Tag: เศษอาหาร
-
‘ปั๊กปั๊ก’ อาหารที่ปรุงจาก “เศษขยะ” เลี้ยงปากท้องคนจนในฟิลิปปินส์ให้อิ่มในราคา 7 บาท
อาหาร คือสิ่งที่จำเป็นที่สุดในการดำรงอยู่ของทุกชีวิต รวมไปถึงเผ่าพันธุ์มนุษย์ด้วยเช่นกัน สำหรับมนุษย์บางกลุ่มอาหารนั้นเป็นสิ่งที่หาได้ไม่ยากนัก แต่ขณะเดียวกันเองก็มีมนุษย์อีกจำนวนไม่น้อยที่ “อาหาร” เป็นสิ่งที่หาได้อย่างยากลำบาก และพวกเขาก็พร้อมจะทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาซึ่งอาหารเลี้ยงปากท้อง ตัวอย่างเช่น “ปั๊กปั๊ก” วิธีการหนึ่งที่ผู้คนในชุมชนสลัมของฟิลิปปินส์ใช้เพื่อเข้าถึงอาหาร ปั๊กปั๊กคือเศษอาหารเหลือจากกองขยะรายวัน ที่ถูกนำมาปรุงใหม่เพื่อขายให้คนจนได้ทานในราคาเพียง 7 บาทเท่านั้น ประเทศฟิลิปปินส์ที่ปัจจุบันมีประชากรมากถึง 100 ล้านคนเข้าไปแล้ว รวมถึงวัฒนธรรมในประเทศที่ผสมผสานอย่างหลากหลายทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวยขนาดใหญ่ กลายเป็น ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ที่ยากเกินจะแก้ไข ผู้คนที่มีอันจะกิน เจียดเงินเพียงเล็กน้อยแลกกับอาหารระดับกลางที่ทานจนเบื่อและบางครั้งก็ทานไม่หมด ของเหลือจากผู้ร่ำรวยเหล่านี้นี่เองที่กลายเป็นอาหารมื้อสวรรค์ของบรรดาผู้ที่ตกอยู่ภายใต้ความยากจนแร้นแค้น ขั้นตอนของการทำปั๊กปั๊กเริ่มขึ้นตั้งแต่หัวค่ำของวัน รถเก็บขยะจะไปรอที่ร้านอาหารต่างๆ รวมถึงร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด เพื่อรีบเก็บขยะจากร้านและนำไปคัดแยก การคัดแยกจะทำจนถึงเช้ารุ่งของอีกวัน ส่วนใหญ่จะคัดเอาพวกกระดูกไก่ที่ติดเนื้อมากกว่าจะเอาเนื้อหมู เพราะพวกเขาคิดว่าเนื้อหมูมีไขมันเยอะและอาจติดโรคได้ง่าย . เมื่อคัดแยกเสร็จแล้วก็นำไปขายให้กับร้านอาหารชุมชน ทางร้านก็จะรีบนำเศษอาหารเหล่านี้ไป “ล้างน้ำเปล่า” ราว 4 รอบจนกระทั่งน้ำล้างไม่ขุ่นมัวและไม่มีเศษดินติดออกมา ล้างเสร็จก็จัดแจงปรุงเป็นเมนูอันโอชะ ทำเป็นสตูว์พื้นเมืองของฟิลิปปินส์ ซอสมะเขือเทศนั้นเป็นสิ่งสำคัญของปั๊กปั๊กเลยก็ว่าได้ ต้องใส้ให้เยอะเข้าไว้เพราะนอกจากจะช่วยให้รสชาติที่ดีขึ้นแล้วยังช่วยกลบกลิ่นต่างๆ ที่ติดมาจากกองขยะอีกด้วย อาหารที่ปรุงเสร็จก็จะออกมามีหน้าตาแบบนี้ นี่แหละที่พวกเขาเรียกกันว่า “ปั๊กปั๊ก” …
-
เชฟมิชลินสตาร์เปิดโครงการ “Refettorio Felix อาหารฟรีจากวัตถุดิบเหลือทิ้ง” เพื่อคนยากไร้ในลอนดอน
ทุกวันนี้คนจำนวนมากกินทิ้งกินขว้างกันจนกลายเป็นเรื่องปกติ แต่ในอีกมุมหนึ่ง ผู้คนจำนวนไม่น้อยที่อดอยากไม่มีกินแม้แต่เศษอาหารเล็กๆ น้อยๆ จนเกิดความไม่สมดุลในสังคม อย่างในปีนี้ที่ลอนดอนมีการทิ้งเศษอาหารมากถึง 540 ล้านกิโลกรัม ในขณะที่คนลอนดอนกว่า 100,000 กำลังตกอยู่ในภาวะขาดแคลนอาหาร ด้วยเหตุนี้เชฟชื่อดังอย่าง Massimo Bottura ซึ่งเป็นเชฟมิชลินสตาร์ จึงพยายามที่จะต่อสู้กับไม่ความสมดุลนี้ ด้วยการทำอาหารให้กับคนยากไร้ได้ทาน ย้อนไปเมื่อ 2 ปีก่อนพ่อครัวชาวอิตาลีได้เปิดครัวชุมชนในเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี โดยเชฟและเพื่อนๆ ได้นำอาหารที่เหลือจากงาน Milan Expo มาปรุงใหม่เพื่อเลี้ยงคนยากไร้ในเมือง ล่าสุดที่ลอนดอนกำลังมีงาน Evening Standard’s London Food Month ซึ่งเป็นเทศกาลอาหาร แน่นอนว่าหลังจบงานแล้ว คงมีเศษอาหารเหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก ทาง Food For Soul ซึ่งเป็นองค์กรของ Bottura จึงได้ร่วมมือกับ The Felix Project องค์กรการกุศลที่รวบรวมอาหารเหลือจากซูเปอร์มาร์เก็ตและสินค้าขายส่ง ทั้งสององค์กรได้นำอาหารเหลือมาเปิดครัวชุมชนใน St Cuthbert’s in Earl’s Court ที่เรียกว่าโครงการ Refettorio Felix โดยได้เช่าพื้นที่ในราคาถูกสำหรับเป็นที่เลี้ยงอาหาร Refettorio Felix ที่ St Cuthbert’s กำลังจะเปิดตัวโดยได้รับการช่วยเหลือจากเพื่อนๆ และอาสาสมัครในชุมชน…
-
Selina Juul หญิงเพียงหนึ่งเดียว ผู้รณรงค์ลดปริมาณเศษอาหาร จนรัฐบาลเดนมาร์กยกย่อง!!
ในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ประเทศเดนมาร์กกลายเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำที่รณรงค์เรื่องการลดปริมาณเศษอาหารของโลก แถมต้นเหตุของเรื่องทั้งหมดยังเกิดโดยผู้หญิงเพียงคนเดียวเท่านั้น Selina Juul คือชื่อของผู้หญิงคนนั้น เธอคนนี้เป็นลูกครึ่งรัสเซีย-เดนมาร์ก โดยเธอได้ย้ายมาอยู่ในเดนมาร์กเมื่อตอนอายุ 13 ปี ซึ่งเธอบอกว่าเธอตกใจมากๆ เมื่อเธอเห็นจำนวนอาหารที่ถูกทิ้งเป็นของเหลือในซุปเปอร์มาร์เก็ต เธอเล่าว่าตอนที่เธออยู่ที่รัสเซีย อาหารเป็นอะไรที่หาได้ยากมากๆ บางวันก็ไม่รู้ว่าจะมีอาหารกินหรือเปล่า แต่พอเธอย้ายมาที่เดนมาร์กเธอเห็นอาหารมีเยอะแยะไปหมดแต่ว่า อาหารเหล่านั้นพอขายไม่หมดก็จะถูกทิ้งอย่างสูญเปล่า ทำให้ในปี 2008 เธอจึงสร้างเพจเฟซบุ๊กขึ้นมาและใช้ชื่อว่า “Stop Spild Af Mad” ซึ่งวิธีที่เธอทำในการลดปริมาณเศษอาหาร เธอเริ่มต้นที่ตัว ซุปเปอร์มาร์เก็ตเป็นอย่างแรก และเริ่มต้นโครงการดังกล่าวที่ต้นเหตุของการทิ้งอาหารนั่นก็คือ “ซุปเปอร์มาร์เก็ต” เป็นอย่างแรก นั่นทำให้ไม่กี่สัปดาห์ต่อมา เธอกลายเป็นบุคคลตัวอย่างของประเทศนี้ทันที เธอทำได้อย่างไร!? Rema 1000 เป็นที่รู้จักกันว่าเป็น ซุปเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่อันดับต้นๆ ของประเทศซึ่งมีสาขามากกว่า 283 สาขาในเดนมาร์ก โดยตอนแรกทางร้านได้ขายของแบบลดราคาเมื่อซื้อจำนวนเยอะๆ ทีนี้พอซื้อเยอะแล้วได้ลด คนก็พากันซื้อปริมาณมากเพื่อหวังส่วนลดนั้น แต่พอ Selina เข้ามารณรงค์ ทางร้านก็ยอมเปลี่ยนเป็นลดราคาชิ้นต่อชิ้นแทน แถมมันยังช่วยได้อย่างเห็นผลเลยทีเดียว Max…