Tag: อาหารขยะ
-
ใครว่า “มังสวิรัติ” ต้องจืดชืด ชาวกินผักร่วมแชร์จั๊งฟู๊ดแบบวีแกน ที่อาจทำให้น้ำลายไหล
มีคนจำนวนไม่น้อยเลยที่เลือกการทานอาหารแบบมังสวิรัติหรือการละเว้นการทานอาหารที่มาจากสัตว์ เน้นการทานผักและผลไม้เป็นหลัก ถือว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย เพราะการทานผักและผลไม้เยอะๆ ทำให้ร่างกายได้รับกากใยอาหารเยอะ ดีต่อระบบขับถ่าย อาหารมังสวิรัติ ไม่จำเป็นว่าจะต้องกินแต่ผักและผลไม้อย่างเดียว ปัจจุบันมีการดัดแปลงให้มีการเสริมโปรตีนเข้าไปด้วยเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารเพียงพอ ทำให้อาหารมังสวิรัติมีความหลากหลายมากขึ้น ผู้ที่ทานอาหารมังสวิรัติต่างก็ภูมิใจและแบ่งปันมื้ออาหารของพวกเขาด้วยการแชร์รูปภาพอาหารที่หน้าตาน่ากินสุดๆ เพื่อลบภาพของความจืดชืดของอาหารมังสวิรัติที่ใครๆ อาจจะคิดว่ามันไม่น่าทานซะเลย เบอร์เกอร์มังสวิรัติจากกรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดนัทมังสวิรัติจากร้านแห่งหนึ่งในกรุงปราก ประเทศเช็กเกีย ไม่มีส่วนผสมของนมหรือไข่ เคบับและนักเก็ตที่ทำเลียนแบบเนื้อจริงๆ ถึงแม้จะดูเหมือนเนื้อ แต่มันก็ไม่ใช่เนื้อ อาหารที่คล้ายกับ Nachos อาหารของเม็กซิโกที่ของดั้งเดิมจะราดชีสหรือครีมรสเปรี้ยว แต่ถ้าเป็นอาหารมังสวิรัติก็ต้องดัดแปลงกันนิดหน่อย เบอร์เกอร์และมันฝรั่งทอด อาการจังค์ฟู้ดแบบมังสวิรัติ แต่ก็ยังดูดีต่อสุขภาพ อาจจะดูเหมือนกับอาหารปกติทั่วไป แต่นี่คืออาหารมังสวิรัติที่มีทั้งไก่(ปลอม) ฮอทดอก หัวหอม ชีส อาหารมังสวิรัติ โรยด้วยชีส หัวหอม พิซซ่าโฮมเมดของวีแกนท่านหนึ่ง เป็นพิซซ่าหน้าอาร์ติโชค ข้าวโพด มะกอก มะเขือเทศ เห็ดและหัวหอม แซนด์วิสมังสวิรัติ มีทั้งขนมปัง ผักชีฝรั่ง อะโวคาโด…
-
Tesco ต่างประเทศเอาจริง เตรียมปรับให้มีอาหารเหลือและสินค้าตกค้างน้อยลงภายในมีนาคม 2018
อาหารหรือสินค้าในห้างเมื่อใกล้หมดอายุแล้ว ทางห้างมักจะเอามาลดราคาแบบถูกมากๆ เพื่อที่จะต้องไม่ทิ้งไปเปล่าๆ แต่หากลดแล้วยังขายไม่หมดอีกก็จำเป็นต้องทิ้งไป แต่ขณะนี้ Tesco ในสหราชอาณาจักรและที่อื่นๆ เตรียมปรับนโยบายอย่างจริงจัง เพื่อไม่ให้มีอาหารเหลือและสินค้าตกค้างในห้าง ทาง Dave Lewis ประธานบริษัท Tesco ได้ขอความร่วมมือจากซูเปอร์มาร์เก็ตในเครือให้ปฏิบัติตามแนวทางของ Tesco และยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเริ่มใช้ภายในเดือนมีนาคมปี 2018 นี้ Lewis ให้สัมภาษณ์กับ Telegraph ว่า “อาหารเหลือถูกพูดถึงมานานหลายปีแล้ว แต่ถ้า Tesco ทำสำเร็จ รวมไปถึงร้านค้าทั่วประเทศ แล้วทำไมทุกคนจะทำไม่ได้?” “ตราบเท่าที่อาหารนั้นมนุษย์บริโภคได้ ผมอยากให้มันไปถึงมือผู้คนมากกว่าการฝังกลบหรือทำเป็นอาหารสัตว์ หรือทำเป็นเชื้อเพลิง” ผู้คนนับพันในสหราอาณาจักรได้ขอรับอาหารจาก Food Banks (ธนาคารอาหารสำหรับผู้ยากไร้) มากขึ้น โดยมีิอัตราเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่า นับตั้งแต่ปี 2012 อย่างไรก็ตามคณะกรรมการด้านสิ่งแวดล้อม อาหารและกิจการชนบทเผยว่าครัวเรือนในสหราชอาณาจักรมีอาหารเหลือทิ้งมากถึง 7.3 ล้านตัน ในปี 2015 ด้วยเหตุนี้ Tesco จึงใช้แอป FoodCloud ที่พัฒนาขึ้นโดยนักศึกษาสองคนที่จบจาก Trinity College…
-
สาวตัดสินใจลดน้ำหนักลงมาจนหุ่นดี หลังแพทย์เตือนว่าจะอยู่ไม่ถึงอายุ 30 ถ้ายังอ้วนอยู่แบบนี้!?
Alice Toleman หญิงสาววัย 23 ปี กลับมารักตัวเองอีกครั้ง หลังจากที่เสพติดอาหารขยะจนอ้วนและถูกแพทย์ตักเตือนว่า เธอจะมีชีวิตอยู่ไม่ถึง 30 ปี หญิงสาวชาวเมิลเบิร์น เปิดเผยการลดน้ำหนักที่น่าทึ่งของเธอจากการชื่นชอบการกินอาหารประเภทจั๊งค์ฟู๊ดมากๆ จนทำให้ร่างกายของเธออ้วนกว่าคนปกติ แต่เธอก็กลับฟิตร่างกายให้กลับมาผอมอีกครั้งได้ ภาพก่อนและหลังที่ Alice จะตัดสินใจลดน้ำหนัก สังเกตว่าหุ่นของเธอลดลงครึ่งหนึ่งเลย Alice เขียนในบล็อกของเธอว่า ครั้งหนึ่งเธอเคยใช้ชีวิตแบบฟุ่มเฟือยมากตั้งแต่ปี 2011 ทั้งกินอาหารประเภทจั๊งค์ฟู้ดรวมไปถึงการดื่มสุราอย่างหนักหน่วง “ฉันชอบนั่งทานอาหารที่ร้านแมคโดนัลด์มากๆ จนเรียกว่าเสพติดแมคโดนัลด์ไปเลยล่ะ และฉันก็ชอบออกไปคลับเพื่อปาร์ตี้กับเพื่อนๆ มันทำให้ฉันมีความสุขมากๆเลยช่วงนั้น” นอกจากแมคโดนัลด์ที่เธอชื่นชอบมากๆแล้วก็ยังชอบซื้อมันฝรั่งทอด ขนมบิสกิต และช็อกโกแลตมาตุนและกินมันทั้งหมดด้วย “สวรรค์ของฉันนั้นประกอบไปด้วยการนั่งๆ นอนๆ อยู่ภายในห้องของฉัน ตื่นมากิน กินแล้วก็หลับไปและฉันเริ่มกลายเป็นเสพติดอาหาร ต้องกินอยู่ตลอดเวลา บางทีต้องโหกพ่อแม่ หรือเพื่อน ปฏิเสธการเข้าสังคมเพื่อที่จะกิน กิน และกินเท่านั้น” “ฉันเริ่มอ้วนจนเริ่มหาเสื้อผ้าใส่ไม่ได้ จนต้องสวมใส่เสื้อผ้าที่สั่งตัดเย็บพิเศษเท่านั้น” แต่หลังจากนั้น ในเดือนมิถุนายน ปี 2015 ชีวิตเธอก็ต้องเปลี่ยน เมื่อเธอได้รับฟังคำวินิจฉัยจากแพทย์ว่า เธอจะมีอายุไม่ถึง 30…
-
ครูใหญ่เขียนจดหมายเตือนพ่อแม่ รับไม่ได้ที่เอา “ฟาสต์ฟู๊ด-อาหารขยะ” ให้ลูกไปกินมื้อกลางวัน
ใครๆ ก็บอกว่าวัยเด็กนั้นเป็นวัยที่กำลังโต อาหารที่เด็กๆ ควรกินก็ต้องเป็นอาหารที่มีประโยชน์ ยิ่งมื้อเช้ามือเที่ยงยิ่งสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อไปโรงเรียนที่ต้องห่ออาหารกลางวันไป พ่อแม่ก็คือตัวช่วยสำคัญที่เตรียมอาหารให้พวกเขา เรื่องนี้เกิดขึ้นที่โรงเรียนโรงเรียนประถมศึกษา Byron ในประเทศอังกฤษ โดยอาจารย์ใหญ่ของที่นี้ได้ให้เจ้าหน้าที่ตรวจกระเป๋าของพวกนักเรียนที่ใส่อาหารมาจากบ้าน ว่าพวกเขาพกอะไรมากินกันบ้างที่โรงเรียน แต่แล้วทางคณะอาจารย์ก็ต้องตกใจเพราะอาหารส่วนใหญ่ที่อยู่ในกระเป๋าของพวกนักเรียนล้วนเป็นอาหารที่ไม่มีประโยชน์เลย ยกตัวอย่างเช่น พ่อแม่ของนักเรียนคนหนึ่งได้แพ็คอาหารให้ลูกมาโรงเรียน เป็นชุดเบอร์เกอร์ของร้านฟาสต์ฟู๊ด แถมยังไม่ใช่อาหารที่ทำใหม่ๆ ด้วยมันเย็นชืดสุดๆ ไม่ใช่แค่เพราะมันเย็นเท่านั้นแต่การให้เด็กๆ วัยกำลังโตกินอาหารจังค์ฟู๊ดทุกวันแต่เด็ก มันล้วนเป็นหายนะอย่างแน่นอน คุณครูยังบอกว่ามีนักเรียนอีกหลายคนที่พ่อแม่จัดชุดอาหารมาให้ทำนองนี้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นอาหารเที่ยงที่เป็น เค้กช็อคโกแลต ช็อคโกแลตบาร์และช็อคโกแลตแซนวิช โดริโทสกับขนมปังแผ่น โยเกิตกับช็อคโกแลตอัดเม็ด จะเห็นได้ว่านอกจากเบอร์เกอร์อันแรกแล้วที่เหลือมันล้วนไม่ใช่อาหารจารหลักเลยด้วยซ้ำ ด้วยเหตุนี้ทางอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียน Jon Carthy ที่รับไม่ได้กับสิ่งที่เกิดขึ้น ได้เขียนจดหมายไปถึงเหล่าผู้ปกครางของเด็กๆ ว่า “ในช่วงเวลา 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีชุดอาหารเที่ยงที่น่าเป็นห่วงจำนวนมากถูกนำมาที่โรงเรียน มันอาจจะฟังดูเหมือนเรื่องตลก แต่ผมอยากจะทำให้มันชัดเจนว่าเรื่องนี้มันเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้” “เด็กๆ ต้องเรียนอย่างหนักที่โรงเรียน ฉะนั้นการทำอาหารที่มีประโยชน์มาให้พวกเขากิน ถือเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมาก เพราะมันจะช่วยให้พวกเขาสามารถมีเรี่ยวแรงเรียนต่อไปได้จนถึงเย็น” นี่คืออาจารย์ใหญ่ Jon Carthy ผู้เป็นห่วงเด็กๆ ของเขา นอกจากนี้เขายังได้แนะนำให้รัฐบาลออกแนวทางแนะนำให้เหล่าพ่อแม่จัดการปัญหานี้อย่างเคร่งครัดโดยการจัดชุดอาหารแบบพื้นฐานให้กับลูกๆ…
-
ซุปเปอร์มาร์เก็ต ‘อาหารเหลือทิ้ง’ สำหรับคนจรจัด จ่ายตามความพอใจ หรือทำงานแลกอาหารก็ได้
ในขณะที่เราได้กินอาหารดีๆ ได้กินเต็มอิ่ม แถมหลายครั้งก็ทานไม่หมด จนต้องเอาไปทิ้ง แต่รู้มั้ย ยังมีอีกหลายคน ที่ไม่มีกิน และเศษอาหารที่เราทิ้งนั่นแหละ อาจเป็นอาหารชั้นเลิศสำหรับพวกเขาก็ได้ ผู้รณรงค์จากโครงการ Real Junk Food หรือจะแปลเป็นไทยก็แนวว่า อาหารขยะจริงๆ ได้เปิดคลังอาหาร ใน Pudsey ที่อยู่ใกล้กับลีดส์ เป็นแนวๆ ร้านคาเฟ่ที่มาในคอนเซป pay as you feel หรือจ่ายเงินตามความพอใจของลูกค้านั่นเอง นั่นหมายความว่า ผู้คนสามารถชำระเงินตามความพอใจของตัวเอง หรืออีกทางหนึ่งคือ อาจจะชำระเป็นแรงงาน ด้วยการช่วยงานตามความสามารถก็ได้ อาหารเหล่านี้ได้มาจากของเหลือทิ้งตามซุปเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ เช่น Sainsbury’s, Morrisons และ Ocado นอกจากนี้ก็ยังได้มาจากธนาคารอาหาร ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ช่างภาพอาหาร และจากงานเลี้ยงต่างๆ Guardian’s Carol Cadwalladr บอกว่า ในแต่ละวันนั้น มีอาหารที่ถูกทิ้งมากมาย แต่ละอย่างก็เป็นอาหารดีๆ ราคาแพงด้วย ไม่ว่าจะเป็นเค้ก Marks & Spencer ช็อกโกแลต Ferrero Rocher องุ่น มะเขือเทศ มันฝรั่งทอดกรอบ…