Tag: วัฒนธรรมญี่ปุ่น
-
ภาพถ่ายผสานระหว่าง ‘วัฒนธรรม’ และ ‘ความโมเดิร์น’ ของโตเกียว สองเส้นทางที่มาบรรจบกัน
หลายๆ ประเทศในโลกนี้ล้วนมีมุมมองที่สามารถถ่ายทอดออกมาให้เห็นได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะมองมันจากมุมไหน เช่นกันกับเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น อย่างมหานครโตเกียว หลายๆ คนมองว่าเป็นเมืองที่มีระเบียบ การเดินทางสาธารณะดีเป็นอันดับต้นๆ ของโลก แต่ในอีกมุมหนึ่งด้วยประชากรกว่า 13 ล้านคนในชั่วโมงเร่งด่วน มันทำให้โตเกียวกลายเป็นมหานครที่แสดงถึงความวุ่นวายไปเลย และด้วยความที่เมืองๆ หนึ่งมีหลายด้านให้มอง ช่างภาพชาวญี่ปุ่น Hiro Goto จึงได้ตัดสินใจใช้โอกาสนี้นำเสนอโตเกียวในมุมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสีสัน ความเจริญ ความวุ่นวายหรือจะเป็นวัฒนธรรมต่างๆ ที่สามารถอยู่ด้วยกันได้อย่างลงตัว ประตูสายรุ้ง กำแพงหนังสือ เงาสะท้อนยามพลบค่ำ . ความสวยงามของวัฒนธรรม . โตเกียวยามฝนตก . บรรยากาศชาวเมือง ที่นี่ชินจูกุ โตเกียวยามสนธยา บางทีชีวิตก็ดูเหงาหงอย ภาพชีวิต แสงสีและความวุ่นวาย ณ กินซ่า คาบุกิโจว แสงไฟยามค่ำคืนที่อาเมะโยโกะ …
-
ญี่ปุ่นประสบปัญหา “ขาดแคลนช่างตีดาบ” หรือนี่อาจเป็นสัญญานของยุคสมัยที่เปลี่ยนไป!!?
เมื่อพูดถึงดาบ ดาบญี่ปุ่นอย่างคาตานะหรือโนดาจิ คงจะเป็นชื่อดาบแรกๆ ที่อยู่ในหัวของใครหลายคนอย่างแน่นอน และดาบพวกนี้ก็แทบจะเป็นตัวแทนอย่างหนึ่งของวัฒนธรรมญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ ทว่าเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ดาบก็กลายเป็นเพียงแค่ของตกแต่งหรือวัตถุโบราณเพียงเท่านั้น เพราะปัจจุบันคงไม่มีใครใช้ดาบในการสู้รบอีกต่อไป ซึ่งนี้อาจจะเป็นสัญญานร้ายของวัฒนธรรมดาบญี่ปุ่นหรือเปล่า? ในปี 1998 ญี่ปุ่นได้มีการเปิดเผยตัวเลขของช่างตีดาบที่ลงทะเบียนกับทางรัฐบาล ซึ่งตอนนั้นมีจำนวนอยู่ราวๆ 300 คน แต่ในปัจจุบันนั้นมีจำนวนนักดาบที่ลงทะเบียนเพียงแค่ 188 คนเท่านั้นและจำนวนก็ดูจะลดลงเรื่อยๆ รวมถึงอายุของช่างตีดาบด้วย Tetsuya Tsubouchi หนึ่งในหัวหน้าสมาคมช่างตีดาบของญี่ปุ่นก็ได้บอกว่า ดาบญี่ปุ่นนั้นไม่เป็นเพียงแค่ดาบเฉยๆ แต่มันยังเป็นจิตวิญญานและวัฒนธรรมหลักของญี่ปุ่นด้วย แต่ในปัจจุบันการจะหาเด็กรุ่นใหม่มาทำต่อมันยากซะเหลือเกิน เขายังบอกอีกว่า การจะมาเป็นช่างตีดาบได้นั้นมันไม่ได้หมายความว่าคุณเปิดดูจากเน็ตแล้วออกไปเหวี่ยงค้อนตี เป้งๆ แล้วก็จะถูกยอมรับเลย เพราะคนอยากเป็นจะต้องไปขอเป็นลูกศิษย์กับช่างตีดาบเสียก่อน แน่นอนว่าลูกศิษย์จะไม่ได้รับเงินค่าจ้างจากการตีดาบหรอกนะ นอกจากการเป็นลูกศิษย์ก็ยังต้องใช้เวลานาน ซึ่งจะอยู่ในช่วงระยะเวลาฝึกราวๆ 5 ปี หรืออาจจะนานกว่านั้น จากนั้นก็ต้องไปสอบการเป็นช่างตีดาบอีก ซึ่งใช้เวลานานถึง 8 วัน และถ้าไม่ผ่านก็ต้องรอการทดสอบอีกครั้งในปีหน้า เพราะจะจัดทดสอบแค่ปีละครั้งเท่านั้น… ยัง ยังไม่หมดเท่านั้น เพราะหลังจากการสำเร็จการถูกยอมรับแล้ว ใช่ว่าดาบจะถูกซื้อไปทันทีหลังจากตีเสร็จ มันอาจจะไม่ถูกซื้อเลยก็เป็นได้ นอกจากนั้นการจะเปิดร้านตีดาบเป็นของตัวเองก็ต้องใช้เงินมากถึง 10 ล้านเยน…
-
ชวนไปเรียนรู้วัฒนธรรมญี่ปุ่น ผ่านอินสตาแกรมกับเจ้าแมว Maro น่ารักแถมได้ความรู้ด้วยนะเออ!!
สำหรับวันนี้ #เหมียวหง่าว จะขอพาเพื่อนๆ ไปทำความรู้จักกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นแบบเหมียวๆ ผ่านทางอินสตาแกรม rinne172 ไปพร้อมๆ กัน เจ้าเหมียวที่จะมาเป็นนายแบบคอยสอนให้ทุกคนเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นในวันนี้ก็คือ เจ้า Maro แมวเหมียวนักคอสเพลย์ที่คร่ำหวอดในวงการคอสเพลย์มานานกว่า 2 ปี!! ในทุกๆ วันสำคัญ เจ้า Maro จะถูกจับมาคอสเพลย์สวมชุดที่ชาวญี่ปุ่นมักจะใส่กันในวันนั้นๆ พร้อมกับมีแคปชั่นบอกด้วยว่าเป็นวันอะไร และความสำคัญของแต่ละวันอีกด้วย วันสำคัญทางศาสนาพุทธ และจะมีขึ้นในวันที่ 13 – 16 เดือนสิงหาคม เพื่อระลึกถึงวิญญาณของบรรพบุรุษ วันที่ 29 เดือนกันยายนเป็นวัน Manekineko หรือวันแมวนางกวัก เครื่องประดับที่ทำมาจากดินเหนียวและมีความเชื่อว่าหากนำมันไปตั้งไว้ในร้านค้าจะช่วยให้ขายดี นอกจากวันสำคัญต่างๆ แล้วก็จะมีอาหารประจำชาติญี่ปุ่น ที่จะมาเสิร์ฟบนโต๊ะอาหารพร้อมกับเจ้า Maro . . วันชาเขียวของญี่ปุ่น ตรงกับวันที่ 6 กุมภาพันธ์ วันเยลลี่ตรงกับวันที่ 24 เดือน กรกฎาคม วันน้ำแข็งใสตรงกับวันที่…