Tag: สสาร
-
นักวิทย์ฯ จีนค้นพบวิธีการเปลี่ยน ‘ทองแดง’ เพื่อใช้แทน “ทองคำ” ในแผงวงจร!!
ในวันนี้นักวิทยาศาสตร์ชาวจีนได้ค้นพบวิธีการเปลี่ยน “ทองแดง” ให้กลายเป็นแร่ใหม่ที่มีคุณสมบัติเกือบเหมือน “ทองคำ” เรียกได้ว่าไม่ต่างอะไรกับการเล่นแร่แปรธาตุเลยทีเดียว การวิจัยทดลองครั้งนี้ได้รับการตีพิมพ์ลงวารสาร Science Advances เมื่อวันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม 2018 โดยมีทีมนักวิจัยชาวจีนจากสถาบันฟิสิกส์เคมีต้าเหลียน (DICP) ในวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ เมืองต้าเหลียน มณฑลเหลียวหนิง ประเทศจีน เป็นผู้ดำเนินการ ในรายงานระบุว่า Sun Jian ศาสตราจารย์จาก DICP และคณะผู้ช่วยนั้นสามารถจำลองแร่ธาตุที่มีลักษณะเหมือนทองคำขึ้นได้ด้วยวิธีการยิงแก๊สอาร์กอนที่ร้อนและเต็มไปด้วยประจุไฟฟ้าเข้าใส่ทองแดง วิธีนี้จะทำให้ละอองอนุภาคที่เคลื่อนตัวเร็ว ได้เข้าไปชนกับอะตอมในทองแดงจนแยกออก และเมื่ออะตอมทั้งหมดเย็นลงและควบแน่นอยู่บนพื้นผิว มันก็จะเกิดสสารลักษณะคล้ายเนื้อทรายขึ้นเป็นชั้นบางๆ เม็ดทรายดังกล่าว จะถูกนำไปยังหอเผาไหม้เพื่อใช้มันเป็นตัวทำละลายเปลี่ยนถ่านหินให้กลายเป็นแอลกอฮอล์ และกระบวนการนี้เองที่พิสูจน์ให้เห็นถึงคุณสมบัติที่เปรียบเสมือนเงินหรือทองคำ ในด้านการนำกระแสไฟฟ้าได้ดี อย่างไรก็ตาม ผลการทดลองในครั้งนี้ ไม่ได้มีจุดประสงค์จะผลิตทองคำเพื่อขาย แต่จะมีประโยชน์มากสำหรับอุตสาหกรรมผลิตแผงวงจรไฟฟ้าที่จำเป็นต้องมี “ทองคำ” เป็นส่วนประกอบ นอกจากนี้ทางทีมวิจัยยังกล่าวอีกว่า สสารใหม่ที่เกิดจากทองแดงนี้ยังมีคุณสมบัติต้านทานความร้อน การสูญเสียโมเลกุล และการกัดกร่อน ได้อีกด้วย ที่มา: sciencemag, scmp via nextshark
-
ชั่วโมงวิทย์กับจารย์เหมียว 14 ภาพอันน่าสนใจ จะเป็นอย่างไร เมื่อสสาร 2 ชนิดมาเจอกัน
ในชีวิตประจำวันของพวกเรามีสารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ อย่างเช่นพลาสติกทั้งหลาย เมื่อเจาะลึกลงไปแล้วมันถูกสร้างมาจากสร้างเคมีหลายๆ อย่างนั่นเอง และบางครั้งเมื่อสสาร 2 ชนิดเข้าใกล้กันก็อาจจะทำให้เกิดฏิกริยาเคมีได้ และวันนี้เราก็ได้รวบรวมภาพของการทำปฏิกริยาเคมีระหว่างสสารทั้ง 2 ชนิดมาให้เพื่อนๆ ได้ชมกัน ซึ่งแต่ละชนิดนนั้นก็ไม่ธรรมดาเลย ส่วนจะน่าทึงแค่ไหนนั้นไปชมกันได้เลยจ้า… 1. ปรอทและอลูมิเนียม 2. เทเลือดลงบนไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ 3. เหล็กในสารละลายจุนสี หรือ คอปเปอร์(II)ซัลเฟต 4. โคล่าและคลอรีนผง 5. การตกผลึกของโซเดียมอะซิเตรต 6. ฟอสฟอรัส กับ ออกซิเจน 7. แกลเลียมและกระป๋องอลูมิเนียม 8. p-Nitroaniline และกรดซัลฟิวริกเข้มข้น 9. ปรากฏการณ์ elephant toothpaste ที่เกิดจากไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ โดยมีตัวกระตุ้นคือโพแทสเซียมไอโอไดด์ 10. นี่ก็คือปรกฏการณ์ elephant toothpaste เช่นกัน แต่คราวนี้ใช้ ด่างทับทิมละลายน้ำเป็นตัวกระตุ้นแทน 11. โซเดียมโพลิอะคริเลต (สารดูดซับความชื้น) กับน้ำ 12. แกลเลียมและอินเดียม 13. ไอโซไซยาเนตและโพลีออล…