Tag: สารอาหาร
-
รู้หรือไม่ว่าอาการเหนื่อยล้าของมนุษย์มีทั้งหมด 5 แบบด้วยกัน คุณล่ะเข้าข่ายอันไหนกันบ้าง?
ในชีวิตการเรียนหรือการทำงานก็ตาม “ความเหน็ดเหนื่อย” นั้นย่อมเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่พ้น ซึ่งเมื่อเวลาที่เรารู้สึกเหนื่อยขึ้นมา สิ่งที่เรามักจะทำก็คือล้มตัวลงนอนบนเตียงแสนสบาย แต่หารู้ไม่ว่านอกจากการพักผ่อนแล้ว พลังงานที่เติมเข้าไปในร่างกายเรายังส่งผลถืงการฟื้นฟูความเหนื่อยล้าของเราด้วย Jackie Lynch นักโภชนาการกล่าวกับ Cosmo Australia ว่าสารอาหารที่ร่างกายเรารับเข้าไปนั้นส่งผลถึงความเหนื่อยล้า พร้อมทั้งเผยว่าความเหนื่อยล้าที่สัมพันธ์กับสารอาหารนั้นสามารถจำแนกประเภท ออกมาได้ 5 ประเภทดังนี้ 1. Energy Highs and Lows (พลังงานสูงๆ ต่ำๆ) เมื่อระดับ น้ำตาลในเลือด มีทั้งการเพิ่มขึ้นและลดลงในวันเดียวกันก็จะทำให้เหนื่อยได้ 2. Emptiness (อาการขาด) ระดับ แมกนีเซียม ในร่างกายนั้นส่งผลต่อระบบการทำงานของกล้ามเนื้อและความตึงเครียด หากระดับแมกนีเซียมไม่เหมาะสมอาจจะทำให้เป็นตะคริว ปวดหัว กล้ามเนื้อกระตุก และใจสั่นได้ 3. Lacking Stamina (ไม่มีแรง) อาการเหนื่อยล้าของคุณอาจเกิดจากการที่มี ธาตุเหล็ก ในร่างกายต่ำ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของฮีโมโกลบิน หากมันต่ำลงแล้วจะทำให้รู้สึกหมดเรี่ยวแรง และมักพบในผู้หญิงที่กำลังมีประจำเดือน 4. Reduced Concentration (ไม่มีสมาธิ) อาจเกิดจากการขาด วิตามินบี ที่ช่วยสร้างพลังงาน สาเหตุหลักก็คือ ความเครียดเรื้อรัง และการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้สูญเสียวิตามินบีมาก…
-
เผยงานวิจัยเกี่ยวกับอาหาร ชี้ชัดว่า ‘ชีส’ ส่งผลทำให้มีอาการเสพติดเหมือนกับยาเสพติด
เอ๊ะ!? มันยังไงกันแน่เนี่ย ไหงจู่ๆ ก็มาบอกว่าชีสเหมือนกับยาเสพติด ด้วยความอร่อยและความหอมอันเย้ายวนของมัน ทำให้หลายคนถึงกับพลาดพลั้งรับประทานมันเข้าไป ถึงแม้จะไม่บ่อยแต่ก็ทำให้ย้อนคิดอยากจะกินชีสอยู่เสมอ แน่นอน!! ด้วยความอร่อยของมันปฏิเสธิไม่ได้จริงๆ แหละ โดยมีผลการวิจัยที่ถูกเผยแแพร่ผ่าน U.S. National Library of Medicine (หอสมุดทางการแพทย์สหรัฐฯ) ได้กล่าวเอาไว้ว่าพิซซ่าเป็นอาหารที่มีผู้คนเสพติดมากที่สุด ซึ่งสาเหตุหลักๆ แล้วมาจาก ‘ชีส’ แทบทั้งสิ้น โดยเจ้าชีสผู้ร้ายกาจนี้ ประกอบไปด้วยสารที่ชื่อว่า เคซีน เป็นโปรตีนที่มาจากผลิตภัณฑ์นมทั้งหลายแหล่ มันจะแสดงพลังในตอนที่เราย่อยอาหารและปล่อยสารที่ชื่อว่า Casomorphin ออกมา เข้าไปประกบกับตัวรับสารโดพามีนที่สื่อกับระบบประสาท จนทำให้กลายเป็นสารเสพติดไปโดยปริยาย สั้นๆ ง่ายๆ เลยก็คือ กินแล้วติดใจ อยากจะกินอีก โหยหาชีสอยู่ร่ำไป ไม่ใช่ความผิดของเราหรอก แต่เพราะมันอร่อยต่างหาก!! แต่กินเยอะๆ ก็หยุดได้เหมือนกัน มันเลี่ยน!! เว้นเสียแต่ว่าติดใจรสชีสจริงจัง กินยังไงก็ไม่เลี่ยน ที่มา : thechive