Tag: เหตุการณ์ประวัติศาสตร์
-
ย้อนรอยภาพในอดีตของเมืองปารีส ครั้งน้ำท่วมใหญ่ในปี 1910 ชาวเมืองจะรับมือกันอย่างไร?
เหตุการณ์น้ำท่วม ถือเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่บ้านเราต้องเจอกันบ่อยมากๆ เรียกว่ามีข่าวคราวทุกปี และถึงแม้จะพยายามป้องกันอย่างไรก็ไม่สามารถขจัดปัญหาเหล่านี้ออกไปได้เสียที… นั่นก็ทำให้เราฉุกคิดได้ว่าระบบการจัดการน้ำยังอยู่ในขั้นย่ำแย่ แต่รู้ไหมว่าเมืองใหญ่อย่างปารีสก็เคยประสบกับปัญหาน้ำท่วมหนักมาแล้วเหมือนกัน!? เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในปารีสนั้นถือว่าหาดูได้ยากมากๆ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงท้ายเดือนมกราคมปี 1910 ในช่วงเดือนที่มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องส่งผลให้แม่น้ำ Seine มีระดับน้ำที่สูงขึ้นมาก จนเอ่อล้นออกมาท่วมตัวเมืองในที่สุด ใช่ว่าทุกคนจะมีเรือใช้ ฉะนั้นอะไรที่พอจะลอยได้ก็นับว่าเป็นเรือเช่นกัน ในอดีต ณ ช่วงเวลานั้นปารีสประสบกับเหตุการณ์น้ำท่วมอยู่บ่อยครั้ง แต่สำหรับครั้งนี้มีความร้ายแรงมากกว่าปกติและกินเวลานานนับสัปดาห์เลยทีเดียว ทางด้านระบบระบายน้ำก็ยังไม่ดีพอที่จะถ่ายเทน้ำทั้งหมดออกไปได้ทัน ต่อมาในวันที่ 21 มกราคม 1910 ฝนยังคงตกอย่างต่อเนื่องและระดับน้ำก็สูงยิ่งขึ้นไปอีก ในช่วงเวลานี้นั่นเองที่น้ำเริ่มไหลเข้าท่วมทั้งเมืองรวมไปถึงระบบคมนาคมต่างๆ และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของชาวเมือง ซึ่งทำให้ผู้คนหลายพันชีวิตไม่สามารถจะใช้ชีวตอยู่ในบ้านที่มีชั้นเดียวได้ปกติ รถไฟใต้ดินก็ใช้งานไม่ได้ ห้างร้านต่างๆ ก็ต้องปิดทำการไปโดยปริยาย สังเกตจากการที่ผู้คนหันมาใช้เรือ ทำให้รู้ได้ทันทีว่าน้ำท่วมครั้งนี้หนักหนาแค่ไหน ทางเดินก็ต้องสร้างขึ้นเฉพาะกิจ เพื่อใช้ในการเดินทางไปยังบ้านเรือนหลังอื่นๆ จากปัญหาน้ำท่วมหนักทำให้ผู้คนต้องหันมาใช้เรือในการคมนาคมแทน และต่อมาในวันที่ 28 มกราคม 1910 ระดับน้ำก็เลวร้ายยิ่งขึ้นเมื่อเพิ่มระดับท่วมสูงเป็น 8 เมตรจากระดับน้ำปกติ ทำให้การใช้ชีวิตในเมืองยิ่งทวีความลำบากมากยิ่งขึ้น ความเสียหายที่เกิดขึ้นตีเป็นเม็ดเงินจำนวนกว่า 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราวๆ 5 หมื่นล้านบาท) แม้ค่าความเสียหายจะสูงมากขนาดไหน…
-
รู้จัก “การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่” ของสิ่งมีชีวิตทั้ง 5 ครั้ง ที่เคยเกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์โลก!!
ใครๆ ต่างก็เคยได้ยินเรื่องอุกกาบาตครั้งใหญ่ ที่เป็นสาเหตุให้สิ่งมีชีวิตยุคไดโนเสาร์ต้องสูญพันธุ์ไป แน่นอนว่าหลายคนก็คงจะคิดว่ามันเป็นการสูญพันธุ์เพียงครั้งเดียวที่เคยเกิดขึ้นบนโลกใบนี้ แต่ทว่าจริงๆ แล้วการสูญพันธ์ุนั้นเกิดขึ้นมาแล้วมากถึง 5 ครั้งเลยทีเดียว ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เรารู้ได้ก็มาจากการที่นักวิทยาศาสตร์ได้วิเคราะห์ฟอสซิลจากใต้ทะเล ทำให้พวกเขาพบว่า ก่อนหน้ายุคไดโนเสาร์ ได้มีการสูญพันธ์ของสิ่งมีชีวิตบนโลกมาแล้วมากถึง 4 ครั้ง ว่าแต่จะมีอะไรบ้างเรามาดูกันเลยดีกว่า 1. ช่วง 430-440 ล้านปีก่อน การสูญพันธุ์ยุคแรกรู้จักกันในชื่อว่า ยุคออร์โดวิเชียน (Ordivician) ซึ่งเป็นยุคที่สิ่งมีชีวิตประเภทปะการัง ไบรโอซัว และปลาหมึก อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก พอเข้าสู่ยุคไซลูเรียน (Sulurian) ก็เริ่มมีสิ่งมีชีวิตประเภทปลาที่มีขากรรไกรและสัตว์บกขึ้นเป็นครั้งแรก รวมถึงพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยสปอร์ ส่วนสาเหตุของการสูญพันธุ์คาดว่าน่าจะเกิดจากน้ำทะเลลดระดับลง จากการก่อตัวเป็นก้อนน้ำแข็งยักษ์ และต่อมาน้ำทะเลเพิ่มระดับขึ้นกะทันหัน จากการละลายของก้อนน้ำแข็งขนาดยักษ์ ทำให้สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต 25% ในโลกต้องสูญพันธุ์ไป และคิดเป็น 60% ของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำทั้งหมดเลยทีเดียว 2. ช่วง 364 ล้านปีก่อน ช่วงเวลานี้จะอยู่ในยุคดีโวเนียน (Devonian) ซึ่งเป็นยุคที่อเมริกาเหนือ-กรีนแลนด์ ยังรวมเข้ากับยุโรปอยู่ และเป็นยุคของปลาดึกดำบรรพ์ต่างๆ (แมลงได้เกิดขึ้นครั้งแรกในยุคนี้) แถมพืชจำพวกเมล็ดก็เริ่มขยายพันธุ์ออกไปจนเกิดเป็นป่าขึ้นมา สาเหตุของการสูญพันธุ์ในยุคนี้ยังไม่มีสมมติฐานที่มีน้ำหนักเพียงพอในการสรุปว่าอะไรเป็นสาเหตุกันแน่ แต่ทว่าผลลัพธ์ของเหตุการณ์นี้ทำให้สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ไป 22% ซึ่งคิดเป็น…
-
ย้อนประวัติศาสตร์… 15 ภาพเล่าเรื่องจาก “ค่ายกักกัน” อันโหดร้าย สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ถ้าพูดถึงบุคคลในประวัติศาสตร์ รับรองได้ว่าชื่อของ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำนาซีและผู้อยู่เบื้องหลังการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวจะต้องเป็นชื่อแรกๆ ที่ลอยเข้ามาในหัวอย่างแน่นอน การฆ่าล้างเผา่พันธุ์ชา่วยิวในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น ได้คร่าชีวิตชาวยิวมากกว่า 6 ล้านคน ซึ่งชาวยิวจากทั่วยุโรปจะถูกนำไปยังค่ายกักกัน จากนั้นพวกเขาทั้งหมดก็ถูกนำไปรมแก๊สพิษจนตาย ค่ายกักกันที่แรกก็คือ ค่ายกันกันเบวเชตซ์ ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับเมืองลูบลิน ในประเทศโปแลนด์ ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1942 และนอกจากค่ายกักกันเบวเชตซ์ ยังมีค่ายกักกันอื่นๆ อีกถึง 5 ค่ายเลยทีเดียว แต่ค่ายที่ใหญ่ที่สุดมีชื่อว่า ค่ายกักกันเอาชวิทซ์ ภาพของค่ายกักกันเอาชวิทซ์ ที่ถูกปลดปล่อยเมื่อ 72 ปีที่แล้ว เพียงแค่ค่ายกักกันเอาชวิทซ์เพียงแห่งเดียว ก็พรากชีวิตผู้คนไปถึง 1.1 ล้านคน และเมื่อวันที่ 27 มกราคมที่ผ่านมาก็เป็นวันรำลึกถึงเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นั่นเอง เราเลยจะมาย้อนดูภาพเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นี้กัน ภาพเดินสวนสนามของเหล่าทหาร ที่ถือคบเพลิงไปด้วยด้านนอกประตูบรันเดนบูร์ก ในเบอร์ลิน เพื่อเฉลิมฉลองที่ฮิตเลอร์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี ภาพของทหารชุทซ์ชทัฟเฟิลที่ลำเลียงชาวยิวไปยังค่ายกักกัน ผ่านถนนในเบอร์ลินในปี ค.ศ. 1934 ภาพของชาวโปแลนด์ ที่ถูกสังหารโดยทหารเยอรมัน ในปี…