Tag: สิ่งพิมพ์

  • ฉันโหยหาอดีตเหลือเกิน!! ย้อนวัยไปกับ 15 ภาพโฆษณาในวัยเด็กที่ไม่อาจหวนคืนมาได้อีก

    ฉันโหยหาอดีตเหลือเกิน!! ย้อนวัยไปกับ 15 ภาพโฆษณาในวัยเด็กที่ไม่อาจหวนคืนมาได้อีก

    ย้อนกลับไปเมื่อยังมีอายุเพียงแค่ 1 หลัก ตอนนั้นดูเหมือนว่าวงการโฆษณาผลิตภัณฑ์ต่างๆ จะดูเรียบง่ายไม่ค่อนซับซ้อนซักเท่าไหร่ แต่กลับทำได้ดีเยี่ยมและน่าจดจำยิ่งนัก คงจะเป็นเพราะว่าเมื่อก่อนโลกยังไม่เปิดกว้างเท่านี้ โฆษณาแต่ละชิ้นไม่ว่าจะผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ก็ดี หรือผ่านโทรทัศน์ก็ดี ความทรงจำเหล่านี้ก็พาให้คิดถึงอดีตซะเหลือเกิน   1. นิโคล เทริโอ บนซิมการ์ด GSM 2 Watt   2. ภาพโฆษณาเป๊ปซี่ The X Venture   3. ไดยาโมโตะ คู่แข่งปีโป้   4. หมากฝรั่ง ซิกเซ้น อยากรู้เคล็ดลับดูในซิกเซ้น (หลอกให้เสีย 10 บาท)   5. ป๊อกโก้ แถมดาวเรืองแสง   6. บะหมี่ Youme KID   7. อร่อย ใหญ่ ยาว ต้อง ช๊อคกี้ใจแอนท์   8. ขนมรูปจระเข้อาบชูรส คร็อกโค…

  • การอ่านหนังสือจากสื่อสิ่งพิมพ์และเครื่องอ่าน Kindle ส่งผลต่อสมองในรูปแบบที่แตกต่างกัน

    การอ่านหนังสือจากสื่อสิ่งพิมพ์และเครื่องอ่าน Kindle ส่งผลต่อสมองในรูปแบบที่แตกต่างกัน

    เป็นที่ทราบกันดีกว่าในยุคสมัยปัจจุบันนี้กลายเป็นยุคที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยี ที่แทบจะเข้ามาแทนที่ทุกสิ่งทุกอย่างไปหมดแล้ว รวมไปถึงการเข้ามามีบทบาทเปลี่ยนแปลงการอ่านของมนุษย์ด้วย ที่เหมียวกำลังจะกล่าวถึงก็คือมนุษย์หันมาอ่านหนังสือผ่านเครื่องอ่านอิเล็กทรอนิคส์มากขึ้น (Kindle และ E-Book)     คุณ Manoush Zomorodi และ Mike Rosenwald ได้ร่วมกันพิสูจน์ถึงผลกระทบของการอ่านหนังสือผ่านเครื่องอ่านอิเล็กทรอนิคส์ ซึ่งทั้งสองคนต่างก็รู้สึกเหมือนกันว่าไม่มีสมาธิที่จะจดจ่อกับการอ่าน ราวกับว่าอ่านตัวหนังสือผ่านเว็บไซต์หรือหน้าฟีดทวิตเตอร์     ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมนุษย์ใช้สมองในส่วนที่แตกต่างกัน จากทั้งการอ่านผ่านหนังสือและหน้าจอ เพราะฉะนั้นการอ่านตัวหนังสือจากหน้าจอจะทำให้มีลักษณะการอ่านแบบ Skimming (อ่านผ่านอย่างรวดเร็ว) คล้ายๆ กับการกวาดตาอ่านเว็บไซต์     Zomorodi กล่าวเสริมเอาไว้ว่า ปัจจุบันผู้คนหันมาอ่านตัวหนังสือผ่านหน้าจอกันมากขึ้น และทำให้ลักษณะการอ่านแบบจดจ่อนั้นค่อยๆ จางหายไป เพราะไม่ได้ใช้งานสมองส่วนที่อ่านหนังสือจากสิ่งพิมพ์เลย     และด้วยปัญหานี้จะทำให้มนุษย์ยุคใหม่มีสมาธิที่สั้นลง ไม่จดจ่อกับสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กๆ ที่โตมากับเทคโนโลยี เพราะฉะนั้นก็ควรที่จะหันมาจับหนังสือจริงๆ แล้วลองใช้เวลากับมันซักพัก วันละ 1 ครั้งก็ยังดี ที่มา : pri, niemanreports, academia