Tag: สินสอด
-
ธุรกิจแนวใหม่!? บริการให้เช่า “ค่าสินสอด” จัดให้ทั้งเงินสด ทองคำแท่ง และรถยนต์สุดหรู
การแต่งงานคงเป็นพิธีที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในชีวิตของใครหลายๆ คน แน่นอนว่า เมื่อเรามีคนรักเราย่อมต้องการที่จะแต่งงานกับคนคนนั้น แต่บางครั้งปัญหามันก็อยู่ที่ “ค่าสินสอด” ที่มีมูลค่าแตกต่างกันไปตามแต่ละครอบครัวของเจ้าสาว บางครั้ง ค่าสินสอดมันก็สูงเกินไปจนทำให้ฝ่ายชายต้องเหนื่อยหน่ายหัวใจ กับการหาค่าสินสอดมาขอลูกสาว สิ่งที่ต้องการก็เพียงแค่จะแต่งงานด้วยก็เท่านั้น… แต่โลกมันเปลี่ยนไปแล้วล่ะ เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2561 เฟซบุ๊กเพจหนึ่งเปิดตัวขึ้นมาดังสนั่นโซเชียล ด้วยการทำธุรกิจ บริการให้เช่าสินสอด จะไม่ดังได้เยี่ยงไรก็เมื่อเล่นมาแหวกแนวขนาดนี้ ธุรกิจชนิดใหม่เอี่ยม ที่จะเสนอบริการให้เช่าค่าสินสอดทองหมั้น ทั้งเงินสด ทองคำ และรถหรู เพื่อใช้ถ่ายภาพ หรือใช้แสดงในงานพิธีวิวาห์ไม่ให้น้อยหน้าใครต่อใคร แล้วถ้าเช่า ราคาจะถูกกว่าซื้อมากไหม? เราลองมาดูอัตราค่าเช่ากัน… – ทองแท่งหนักแท่งละ 10 บาท ค่าเช่าแท่งละ 10,000 บาท – ทองแท่งหนักแท่งละ 50 บาท ค่าเช่าแท่งละ 40,000 บาท – ทองแท่งหนักแท่งละ 100 บาท ค่าเช่าแท่งละ 70,000 บาท –…
-
เทียบค่าสินสอด แม่การะเกด 100 ชั่ง เมื่อเทียบกับเงินสมัยปัจจุบันแล้วเท่ากับเท่าไหร่?
แฟนละครบุพเพสันนิวาสตัวจริงคงจะได้ติดตามกันกับฉากสุดอลังการที่ทุกคนรอคอยนั่นก็คือฉากงานแต่งงานของ แม่การะเกดกับคุณพี่เดช ซึ่งทางผู้สร้างก็ไม่ทำให้แฟนละครผิดหวัง จัดเต็มทุกรายละเอียด ทำให้รู้สึกกับว่าเราได้เข้าไปร่วมงานแต่งจริงๆ กันเลยทีเดียว หนึ่งสิ่งที่เป็นที่น่าสนใจในฉากงานแต่งงานของพระนางที่กลายเป็นข้อสงสัยของชาวเน็ตนั่นก็คือประเด็นของ เงินค่าสินสอดของแม่การะเกด ที่ได้กล่าวกันไว้ว่า ค่าสินสอดนั้นเท่ากับ 100 ชั่ง แล้วถ้าเทียบกับเงินในยุคปัจจุบันจะเท่ากับเท่าไหร่? ค่าสินสอดแม่การะเกด = 100 ชั่ง เทียบตามบัญญัติไตรยางศ์ ค่าเงินยุคกรุงศรีอยุธยา สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช 1 ชั่ง เท่ากับ 20 ตำลึง 1 ตำลึง เท่ากับ 4 บาท 1 บาท เท่ากับ 4 สลึง 1 สลึง เท่ากับ 2 เฟื้อง 1 เฟื้อง เท่ากับ 4 ไพ 1 ไพ เท่ากับ 100 เบี้ย 2 กล่ำ เท่ากับ…
-
ชาวเน็ตจีนอิจฉา… เมื่อสาวแหม่มผมทองชาวยูเครน ตกลงใจแต่งงานหนุ่มจีน ไม่ต้องใช้สินสอด!!
ความแตกต่างทางวัฒนธรรมถือว่าเป็นอะไรที่ต้องปรับตัวกันสุดๆ และในช่วงเวลาปัจจุบันที่เริ่มจะมีแนวคิดใหม่ๆ มาแทนที่แนวคิดเดิม เนื่องจากสภาพสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เป็นที่รู้กันว่าขนบธรรมเนียมการแต่งงานของชาวเอเชียในบางประเทศนั้น ฝ่ายชายจะต้องมีสินสอดไปแสดงต่อครอบครัวฝ่ายหญิง เพื่อทำการสู่ขอตามประเพณีดั้งเดิม แต่ถ้าหากเป็นชาวต่างชาติล่ะ? จะต้องทำอย่างไร อย่างที่ผ่านมาไม่นาน ชาวเน็ตจีนโดยเฉพาะหนุ่มๆ คงจะเกิดอาการรู้สึกอิจฉาพ่อหนุ่มรายนี้ เพราะว่าพี่แกได้แต่งงานกับสาวแหม่มผมทองคนงาม ชาวยูเครน ซึ่งเรื่องที่อิจฉาก็ไม่ใช่เป็นเพราะว่าเธอเป็นฝรั่ง แต่อิจฉาในเรื่องของการเรียกสินสอด เพราะฝ่ายหญิงไม่เรียกเลยแม้แต่แดงเดียว… เรื่องราวความรักระหว่าง Inesa และ He Pingwei เริ่มต้นในช่วงเดือนมกราคม 2016 เมื่อเธอเริ่มทำงานเป็นล่ามในกรุงปักกิ่งและได้พบกับฝ่ายชายเป็นครั้งแรก เธอตกหลุมรักในสเน่ห์ของ He ในทันทีเนื่องจากเขาเป็นผู้ชายที่ใจดี ส่วนฝ่ายชายก็โดนสเน่ห์ความร่าเริงของฝ่ายหญิงเข้ามัดใจเต็มเปา จนในที่สุดก็ตกหลุมรักและไปเที่ยวด้วยกันบ่อยครั้ง และแล้วทั้งสองต่างก็ตกลงปลงใจยกระดับความสัมพันธ์จาก ‘คู่รัก’ ให้กลายมาเป็น ‘คู่ชีวิต’ จดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมายในเดือนตุลาคม 2017 . แต่สิ่งที่ทำให้ชาวเน็ตจีนที่ได้รับรู้เรื่องราวความรักของทั้งสองต้องตะลึงก็คือ ในงานพิธีหมั้นตามประเพณีจีน ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เลย นั่นเป็นเพราะว่าด้วยความแตกต่างทางวัฒนธรรม ทางครอบครัวฝ่ายเจ้าสาวจึงไม่เรียกร้องค่าสินสอดใดๆ คุณแม่ฝ่ายเจ้าสาวบินมาคุยถึงบ้านฝ่ายชาย …
-
ตำรวจจับชายอินเดีย โทษฐานทำร้ายร่างกายภรรยา แต่กลับพบว่าที่จริงเขาเป็นผู้หญิง!?
ในประเทศอินเดียเวลาแต่งงานกันฝ่ายหญิงจะเป็นคนเอาสินสอดให้กับฝ่ายชาย จึงมีบางครั้งที่สามีแต่งงานกับภรรยาเพื่อหวังสินสอด ในกรณีนี้สามีใช้กำลังทำร้ายร่างกายภรรยาจนเธอทนไม่ได้จึงไปขอความช่วยเหลือจากตำรวจ พอจับตัวได้แล้วถึงได้รู้ความจริงว่าที่แท้สามีของเธอนั้นเป็นผู้หญิง!? ผู้เป็นสามีมีชื่อจริงว่า Krishna Sen เธอเป็นหญิงที่มีนิสัยห้าวและอยากเป็นผู้ชายตั้งแต่เด็ก จนเมื่อปี 2013 เธอก็ปลอมตัวเป็นผู้ชายผ่านทางโซเชียลมีเดีย ทั้งยังตัดผมสั้น แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าผู้ชายอยู่เสมอ และเปลี่ยนชื่อเป็น Sweety Sen เพื่อใช้ตัวตนนั้นจีบสาวออนไลน์ด้วย Krishna Sen (ชื่อชาย Sweety Sen) หญิงคนแรกที่ Sen จีบชื่อว่า Kamini เธอเป็นสาวจากเมือง Haldwani รัฐอุตตราขัณฑ์ ประเทศอินเดีย พวกเขาเริ่มติดต่อกันทางโซเชียลมีเดียเมื่อปี 2014 โดยหลอกเธอว่าเขาเป็นลูกชายของนักธุรกิจในเมือง Aligarth รัฐอุตตรประเทศ หลังจากนั้น 3 ปีจึงนัดเจอกันและแต่งงานกันในปีนั้น แต่พอแต่งงานกันได้ไม่นานสามีก็เริ่มมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป ทั้งดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ แถมยังทำร้ายร่างกายเธอเพื่อข่มขู่เอาสินสอดด้วย ฝ่ายเจ้าสาวนั้นก็ดูไม่ออกเลยแม้แต่น้อยว่าสามีไม่ใช่ผู้ชาย ต่อมาในปี 2016 Sen ก็มีภรรยาเพิ่มอีกคนหนึ่งชื่อ Nisha สาวจากเมือง Kaladhungi รัฐอุตตราขัณฑ์ ทว่าหลังแต่งงานกันได้ 2 ปีเธอก็ดูออกว่าสามีของเธอเป็นผู้หญิง Sen จึงเสนอเงินให้กับเธอเพื่อให้เธอปิดเรื่องนี้เป็นความลับต่อไป…
-
หนุ่มจีนต้องยอมเป็นโสด เพราะค่าสินสอดของหญิงสาวแพงเกินไป พุ่งสูงถึง 1 ล้านบาท
ธรรมเนียมสินสอดแต่งงานถือว่าเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมเอเชียมาหลายพันปี โดยหลายๆ ประเทศไม่ว่าจะเป็น ไทย อินเดีย จีน และอื่นๆ อีกหลายประเทศ ก็มีคุ้นเคยกับการเก็บเงินเพื่อไปสู่ขอหญิงสาวมาเป็นภรรยา แต่ล่าสุด ดูเหมือนว่าการเรียกสินสอด จะสร้างปัญหาให้กับหนุ่มชาวจีนเป็นอย่างมาก เมื่อค่าสินสอดพุ่งแตะหลัก 200,000 หยวน หรือราว 1 ล้านบาท จนทำให้หนุ่มๆ หลายคนตัดสินใจยอมเป็นโสดแทน จากการสำรวจของสำนักข่าว People’s Daily ค่าสินสอดโดยเฉลี่ยในปีที่ผ่านมาในมณฑลเหอเป่ย ซานซี ซินเจียง กานซู่ และเขตปกครองตนเองมองโกเลียในอยู่ที่ 200,000 หยวน หรือราว 1 ล้านบาทซึ่งเพิ่มขึ้นถึงสามเท่าจากไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเงินสินสอดดังกล่าวยังไม่รวมกันทรัพย์สินอื่นๆ เช่น แหวน บ้าน รถ และอื่นๆ อีกมากมาย หนึ่งในผู้ใช้งานเว็บไซต์โซเชียลของจีน Weibo จากมณฑลกานซู่ได้เขียนว่า เขาพยายามหาเจ้าสาวมาเป็นเวลากว่า 7 ปี จนกระทั่งเขาได้เจอกับคู่ที่เหมาะสม แต่ครอบครัวเจ้าสาวกลับเรียกเงินกว่า 180,000 หยวน (900,000 บาท)…
-
สาระน่ารู้เรื่องวัฒนธรรม “สินสอด” มาจากไหน ใครให้สินสอดบ้าง แล้วถ้าไม่ให้จะได้ไหม?
เศรษฐกิจยุคนี้มันช่างฝืดเคือง ค้าขายก็ไม่ค่อยจะดี แถมความรักก็ดูจะไปไม่รอด เพราะพ่อตาเล่นเรียกค่าสินสอดซะสูงเหลือเกิน แล้วลูกผู้ชายชนชั้นกลางอย่างเราๆ จะไปหาเงินหลายแสนจากไหนมาแต่งงานดีล่ะน้อ… เรียกได้ว่าวัฒนธรรมการให้สินสอด เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยเรามาอย่างยาวนาน นานซะจนคนรุ่นใหม่อย่างเราๆ บางคนอาจจะไม่เข้าใจว่า มันมีที่มาจากไหน? หรือทำไปเพื่ออะไร? ด้วยความสงสัยดังกล่าว เราจึงไปค้นข้อมูลผ่านอากู๋ผู้รู้ใจ และได้พบว่าอันที่จริงแล้ว วัฒนธรรมสินสอดเนี่ย ไม่ได้มีแค่ในประเทศฝั่งเอเชียอย่างบ้านเราเท่านั้น แต่มันมีมานานมากแล้ว ตั้งแต่สมัยยุคอารยธรรมเมโสโปเตเมีย นู้นแน่ะ นักมานุษยวิทยาชาวฝรั่งเศส Philippe Rospabé ได้ระบุไว้ว่า วัฒนธรรมสินสอดแบบใช้เงินตราเนี่ย เพิ่งปรากฏขึ้นเมื่อช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งมันมาจากรากฐานความคิดเรื่องของความมั่นคงในชีวิตคู่หลังการแต่งงาน และอาจแตกต่างกันไปตามบริบทการเป็นอยู่ของแต่ละสังคม เมโสโปเตเมีย อ้างอิงจากตำราฮัมมูราบี ได้กล่าวไว้ว่า สินสอดในอดีตของวัฒนธรรมชาวเมโสโปเตเมีย นั้นจะถูกกำหนดโดยญาติผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย โดยมีกฏร่วมกันอยู่ว่า ถ้าหากฝ่ายชายมีชู้จะไม่ได้รับค่าสินสอดคืน ยกเว้นก็แต่ว่าพ่อตาจะไม่เอาเรื่อง วัฒนธรรมชาวยิว จากคัมภีร์ฮิบรูของชาวยิวได้มีการกำหนดเรื่องสินสอดไว้ตั้งแต่อดีตกาลนานมาแล้ว โดยมีบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า ‘ชายใดที่เกี้ยวพานราศีกับหญิงบริสุทธิ์ ต้องจ่ายค่าสินสอดทองหมั้น และแต่งงานกับเธอ แต่ถ้าหากพ่อของฝ่ายหญิงปฏิเสธยกลูกสาวให้ ฝ่ายชายต้องจ่ายค่าสินสอดเพื่อชดใช้พรหมจรรย์ที่เสียไป’ กฏของชาวอิสลาม สำหรับวัฒนธรรมการแต่งงานของผู้นับถือศาสนาอิสลามนั้น ได้มีกฏบัญญัติไว้ว่า ฝ่ายชายจะต้องจ่าย ‘มะฮัร’ ซึ่งถือเป็นของขวัญ และสินน้ำใจที่ฝ่ายชายมอบให้ โดยจะแตกต่างจากสินสอด…