Tag: เทคนิคถ่ายรูป
-
7 ข้อผิดพลาดที่มักจะเกิดขึ้นเกี่ยวกับเรื่องของ ‘แสง’ ที่ทุกคนควรรู้เอาไว้ จะได้ถ่ายภาพออกมาสวยๆ
เคยไหมเวลาที่เราเข้าไปสตูดิโอเพื่อถ่ายภาพครอบครัว ถ่ายแบบ ถ่ายรูปครึ่งตัว นิ้วครึ่งหรือ 2 นิ้วอะไรก็ตามแต่ แล้วภาพที่ออกมานั้นมันช่างไม่น่าประทับใจเอาเสียเลย วันนี้ ช่างภาพที่มีนามว่า Antti Karppinen นั้นจะมาแชร์วิธีใช้แสง 7 แบบของสตูดิโอที่ไม่สมควรทำอย่างยิ่งในการถ่ายภาพบุคคลหรือที่เขาเรียกกันว่าภาพ Portrait นั่นเอง อีกทั้งยังเสนอวิธีการแก้ไข เผื่อใครสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อให้การถ่ายภาพในสตูโอนั้นสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น 1. แสงจากไฟหลักอยู่ต่ำเกินไป ทำให้เกิดเงาหนาที่สันจมูกและข้างใบหน้า วิธีแก้: ยกไฟหลักขึ้นนิดหน่อย พยายามปรับองศาหน้ากล้อง และดวงไฟให้หันเข้าหานางแบบหรือนายแบบ 45 องศา 2. แสงจากไฟหลักอยู่สูงเกินไป ทำให้เกิดเงาหนาที่เบ้าตา กราม และคาง วิธีแก้: ปรับไฟหลักลงให้พอดี 3. ใช้ไฟลบเงาไม่ถูกต้อง อาจจะวางผิดที่หรือความสว่างไม่ถูกต้อง จนแยกไฟหลักกับไฟลบเงาไม่ออก วิธีแก้: พยายามวางไฟลบเงาให้อยู่ระหว่างกล้องและไฟหลัก โดยสว่างให้แค่พอกลบเงาดำได้นิดหน่อย 4. ใช้ไฟแยกไม่ถูกที่ ทำให้จมูกเกิดแสงและเงาที่ไม่พึงประสงค์ วิธีแก้: วางไฟแยกให้เยื้องไปด้วยหลังนางแบบหรือนายแบบเล็กน้อย เพื่อให้จมูกมีเงาที่ธรรมชาติ 5. แสงจากไฟแยก สว่างจ้าเกินไป จนทำให้มองไม่เห็นรายละเอียดข้างใบหน้า วิธีแก้: ลดความสว่างของไฟแยกลง…
-
อธิบายหลักการ ‘กฎสามส่วน’ อย่างง่ายๆ แนวทางเบื้องต้นสู่การถ่ายภาพอันสมบูรณ์แบบ…
กว่าจะได้รูปถ่ายสวยๆ แต่ละรูป บางครั้งเราก็ต้องถ่ายเป็นสิบครั้งเพื่อให้ได้รูปดีๆ สักรูป โดยเฉพาะรูปอาหาร ที่กว่าจะได้กิน อาหารก็เย็นชืดหมดแล้ว ชีวิตช่างดูลำบ๊ากลำบากจริงๆ แต่ปัญหาการถ่ายรูปไม่สวย รูปดูจืดชืดจะหมดไปเมื่อเรามารู้จักกับ “กฏสามส่วน” เทคนิคการถ่ายรูปแบบง่ายๆ แค่ทำตามอย่างถูกวิธี เท่านี้ก็มีรูปสวยๆ ไปอวดเพื่อนๆ ได้แล้ว กฏสามส่วนคือการแบ่งองค์ประกอบของภาพที่เราจะถ่ายออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆ กัน และมีจุดตัด 4 จุดแบ่งออกเป็น 9 ช่องแบบนี้ เทคนิคกฏสามส่วนนี้ถูกคิดค้นโดยจิตรกรชาวอังกฤษที่ชื่อว่า Sir Joshua Reynolds ที่ได้กล่าวถึงความสมดุลของแสงและองค์ประกอบของรูปภาพและถูกพัฒนามาเป็นระบบกริด อย่างที่พวกเราคุ้นเคยกันอยู่ทุกวันนี้ วิธีการใช้ระบบกริดหรือกฏสามส่วนง่ายๆ เลย ก็แค่เปิดกล้องขึ้นมาแล้วตั้งค่าให้มีเส้นตารางแบบนี้ขึ้นมา (หลายๆ คนคงจะปิดไปตั้งแต่แรกๆ ซะแล้ว) จากนั้นก็โฟกัสไปที่วัตถุที่เราต้องการจะถ่าย โดยนำจุดตัดจุดใดจุดหนึ่งโฟกัสไปที่ตรงกลางวัตถุที่เราต้องการจะถ่าย . เมื่อเราเห็นว่าองค์ประกอบของภาพอยู่ในตำแหน่งที่สวยแล้วก็รัวชัตเตอร์ได้เลย . กฏสามส่วนในการถ่ายภาพแนวนอนและภาพธรรมชาติ เราไม่ควรที่จะยึดติดกับกฎสามส่วนมากจนเกินไป ไม่จำเป็นว่าต้องวางวัตถุให้ได้ตามแนวแบบเป๊ะๆ เลยก็ได้ เพียงแค่ใช้เป็นเฟรมในการถ่ายภาพเบาๆ แค่นี้ก็ได้รูปสวยๆ แล้ว . .…