Tag: เศรษฐกิจ
-
ปัญหาน่าเศร้าของญี่ปุ่น หญิงชราก่อคดีหวังเข้า “คุก” เพราะ ‘ฉันจะไม่โดดเดี่ยวอีกแล้ว…’
ประเทศญี่ปุ่น ถึงแม้ว่าดูจะเป็นประเทศที่เจริญรุ่งเรืองทั้งด้านเทคโนโลยีและวัฒนธรรม แต่เมื่อหลายๆ สิ่งเปลี่ยนไป ประชากรของประเทศกลับต้องประสบปัญหาที่น่าเศร้า… ประชากรในประเทศญี่ปุ่น 27.3 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด เป็นผู้สูงวัยที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และสิ่งที่เป็นปัญหาตอนนี้คือการก่ออาชญากรรมของผู้สูงอายุนั่นเอง จากสถิติแล้วมีการแจ้งความและจับกุมผู้สูงอายุในญี่ปุ่นจำนวนมาก โดยเฉพาะ หญิงชรา ที่มีอัตราการก่อคดีสูงกว่ากลุ่มประชากรอื่นๆ เช่นกัน ราวๆ 1 ใน 5 ของจำนวนนักโทษนั้นเป็นผู้สูงอายุ และส่วนมากนักโทษหญิงสูงวัย 9 ใน 10 คน ถูกระบุว่าต้องโทษคดี ขโมยของในร้านค้า สาเหตุที่พวกเธอต้องลงมือก่อคดี หรือว่าขโมยของ ก็เป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของประเทศญี่ปุ่น จากปี 1980 ที่การดูแลผู้สูงอายุนั้นเป็นหน้าที่สำคัญของครอบครัวและชุมชน เปลี่ยนแปลงมาจนถึงปี 2015 ที่กลับกลายเป็นว่าผู้สูงอายุต้อง อาศัยอยู่ตามลำพังเพิ่มมากขึ้น ราว 6 ล้านคนหรือมากกว่า 6 เท่าเลยทีเดียว จากการสำรวจของรัฐบาลญี่ปุ่นในปี 2017 พบว่าครึ่งหนึ่งของนักโทษหญิงชราในคดีขโมยของนั้นต้อง อาศัยอยู่อย่างโดดเดี่ยว และอีก 40 เปอร์เซ็นต์ไม่มีครอบครัวหรือไม่มีปฏิสัมพันธ์กับเครือญาติ พวกเขาเหล่านี้มักพูดว่า พวกเขาไม่เหลือที่พึ่งอีกแล้วยามที่พวกเขาต้องการความช่วยเหลือ…
-
ระบบเศรษฐกิจประเทศ “วากันด้า” ยั่งยืนจริงหรือ? มาหักล้างด้วยทฤษฎีกันเถอะ
สำหรับแฟนๆ Marvel ทุกคนก็คงได้รับชม Black Panther ในโรงภาพยนตร์เรียบร้อยแล้ว เคยคิดกันไหมว่าระบบเศรษฐกิจของประเทศ Wakanda เนี่ยมันสุดยอดแค่ไหนกัน? แต่เมื่อเทียบกับความเป็นจริงแล้วก็อาจจะผิดหวัง เมื่อระบบเศรษฐกิจของประเทศสุดล้ำนี้อาจแขวนอยู่บนเส้นด้าย พร้อมจะทลายลงมาได้ตลอดเวลา เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าในประเทศ Wakanda นั้นอุดมไปด้วยแร่ Vibranium ที่แข็งแรงและมีมูลค่ามากที่สุดในโลก เพราะว่ามันมาจากนอกโลกนั่นเอง ซึ่งเราก็ได้เห็นความแข็งแกร่งของมันจากหลายๆ เรื่อง ตั้งแต่ร่างกายของ Ultron ร่างกายของ Vision ชุด Black Panther ของฝ่าบาท หรือโล่ของกัปตันอเมริกาที่สามารถรับแรงกระแทกจากค้อนของ Thor ได้อย่างสบายๆ ทำให้แฟนหนังและคอมมิคคิดว่าการที่ทั้งประเทศมีแร่ Vibranium ปริมาณมหาศาลอยู่ในครอบครองนั้นก็คงเป็นเหตุผลที่ทำให้ประเทศมีความร่ำรวย แต่ในความจริงแล้วกลับตรงกันข้ามโดยใช้ทฤษฎี the paradox of plenty มาศึกษา ซึ่งเป็นทฤษฎีที่อธิบายว่าทำไมประเทศที่อุดมไปด้วยทรัพยากรที่มีค่ามาก แต่ดันติดอันดับประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือประเทศซาอุดีอาระเบียที่เป็นประเทศที่ส่งออกน้ำมันมากที่สุดในโลก แต่ก็มีประชาชนจำนวนนับล้านที่อยู่กันอย่างยากจนและมีอัตราการตกงานถึง 12.7% จากจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่มหาศาลเลยทีเดียว จากทฤษฎี the paradox of…
-
5 โปรเจ็คสำคัญ ที่แสดงให้เห็นว่า “ขอนแก่น” กำลังพัฒนาสู่การเป็น Smart City แบบสมบูรณ์!!
วันนี้เราจะขอพาไปเยี่ยมชมโปรเจคที่กำลังจะเกิดขึ้นที่จังหวัดขอนแก่นกันบ้าง โดยโปรเจคทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการพัฒนาจังหวัดซึ่งเกิดจากการร่วมมือกันทั้งภาครัฐและเอกชน ‘Smart City’ คือโครงการที่รัฐบาลต้องการกระจายความเจริญไปตามหัวเมืองต่างๆ ทั่วประเทศ และด้วยความร่วมมือกันกับกลุ่ม KKTT (ขอนแก่นพัฒนาเมือง) ทำให้ตอนนี้ขอนแก่นกลายเป็นอีกหนึ่งจุดยุทธศาสตร์สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นับว่าตอนนี้ขอนแก่นเป็นเมืองที่มีความน่าลงทุนสูงที่สุด ไม่ว่าจะด้วยความพร้อมทางด้านสาธารณสุข การขนส่ง การแพทย์ และรวมไปถึงการศึกษา ขอนแก่นพัฒนาเมือง (KKT) มีความสำคัญอย่างไร? จากจุดเริ่มต้นของปัญหาความเจริญที่กระจุกตัวอยู่ในเฉพาะเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครฯ ทำให้การเบิกงบประมาณเพื่อนำมาพัฒนาจังหวัดเป็นไปได้ยาก ทางเมืองเลยแก้ปัญหากันเอง ด้วยการรวมกลุ่มนักธุรกิจชั้นแนวหน้าจากพื้นที่ขอนแก่นกว่า 20 บริษัท ร่วมกันจัดตั้งเป็นบริษัทเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างจริงจังโดยใช้นามว่า ขอนแก่นพัฒนาเมือง จำกัด และทั้งหมดนี้คือ 5 โปรเจคยักษ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในขอนแก่น เพื่อการพัฒนาเข้าสู่การเป็น Smart City 5. โครงการขยายถนนเพิ่ม โครงการขยายถนนที่จะช่วยให้การเดินทางและการขนส่งในตัวจังหวัดขอนแก่นเป็นไปได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น โดยกรมทางหลวงชนบทได้บรรจุเข้าแผนงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 แล้ว อีกทั้งยังรวมถึงแผนการก่อสร้างอุโมงค์ลอดทางรถไฟ และบริเวณจุดตัดทางรถไฟที่บ้านหนองไผ่ ด้วยงบประมาณทั้งหมด 411 ล้านบาท และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน พ.ศ. 2560 นี้เช่นกัน …
-
สื่อญี่ปุ่นเผย โครงการรถไฟฟ้าสร้างโดยจีนในเวียดนาม ด้อยคุณภาพ ล่าช้าแถมทำงบบาน!!
เมื่อวันที่ 20 กันยายนที่ผ่านมาทางสื่อต่างประเทศอย่าง Nikkei Asian Review ได้รายงานว่าทางรถไฟฟ้ายกระดับแห่งแรกในกรุงฮานอยที่จะมีการเปิดทดลองใช้ในเดือนกันยายนนี้ถูกเลื่อนออกไป หลังจากมีปัญหาในการก่อสร้างกับบริษัทรับเหมาจากจีน เมื่อวันที่ 18 กันยายนที่ผ่านมา ทางการเวียดนามได้ให้สัมภาษณ์กับทางผู้สื่อข่าวว่า โครงการดังกล่าวจะไม่มีการดำเนินการใดๆ จนกว่าทางการจีนจะจ่ายเงินสนับสนุน(ODA) มูลค่า 250 ล้านเหรียญตามที่ให้สัญญาไว้เมื่อปีที่ผ่านมา โดยโครงการดังกล่าวเป็นโครงการรถไฟฟ้าสายแรกในเมืองหลวงของเวียดนาม ซึ่งมีแผนในการสร้างเริ่มต้นที่ปี 2008 และแล้วเสร็จในปี 2013 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 552 ล้านเหรียญโดยมีการกู้เงินจากรัฐบาลจีน 419 ล้านเหรียญ และบานปลายเป็น 868 ล้านเหรียญในปี 2011 โดยโปรเจกต์ดังกล่าวประสบปัญหาต่างๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการเบิกกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลจีนที่มีความซับซ้อนทำให้การก่อสร้างล่าช้า ปัญหาวัสดุด้อยคุณภาพ และความผิดพลาดของแรงงานที่ไม่ได้รับการฝึกฝน ซึ่งตอนนี้ทางเวียดนามได้ประสานไปทางสถานฑูตจีนเพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ตามทางสำนักข่าว Nikkei Asian Review ได้เผยว่าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าในกรุงฮานอยนี้เป็นหนึ่งในโครงการใหญ่ๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีนที่กำลังประสบปัญหา นอกจากนี้ยังมีโครงการอื่นๆ ที่มีปัญหาในลักษณะเดียวกันนี้เช่นกันไม่ว่าจะเป็นโครงการก่อสร้างสนามกีฬาแห่งชาติในกรุงฮานอย โรงเหล็กมูลค่า 360 ล้านเหรียญสหรัฐในเมืองท้ายเงวียน รวมถึงโครงการบำบัดขยะและอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกจำนวนมาก โดยปัญหาต่างๆ เหล่านี้ส่งผลให้ความเชื่อมันของบริษัทรับเหมาต่อจีนในเวียดนามนั้นลดลง และปัจจุบันมีโครงการใหญ่ๆ ถึง 17 โครงการที่ต้องถูกพิจารณาใหม่โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนาม…
-
สื่อนอกเผยไทยคว้าอันดับ 65 จากผลสำรวจ “ประเทศที่มีความทุกข์ยาก” ประจำปี 2017
ในปี 2016 ที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในด้านการเมือง ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก อันมีผลทำให้ดัชนีความทุกข์ยากของประเทศต่างๆ ทั่วโลกในปีนี้มีอัตราเพิ่มสูงขึ้น โดยล่าสุดวันที่ 3 มีนาคม 2560 ทางเว็บไซต์ Bloomberg ได้เผยผลสำรวจดัชนีความทุกข์ยาก หรือ Misery Index ประจำปี 2560 จากทั้งหมด 65 ประเทศพบว่า… ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความทุกข์ยากในลำดับที่ 65 โดยมีคะแนนอยู่ในดัชนีความทุกข์ยากอยู่ที่ 2.6% น้อยที่สุดในผลการสำรวจ (ซึ่งก็เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 1.4% ) ถัดมาคือประเทศสิงคโปร์ 3.1% สวิสเซอร์แลนด์ 3.6% ญี่ปุ่น 3.6% และไอซ์แลนด์ 4.6% ในขณะที่ประเทศเวเนซูเอล่า ที่มีปัญหาในด้านการเมืองและเศรษฐกิจ มีคะแนนอยู่ในดัชนีความทุกข์ยากอยู่ที่ 499.7% ซึ่งนับเป็นประเทศที่มีความทุกข์ยากมากที่สุดในโลกติดต่อกันเป็นปีที่ 3 แล้ว รองลงมาคือ แอฟริกาใต้ 32.2% อาร์เจนตินา 30.9% กรีซ 23.2% และตุรกี…
-
ยลโฉม “Jia Jia” หุ่นยนต์สาวจากจีน งดงามเหมือนคนจริง จนได้ฉายา “เทพธิดาหุ่นยนต์” !!
จีน ถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ขึ้นแท่นมหาอำนาจในด้านการผลิตหุ่นยนต์ เพราะจากที่ผ่านๆ มาเราจะเห็นว่า มีการเปิดตัวหุ่นยนต์สุดอัจฉริยะหลายต่อหลายครั้ง แถมยังมีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ในด้านหุ่นยนต์อยู่ตลอด จนทำให้ประเทศจีนได้กลายเป็นตลาดอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้ประเทศอื่นๆ เลยก็ว่าได้ และล่าสุด เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2560 ทางเว็บไซต์ต่างประเทศได้เปิดเผยโฉมหน้าของ Jia Jia หุ่นยนต์สาวสวยที่ร้อนแรงที่สุดในประเทศจีน ในการจัดการประชุมทางเศรษฐกิจที่เซี่ยงไฮ้ เมื่อวันจันทร์ ที่ 9 มกราคมที่ผ่านมา เรียกได้ว่าการปรากฏตัวของเธอในครั้งนี้ ทำเอาผู้ชมถึงกับตะลึงไปตามๆ กัน เพราะนอกจากความงดงามแล้ว เธอยังเป็นหุ่นยนต์สาวที่เหมือนกับผู้หญิงจริงๆ เป็นอย่างมาก ซึ่งก็ทำให้ผู้ชมพากันจับจ้องเธอในแบบไม่ละสายตาเลยทีเดียว สำหรับ Jia Jia เป็นหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ ที่เคยถูกเปิดตัวมาแล้วก่อนหน้านี้ ซึ่งก็ทำให้เธอได้รับความสนใจจากผู้คนเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะสามารถตอบโต้ และทักทายผู้คนได้เหมือนมนุษย์แล้ว ยังเป็นหุ่นยนต์สาวที่มีทั้งรูปร่างหน้าตาที่สมจริงมาก จนได้รับฉายาว่าเป็น “เทพธิดาหุ่นยนต์” นอกจากนี้ บรรดาหนุ่มๆ ที่ได้เข้ามาร่วมการประชมยังเข้ามาพูดคุย และทักทายกับเธอ ซึ่งทาง Jia Jia…
-
ชีวิตอันขมขื่นของชาวเวเนซูเอล่า เศรษฐกิจล่มสลาย อันตรายจากโจรสลัด และแก๊งมาเฟีย
ถ้าพูดถึงประเทศเวเนซูเอล่า หลายคนอาจนึกถึงดินแดนที่เต็มไปด้วยสาวงาม จนสามารถครองมงกุฎการประกวดนางงามระดับโลกมาได้หลายต่อหลายครั้ง หรืออาจจะนึกถึงประเทศที่มีน้ำมันสำรองมากที่สุด แต่รู้หรือไม่ ตอนนี้ดินแดนแห่งความงามแห่งนี้กำลังประสบปัญหาอย่างหนัก จนแทบกลายเป็นรัฐล่มสลายเลยทีเดียว ปัญหาเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2003 เมื่อ นายอูโก้ ซาเบส หรือ ฮิวโก้ ซาเวส ประธานาธิบดีของเวเนซุเอลาในขณะนั้น ได้ออกนโยบายลดการนำทุนออกนอกประเทศ ด้วยการแบ่งอัตราการแลกเปลี่ยนเงินออกเป็นสามระดับ โดยระดับแรกคือ 6 โบลิวาร์ต่อ 1 ดอลลาร์สำหรับข้าวของจำเป็น ระดับที่สองคือ 12 โบลิวาร์ต่อ 1 ดอลลาร์ สำหรับข้าวของบางอย่างที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาล และระดับสุดท้าย 50 โบลิวาร์ต่อ 1 ดอลลาร์สำหรับบุคคลทั่วไปที่ต้องการแลกเงิน (นายฮิวโก้ ซานเชส อดีตประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งกว่า 16 ปี ก่อนจะเสียชีวิตเมื่อปี 2013 และได้นาย นิโกลัส มาดูโร สิบทอดตำแหน่งจนถึงปัจจุบัน) ด้วยมาตรการนี้เอง ทำให้ข้าวของจำเป็นส่วนมากถูกนำเข้าและขายในราคาที่ถูกเกินจริง จึงมีเหล่าพ่อค้าตลาดมืดลักลอบนำสินค้าจำเป็นเหล่านั้นไปขายในประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากได้ราคาสูงกว่าในประเทศ และด้วยอัตราแลกเปลี่ยนที่ต่ำเตี้ยเรี่ยดินขนาดนี้ ทำเงินโบลิวาร์ไม่ค่อยมีการเคลื่อนย้ายออกนอกประเทศเท่าไหร่ อย่างไรก็ตาม…