Tag: สมองเสื่อม
-
รถชนครั้งเดียวเปลี่ยนชีวิตนางแบบสาว เสียทั้งแฟน ความทรงจำ และชีวิตที่เคยสวยงาม…
ในช่วงเวลาชีวิตของคนเราจะต้องเจอกับอุปสรรคมากมาย ซึ่งในแต่ละครั้งที่ปัญหาเหล่านั้นถาโถมเข้าใส่ ก็ต้องเตรียมพร้อมรับมืออยู่เสมอ แต่คงจะไม่มีใครพร้อมกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นอุบัติเหตุที่พลิกหนึ่งชีวิตให้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง… Maria Lebedeva เพียงแค่เสี้ยววินาทีเดียวของ Maria Lebedeva สาวสวยจากประเทศรัสเซีย ต้องประสบพบเจอกับปัญหาชีวิตที่ตามมายาวเป็นหางว่าว จากอุบัติเหตุรถชนเข้ากลางลำที่พรากทุกอย่างไปจากชีวิตของเธอ ในปี 2016 เธอสวมชุดเดรสสีเทอควอยซ์ เข้าร่วมงานพรอม และรับเกียรตินิยมจบการศึกษา ย้อนกลับไปเมื่อช่วงฤดูร้อนปี 2016 Maria สวมใส่เดรสชุดสวย เพื่อเข้าร่วมงานพรอมหลังจากที่เธอจบการศึกษา พร้อมได้รับเกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยในเมือง Novosibirsk ประเทศรัสเซีย โดยในจังหวะที่งานพรอมเสร็จสิ้นแล้ว แต่เธอดันไปตามนัดแฟนหนุ่มสายไปนานกว่า 30 นาที ทำให้ Andrey แฟนหนุ่มในตอนนั้นรู้สึกโกรธเธอมากๆ Maria และแฟนหนุ่ม Andrey และหลังจากที่ขึ้นรถของแฟนหนุ่ม ทั้งคู่ก็มีปากเสียงกัน และด้วยความโมโหทั้งที่ไม่ได้รีบไปไหนในช่วงเย็นวันนั้น เขาก็เหยียบคันเร่งด้วยความเร็ว 80 กม./ชม. เพื่อฝ่าไฟแดง แต่ชนเข้ากับรถที่กำลังเลี้ยวเข้ากลางลำกลางสี่แยก อุบัติเหตุเพียงเสี้ยววินาที ที่เปลี่ยนทั้งชีวิตของ Maria …
-
งานวิจัยเผย คนที่ “นอนกรน” มีความเสี่ยงด้านปัญหาสุขภาพมากกว่าคนทั่วไป
การนอนกรนถือเป็นหนึ่งในอาการที่ไม่พึงประสงค์สำหรับคู่รักหลายๆ คู่เลยทีเดียว เพราะเจ้าเสียงที่ดังราวกับรถบรรทุกโอ่งวิ่งบนถนนลูกรังและเผลอทำโอ่งตกแตกมันช่างรบกวนการนอนหลับของเราจริงๆ เลยว่าไหม แต่การนอนกรนนั้นไม่ได้ส่งผลเสียกับคู่นอนของคุณเท่านั้น แต่นักวิจัยยังได้เผยอีกว่าผู้ที่นอนกรนนั้นมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆ สูงกว่าคนทั่วไปอีกด้วย!! นักวิจัยจากโรงพยาบาล Henry Ford เผยว่าการนอนกรนนั้นจะทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ โดยพวกเขาพบว่ามันมีความเกี่ยวข้องกับความหนาของผนังหลอดเลือดแดง ความหนาของผนังหลอดเลือดนี้เป็นเหมือนสัญญาณของโรคหลอดเลือดตีบ ซึ่งจะทำให้การไหลเวียนของเลือดลำบากยิ่งขึ้น จนนำไปสู่ความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke นั่นเอง และไม่เพียงแค่ผู้ที่นอนกรนเท่านั้นที่จะมีความเสี่ยงที่ผนังหลอดเหลือดจะหนาตัวขึ้น แต่คนที่สูบบุหรี่ มีสภาวะน้ำหนักเกิน และมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของความดันรวมถึงคอเลสเตอรอลก็เข้าข่ายในความเสี่ยงเช่นกัน นายแพทย์ Robert Deeb หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่า “การกรนนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาเพราะอาจะมีความเสี่ยงหยุดหายใจขณะนอนหลับได้ รวมถึงความเสี่ยงของความดันโลหิตสูง และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือดเช่นกัน” จากการรายงานของสื่อต่างประเทศเผยว่า งานวิจัยชิ้นนี้เป็นผลงานชิ้นแรกที่มีแสดงให้เห็นหลักฐานของการนอนกรนและความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด จากการวิจัยดังกล่าวยังพูดถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างโรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ หรือ OSA ที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน มะเร็ง หรือเสื่อมสมรรถภาพเพศ ทั้งชายและหญิงอีกด้วย นอกจากนี้งานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Harvard ยังได้เผยอีกว่าโรคหยุดหายใจขณะนอนหลับนั้นมีความเกี่ยวข้องกับพัฒนาการการรับรู้ของผู้ที่มียีน Apolipoprotein E ที่จะทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์อีกด้วย ยังไม่หมดเพียงเท่านั้นการนอนกรนยังส่งผลกระทบถึงปริมาณออกซิเจนในเลือดที่ลดลงและทำให้ง่วงนอนตอนกลางวันอีกด้วย ศาสตราจารย์ Susan Redline จากสถาบันการแพทย์ของมหาวิทยาลัย Harvard กล่าวว่า “จากการศึกษาของเราพบหลักฐานที่ยืนยันได้ว่าการนอนกรนนั้นมีส่งผลเสียต่อความเร็วในการประมวลผลและความจำ ซึ่งสามารถพยากรณ์ได้ว่ามันเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจที่ลดลง การรักษาอาการนอนกรนนั้นจะช่วยป้องกันความเสี่ยงของโรคสมองเสื่อมด้วย”…
-
ลูกสาวโพสต์ภาพ งานถักของแม่ในภาพเดียว อธิบาย ‘โรคอัลไซเมอร์’ ที่คุณแม่เธอต้องประสบ…
โรคอัลไซเมอร์ คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับสมองที่เสื่อมลงไป ทำให้ผู้ป่วยมีอาการสูญเสียความทรงจำ รู้สึกสับสน และมีปัญหาในการสื่อสาร และอาการจะหนักขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป และภาพที่ได้ถูกโพสต์ลงใน Reddit ก็คือตัวอย่างของอาการที่เริ่มแย่ลงไปเรื่อยๆ ของคุณแม่ท่านหนึ่ง ภาพนี้ถูกโพสต์ลงไปโดยลูกสาวของเธอ Sara Wuillermin เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2017 เธอต้องการให้ทุกคนได้รับรู้ว่าอาการป่วยของโรคดังกล่าวส่งผลกับการใช้ชีวิตของแม่เธอมากขนาดไหน เธอได้อธิบายเกี่ยวกับภาพนี้เอาไว้ว่า “แม่ของฉันเก่งในการถักโครเชต์มาโดยตลอด จนกระทั่งเธอถูกวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ตอนอายุได้ 54 ปีหลังจากนั้นมาหลายๆ อย่างในชีวิต รวมถึงผลงานการถักโครเชต์ก็เปลี่ยนไป” คุณหมอผู้วินิจฉัยแนะนำให้แม่ของเธอถักโครเชต์ต่อไปเรื่อยๆ แม้จะป่วยเป็นอัลไซเมอร์ก็ตาม นั่นจึงทำให้เราสามารถสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงจากผลงานของเธอที่มีขึ้นในแต่ละปี ยิ่งเวลาผ่านไปความสามารถในการถักก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด คุณแม่ท่านนี้ป่วยมานานกว่า 12 ปี ไม่สามารถจำลูกสาวของเธอหรือแม้แต่การพูดเธอก็ไม่อาจทำได้อีกต่อไปแล้วในปัจจุบัน และถึงแม้ว่าครอบครัวและคนดูแลจะคอยอยู่เพื่อช่วยเหลือชีวิตประจำวันของเธอมาตลอด แต่หมอก็ได้วินิจฉัยออกมาว่าเธอจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีกไม่นาน ลูกสาวเล่าว่า “แม่ของฉันไม่สามารถดูแลตัวเองได้ในชีวิตประจำวันทั้งการแต่งตัว กินข้าว อาบน้ำ หรือแม้แต่การเดินไปไหนมาไหนเพียงลำพัง แต่เธอก็ยังคงมีสุขภาพร่างกายส่วนอื่นที่ยังคงดีอยู่ แต่หมอก็ได้วินิจฉัยแล้วว่าเธอคงมีชีวิตอยู่ต่อได้อีกไม่กี่เดือนหรืออาจจะเป็นปีเท่านั้นเอง” การที่ต้องมีแม่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวทำให้เธอรู้สึกเหมือนกับว่าช่วงชีวิตของเธอทั้งหมดต้องอยู่กับสิ่งสิ่งนี้เสมอ โดยที่เธอไม่ได้รู้สึกชอบมันเลย แต่ถึงอย่างนั้นเธอก็เลือกที่จะเก็บเกี่ยวสิ่งต่างๆ และช่วงเวลาอันมีค่าของแม่เธอเอาไว้ จนถึงวันนี้เธอต้องการที่จะบอกให้ทุกคนที่ดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ว่า ไม่มีใครเลยที่ต้องอยู่คนเดียว…
-
ผลวิจัยชี้ ‘การนอนหลับไม่เพียงพอ’ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็น ‘โรคสมองเสื่อม’ มากขึ้น!!
อย่างที่รู้ๆ กันดีว่า การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการมีสุขภาพแข็งแรง แต่ในขณะเดียวกันถ้าหากว่าละเลยเรื่องนี้ไป ก็อาจทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกัน!! เรื่องต่อไปนี้อาจจเป็นข่าวร้ายสำหรับบุคคลที่นอนดึกตื่นเช้า หรือนอนหลับในระยะเวลาที่น้อยเกินไป เพราะเมื่อไม่นานมานี้ได้มีรายงานว่าการนอนหลับไม่เพียงพอนั้นจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคความจำเสื่อม การนอนหลับไม่เพียงพอหรือการนอนไม่เต็มอิ่มนั้น อาจทำลายความจำระยะสั้นและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ อีกหลายชนิด ซึ่งการศึกษาดังกล่าวนั้นถูกตีพิมพ์ในวารสาร Neurology โดยนักวิจัยได้ทำการศึกษาและพบว่า ผู้ใหญ่ในช่วงวัยกลางคนส่วนมากที่มีการนอนหลับไม่เพียงพอ มักจะมีอาการโรคของความจำเสื่อมในส่วนของ Cerebrospinal fluid จากการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใหญ่อายุเฉลี่ยไม่เกิน 63 ปี จำนวน 101 คน โดยการนำเนื้อเยื่อในส่วนของไขสันหลังมาทำการตรวจหาการสะสมของโปรตีน อาการอักเสบ และเซลล์ที่ได้รับความเสียหาย ซึ่งอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคความจำเสื่อม โดยผู้เข้าร่วมการศึกษาทุกคนจัดอยู่ในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงทั้งปัจจัยทางด้านกรรมพันธุ์ และประวัติครอบครัว แต่ไม่มีปัญหาทางด้านสุขภาพเลย นักวิจัยพบว่าปัจจัยทางด้านอายุนั้นไม่มีผลต่อการสะสมของก้อนโปรตีนดังกล่าว แต่กลับพบว่าการนอนหลับไม่เพียงพอนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดอาการสะสมของโรคนี้แทน การนอนหลับที่ดีนั้นจะช่วยในการซ่อมแซมเซลล์สมอง ด้วยการขจัดสิ่งที่เรียกว่า neurotoxins ออกไป โดยสารพิษพวกนี้ จะมีส่วนที่จะทำให้เกิดการสะสมของโปรตีน ที่นำไปสู่อาการโรคความจำเสื่อมนั่นเอง งานวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่าการนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอนั้นทำเกิดการสะสมของ แอมีลอยด์ บีตา หนึ่งในสารที่พบในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมนั่นเอง รู้แบบนี้แล้วก็อย่าลืมนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอกันด้วยนะครับ… ที่มา businessinsider