Tag: รั้งท้าย
-
ซู๊ดยอด “กรุงเทพฯ” ติดท็อป 10 ระบบขนส่งมวลชน ‘ห่วยที่สุด’ จาก 100 เมืองรอบโลก!!
การเดินทางในชีวิตประจำวันของประชาชนในเมืองใหญ่ นอกเหนือจากจะใช้ยานพาหนะส่วนตัวแล้ว ระบบขนส่งมวลชนก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรองรับสำหรับผู้ที่ไม่มียานพาหนะหรือไม่อยากเพิ่มจำนวนยานพาหนะบนท้องถนน… สำหรับประเทศไทยนั้น ระบบการขนส่งมวลชนภายในตัวเมืองที่มีหลากหลายมากที่สุดก็คือ “กรุงเทพมหานคร” ทั้งระบบแท็กซี่ จักรยานยนต์รับจ้าง รถเมล์ รถไฟฟ้า BTS รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT รถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ เรือข้ามฝั่ง ฯลฯ กรุงเทพมหานคร แต่ทว่าเมื่อลองนำมาเทียบกับหัวเมืองใหญ่จากต่างประเทศแล้ว กลับกลายเป็นว่าภาพรวมของระบบขนส่งมวลชนภายในกรุงเทพ เข้าขั้นแย่ติดรั้งท้ายจาก 100 อันดับกันเลย 2017 Sustainable Cities Mobility Index การจัดอันดับดังกล่าวนั้นถูกรวบรวมโดยบริษัท Arcadis บริษัทด้านการออกแบบ วิศวกรรม และให้คำปรึกษาด้านการจัดการจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้ทำการเก็บชุดข้อมูลทางด้านภาพรวมเกี่ยวกับระบบขนส่งมวลชน ประมวลผลเป็นรายงาน 2017 Sustainable Cities Mobility Index จากรายงานชิ้นนี้ ทำการจัดอันดับระบบขนส่งมวลชนจากหัวเมือง 100 แห่งทั่วโลก โดยมองภาพรวมแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่ 1. ผู้คน (ความหนาแน่น ความปลอดภัย จำนวนเที่ยว…
-
ความถนัดภาษาอังกฤษของประเทศไทยครองบ๊วยอันดับสามของเอเชีย มันเกิดอะไรขึ้นกันแน่!?
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่ไม่ว่าประเทศไหนๆ ต่างก็ยอมรับและใช้เป็นภาษากลางในการติดต่อสื่อสารกับชาวต่างชาติ และก็ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าภาษาอังกฤษก็ได้ระบุเป็นหนึ่งในวิชาที่ต้องเรียนรู้ผ่านการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะว่าไปแล้วการเรียนภาษาอังกฤษในระบบการศึกษาของประเทศไทยนั้นมีตั้งแต่ระดับอนุบาลยันไปจนถึงระดับอดุมศึกษากันเลยทีเดียว เรียกได้ว่าเรียนกันตั้งแต่เด็กยันโต ไม่ว่าจะเรียนในระดับไหนก็หนีภาษาอังกฤษไม่พ้นอยู่ดี แต่เหตุใดภาษาอังกฤษของคนไทยกลับรั้งท้ายของเอเชีย จากผลสำรวจของสถาบันสอนภาษาอังกฤษ อีเอฟ (Education First) ได้เปิดเผยความถนัดทางด้านภาษาอังกฤษของประชาชนในประเทศต่างๆ ที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก พบว่าประเทศไทยตกมาอยู่อันดับที่ 62 จากทั้งหมด 70 ประเทศ ซึ่งถ้าเทียบกันในเอเชียแล้ว ประเทศไทยเป็นที่สามนับจากอันดับสุดท้าย เหนือกว่ากัมพูชาและมองโกเลียเพียงสองประเทศเท่านั้น แต่ถ้าเทียบในสัดส่วนระดับโลกก็เหนือกว่ากาตาร์ คูเวต อิรัก แอลจีเรีย ซาอุดีอาระเบีย และลิเบีย ทั้งนี้ทางอีเอฟได้เปิดเผยอีกว่า ระบบการศึกษาของไทย (ระบบโรงเรียน) สอบไม่ผ่านในทุกหัวข้อที่ประเมิน ถึงแม้จะใช้งบทางการศึกษาสูงถึง 31% ของงบประมาณรายปี แต่กลับมีทักษะทางด้านภาษาอังกฤษต่ำ โดยสัดส่วนงบประมาณนี้สูงกว่าทุกประเทศที่ทำการสำรวจซะอีก จากกรณีนี้เหมียวเองก็ไม่ได้เก่งภาษาอังกฤษมาตั้งแต่เกิด จนถึงป่านนี้ก็พออ่านออกเขียนได้ ทั้งนี้ก็มาจากการเรียนรู้ด้วยตนเองส่วนหนึ่ง และการเรียนรู้ผ่านระบบการศึกษาส่วนหนึ่ง มาคิดๆ ดูแล้วคนไทยก็เรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่เด็กจนโตเลยนะ ทั้งผ่านครูชาวไทย…