eyedropper” หรือตัวดูดสีที่เราใช้ในโปรแกรมออกแบบนั่นเอง ที่สำคัญเจ้า Spector ใช้งานได้ง่ายมาก เพียงแค่นำไปวางบนฟ้อนท์หรือสีที่ต้องการ แล้วก็กดปุ่มเหมือนกดถ่ายรูป จากนั้นก็นำกลับมาซิงก์กับคอมพิวเตอร์ของเรา ผลที่ออกมาก็จะได้ฟ้อนท์หรือสีดั่งที่ต้องการเลยล่ะ เราไปดูการทำงานของสเปคเตอร์ตัวนี้กันดีกว่า (ลิงค์คลิป) น่าเสียดายที่ Spector นี้ ยังไม่มีการผลิตเป็นสินค้าให้เราได้ใช้…
-
ทำไม “มีม” แก็กตลกสั้นๆ ทั้งหลายต้องใช้ฟ้อนท์ Impact ตลอดเวลาด้วยนะ!?
ย้อนกลับไปในช่วงยุคแรกๆ ที่มีสังคมออนไลน์อย่าง Facebook โผล่ขึ้นมาให้เราได้ใช้งานติดต่อสื่อสารกัน หากจะล้อเลียนหรือแก็กตลกๆ ซักหนึ่งอันก็จะต้องโพสต์เป็นตัวอักษรให้อ่านกัน ก็พอขำขันได้ในระดับหนึ่ง ซักพักก็เริ่มมีการใช้รูปภาพพร้อมกับข้อความสั้นๆ ประกอบที่สร้างสีสันความฮาได้มากกว่า และสิ่งนี้ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นมา “อินเทอร์เน็ตมีม” (Internet Meme) ซึ่งในช่วงปีค.ศ. 2003 นั้นถือว่าเป็นช่วงพีคของมีมเลยก็ว่าได้ หลายๆ คนนิยมมาใช้โพสต์แก็กตลกขำขันกันเพียบเลย โดยจุดกำเนิดแก็กพร้อมแคปชั่นฮาๆ เริ่มต้นที่ผู้ใช้ที่ชื่อว่า FancyCat จากฟอรั่มของเว็บไซต์ Something Awful ได้ทำมีมตัวแรกเป็นรูปแมวยิ้มพร้อมกับข้อความ “I Can Has Cheezburger” โดยใช้ฟ้อนท์ Impact ประกอบ จนกระทั่งมีหลายเว็บไซต์ทำมีมตามออกมาอีกเพียบ โดยใช้แนวทางจากรูปภาพแมวอันแรกทำสานต่อกลายเป็นกระแสการเล่าแก็กตลกที่เห็นกันอยู่ทั่วอินเทอร์เน็ต และเหตุที่ใช้ฟ้อนท์ Impact นั้นก็คงจะเป็นเพราะว่าสามารถอธิบายความรู้สึกได้อย่างหนักแน่นและตรงๆ เข้าเป้าตามชื่อฟ้อนท์นั่นเอง ที่มา : knowyourmeme, vox, wikipedia, netforbeginners