Tag: โบราณคดี
-
พบโครงกระดูก “แม่มด” ในโปแลนด์ มีรูเจาะเต็มตัวเพื่อป้องกันเธอ ‘ลุกขึ้น’ จากความตาย
เคยได้ยินไหมว่า ตำนานจากยุคกลาง มนุษย์นั้นเคยหวาดกลัว “แม่มด” เป็นอย่างมาก หากหญิงคนใดถูกสงสัยหรือพบว่าเป็นแม่มดแล้วล่ะก็ คนผู้นั้นต้องย่อยยับอย่างแน่นอน ล่าสุดมีคนพบเจอโครงกระดูกอันน่าสะพรึง เมื่อสำรวจดูร่องรอยต่างๆ ทำให้นักโบราณคดีเชื่อว่าเป็นโครงกระดูกของแม่มดอย่างแน่นอน โครงกระดูกดังกล่าวถูกขุดพบที่สุสานในโปแลนด์โดยนักโบราณคดีที่ชื่อว่า Karol Piasecki สภาพของโครงกระดูกพบก้อนอิฐถมทับและมี “รู” ปรากฏขึ้นหลายจุดของโครงกระดูก ทำให้เกิดความคิดว่าชาวบ้านสมัยก่อนกลัวว่าโครงกระดูกที่เชื่อว่าเป็นแม่มดนี้จะลุกขึ้นจากหลุมศพหากไม่ยึดโครงกระดูกให้ติดกับพื้นพร้อมทั้งถมด้วยก้อนอิฐ ใครครั้งแรกที่พบ คิดว่าโครงกระดูกของบุคคลที่ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นแวมไพร์ เพราะถูกฝังไกลออกไปจากสุสานใหญ่ แถมมีร่องรอยของพิธีกรรมสะกดวิญญาณอยู่ด้านบนพื้นดินเหนือหลุมศพนี้ แต่เมื่อตรวจ DNA จากกระดูกของศพแล้วพบว่าเป็นร่างของ “ผู้หญิง” ซึ่งน่าจะมีผมสีบลอนด์และตาสีฟ้า แถมยังเป็นผู้ที่ถูกทรมานอีกด้วย สำหรับประเทศโปแลนด์ หญิงที่ถูกกล่าวว่าเป็นแม่มดมักจะเป็นภรรยาหรือคนรักของบุคคลฐานะมั่งคั่งของสังคม และพวกเธอจะถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มดทันทีหลังจากความสัมพันธ์ของเธอกับสามีย่ำแย่ลง หรือยามที่ผู้คนเกลียดชังพวกเธอมากๆ ร่องรอยที่เป็น “รู” เนื่องจากถูกตอกยึดให้ติดกับพื้น โครงกระดูกนี้เชื่อว่าน่าจะถูกฝังมาตั้งแต่ราวๆ ศตวรรษที่ 16 หรือ 17 Grzegorz Kurka ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ที่เก็บโครงกระดูกนี้เอาไว้กล่าวว่า “ด้วยเหตุผลบางประการ พวกเขาไม่ได้เผาเธอทั้งเป็น แต่กลับฝังเธอเอาไว้ให้เธอไม่สามารถลุกขึ้นมามีชีวิตได้อีก” นอกจากนี้เขายังบอกว่าภายในสิ้นปีนี้จะพยายามค้นพบให้ได้ว่าเจ้าของร่างโครงกระดูกนี้มีลักษณะหน้าตาเป็นอย่างไรกันแน่ โดยใช้เทคโนโลยีการตรวจจับโครงใบหน้าเป็นตัวช่วย ยุคสมัยก่อนมีความเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจที่ค่อนข้างรุนแรงและน่ากลัว จึงไม่แปลกหากหญิงคนใดถูกมองว่าเป็น “แม่มด”…
-
11 ฟอสซิลจากยุคดึกดำบรรพ์ที่ “แปลกและเจ๋งที่สุด” เท่าที่เคยมีการค้นพบมาเลยล่ะ!!
ฟอสซิล ถือเป็นหลักฐานทางโบราณคดีชั้นยอดที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ นักโบราณคดี หรือนักศึกษาซากดึกดำบรรพ์นั้น เข้าถึงใจยุคสมัยแรกเริ่มได้เป็นอย่างดี หลายครั้งที่ฟอสซิลทำให้เราเห็นว่าโลกเราสมัยโบราณนั้นมีสิ่งชีวิตประเภทใดอาศัยอยู่บ้าง และครั้งนี้มันไม่ธรรมดาตรงนี้ เราได้รวบรวมฟอสซิล “สุดเท่” ที่เห็นได้ไม่ง่าย มาให้เพื่อนๆ ได้ชมกัน ไปดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง… 1. ฟอสซิลหางไดโนเสาร์ นี่เป็นฟอสซิลที่หายากที่สุดเลยล่ะ นักวิทยาศาสตร์และนักศึกษาซากดึกดำบรรพ์ ได้แกะรอยไปจนพบกับอัญมณีสีเหลืองน้ำตาล ที่เรียกว่า “อำพัน” ซึ่งมีซากขนนกอยู่ข้างในนั้น จึงเข้าใจได้ว่า ในยุคไดโนเสาร์ มีไดโนเสาร์ชนิดหนึ่งที่มีหางปกคลุมไปด้วยขนคล้ายขนนก ที่มา: http://www.sci-news.com/paleontology/feathered-dinosaur-tail-burmese-amber-04437.html 2. ฟอสซิลวิลอซิแรปเตอร์ที่กำลังต่อสู้กับเหยื่อของมันอยู่ หลักฐานชิ้นนี้กลายเป็นฟอสซิล ขณะที่ไดโนเสาร์วิลอซิแรปเตอร์กำลังโจมตีโปรโตเซอราทอปส์ แต่ดูเหมือนทั้งคู่จะยังไม่รู้แพ้รู้ชนะกัน แรปเตอร์นั้นใช้กรงเล็บแทงไปที่ตัวโปรโตเซอราทอปส์ กลับกันเจ้าโปรโตเซอราทอปส์ ก็ใช้ขากรรไกรอันทรงพลังกัดแขนของแรปเตอร์จนแตกหัก แต่ยังไม่ทันรู้ผลทั้งคู่ก็ต้องตายและกลายเป็นฟอสซิลหลังเนินทรายถล่มลงมาทับร่าง ที่มา: https://www.newscientist.com/article/mg22530090-800-stunning-fossils-dinosaur-death-match/ 3. ปลาผู้ล่าเทอโรแดคทิลลัส ตายขณะคาบเหยื่อ จากตำแหน่งบนฟอสซิล สามารถสันนิษฐานได้ว่า ไดโนเสาร์ชนิดปีกเทอโรแดคทิลลัสกำลังบินลงมาเพื่อหาปลาเล็กเป็นเหยื่อ แต่กลับถูกปลาขนาดใหญ่กระโดดงับ จนทั้งคู่จมลงสู่ใต้ทะเล ที่มา: https://scitechdaily.com/pterosaur-rhamphorhynchus-being-eaten-by-ganoid-fish-aspidorhynchus-fossilized/ 4. การล่าเหยื่อของแมงมุมเมื่อ 100 ล้านปีก่อน ในฟอสซิลอำพัน แมงมุมตัวโตกำลังจับตัวต่อเป็นอาหาร ร่องรอยบนฟอสซิลถูกเก็บไว้อย่างดีในอัญมณียางไม้สีเหลืองน้ำตาลที่เรียกกันว่า…
-
นักวิทย์ฯ แก้ไขหน้าตา “บุคคลสำคัญ” ในประวัติศาสต์เสียใหม่ เอาซะหน้าไม่คุ้นเลย!!
บุคคลที่มีอยู่จริงซึ่งได้สร้างวีรกรรมอันน่าจดจำในประวัติศาสตร์ หากเป็นยุคที่ยังไม่มีกล้องถ่ายรูป เราก็ไม่ทราบใบหน้าที่แท้จริงของพวกเขาได้เลย เหล่านักวิทยาศาสตร์และนักโบราณคดีจึงพากันสันนิษฐานใบหน้าของพวกเขาจากหลักฐานที่หลงเหลืออยู่ เช่น กะโหลกศีรษะหรือภาพวาด เป็นต้น แต่วันนี้ ในยุคที่มีวิทยาการสร้างภาพสามมิติเสมือนจริง นักวิทยาศาสตร์และศิลปินทั้งหลายได้วาดภาพใบหน้าของคนดังในประวัติศาสตร์ขึ้นใหม่ อาจลบภาพเดิมๆ ที่เราเคยเห็นกันไปเลยทีเดียว 1. พระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส (ครองราชย์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1589-1610) โดย Philippe Froesch 2. เอวา (Ava) มนุษย์เพศหญิงในยุคทองแดงเมื่อราวๆ 3,700 ปีก่อน โดย Maya Hoole และ Hew Morrison 3. ชายชาวไอร์แลนด์เมื่อ 500 ปีก่อน 4. โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (คีตกวีและนักออร์แกนชาวเยอรมันยุค 1685-1750) โดย Caroline Wilkinson 5. เมอริทามุน คู่สมรสของฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 (2,000 ปีทีแล้ว) โดย University of Melbourne…
-
พบประติมากรรมอูฐอายุ 2,000 ปี บนหน้าผาซาอุดีอาระเบีย ทั้งที่ยังไม่นิยมสลักภาพนูนในช่วงนั้น…
งานแกะสลักรูปอูฐขนาดเทียบเท่าของจริงจากราวๆ 2,000 ปีก่อน ถูกพบเจอ ณ ที่รกร้างแห้งแล้งในทะเลทรายของซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเมื่อเทียบกับยุคที่มันเกิดขึ้นแล้ว มันเป็นประติมากรรมที่มีมาตราส่วนแบบไม่เคยคาดคิดมาก่อน งานชิ้นนี้ถูกพบในเมืองอัลเจาฟ์ ทางตอนเหนือของผระเทศซาอุดีอาระเบีย สถานที่ที่พบเจอถูกเรียกว่า Camel Site ส่วนผู้ที่ค้นพบก็คือทีมนักวิจัย Franco-Saudi แม้งานแกะรูปอูฐนี้ดูไม่สมบูรณ์นัก และถูกสลักบนหินทั้งสามส่วนที่ยื่นออกมาจากหน้าผา กลุ่มนักวิจัยก็สามารถระบุรูปร่างของอูฐได้หลายตัวทีเดียว ถึงกระนั้น เหตุผลที่ผู้สลักเลือกที่จะมาแกะสลักรูปสัตว์ไว้ ณ พื้นที่ห่างไกลแบบนั้น ยังคงเป็นปริศนาที่ต้องสืบหากันต่อไป นักวิทยาศาสตร์เสนอว่าสถานที่แห่งนี้อาจจะเคยเป็นสถานที่สำหรับพิธีการบูชาหรือไม่ก็รูปภาพอูฐเหล่านี้อาจถูกสลักไว้เป็นเครื่องหมายแบ่งเขตแดน มีการศึกษาเกิดขึ้นโดยอิงมาจาก Centre National de la Recherche Scientifique (CNRS) ในฝรั่งเศสและทีมงานจาก Saudi Commission for Tourism and National Heritage (SCTH) ที่เข้ามาสำรวจงานแกะสลักนี้ในปี 2016 และ 2017 นักโบราณคดีชื่อว่า Guillaume Charloux ผู้ที่เป็นวิศกรงานวิจัยของ CNRS ฝรั่งเศสกล่าวว่า “แม้ว่าการกร่อนที่เกิดจากธรรมชาติได้ทำลายภาพอูฐไปส่วนหนึ่ง แต่ด้วยร่องรอยของการใช้เครื่องมือ ที่มีการลงน้ำหนักหลากรูปแบบ ทำให้เราสามารถระบุภาพแกะสลัก และภาพผิวนูนของสัตว์จำพวกอูฐหรือม้าได้” ส่วนหนึ่งปรากฏภาพการพบกันของอูฐหนอกเดียวกับลาซึ่งเป็นสัตว์ที่แทบไม่พบอยู่บนการแกะสลักหิน…
-
ค้นพบเมืองใหญ่ของ “มายา” ที่หายไป บ้าน 60,000 หลัง หรือนครแห่งทองคำมีจริง!?
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานการค้นพบเมืองโบราณ คาดว่าเป็นซากอารยธรรมจากชาวมายาที่เคยยิ่งใหญ่ในอดีต การค้นพบนี้เกิดขึ้นที่ประเทศกัวเตมาลา เมืองแห่งนี้เป็นที่รู้จักในนามของ Tikal, Holmul และ Witzna ถูกค้นพบด้วยการใช้เทคโนโลยีเลเซอร์และโดรน แล้วพบกับเครือข่ายสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ที่ซ่อนอยู่ภายใต้ป่ารกทึบพื้นที่ 2,100 กิโลเมตร การค้นพบครั้งยิ่งใหญ่นี้สำคัญต่อวงการโบราณคดีเป็นอย่างยิ่ง จากหลักฐานที่ได้คือการค้นพบเมืองโบราณที่เคยเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดเมื่อ 1,200 ปีที่แล้ว พบแท่นหินที่เป็นรากฐานของอาคารบ้านเรือนกว่า 60,000 หลัง รวมไปถึงโครงสร้างพีระมิดสูง 7 ชั้น และกำแพงเมือง ป้อมปราการ คูน้ำ ทางยกระดับขนาดใหญ่ โดยคาดว่ามีจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ประมาณ 10-15 ล้านคน อารยาธรรมมายามีความเก่าแก่ราว 3,000 ปี ครอบคลุมพื้นที่อเมริกากลาง ทางตอนใต้ของเม็กซิโกและประเทศกัวเตมาลา รวมไปถึงพื้นที่ใกล้เคียง ทำให้เชื่อว่าชาวมายามีความก้าวหน้าทางด้านวิศวกรรม คณิตศาสตร์ สถาปัตกรรมและดาราศาสตร์ อารยธรรมมายาคืออาณาจักรที่เคยเจริญรุ่งเรืองมากๆ ในอดีต เหล่านักวิจัยพบว่าอาณาจักรมายาที่ถูกค้นพบนี้กว้างและซับซ้อนกว่าที่คาดการณ์เอาไว้อย่างมาก สามารถเทียบเท่าได้กับอารยธรรมกรีกและจีนโบราณได้เลย เทคโนโลยีที่ใช้ในการค้นหาในครั้งนี้คือเทคโนโลยี LiDAR หรือ Light Imaging, Detection And Ranging เป็นการสำรวจด้วยแสงเลเซอร์และโดรน นอกจากนี้เทคโนโลยีนี้ยังถูกนำมาใช้ในการค้นหาทางโบราณคดีอื่นๆ…
-
ตำนานของชาวอารยัน ตัวตนที่แท้จริง กับการถูกลบเลือนหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์
หากพูดถึงชาว “อารยัน” แล้วล่ะก็ หลายท่านอาจะเคยได้ยินชื่อ แต่ก็อาจไม่ทราบว่าแท้จริงแล้วชาวอารยันเป็นใครกันแน่ เพราะปัจจุบันประวัติและจุดกำเนิดของชาวอารยันนั้นถูกบิดเบือนไปมากเหลือเกิน ที่หลายคนเข้าใจก็คือ ชาวอารยันคือชนกลุ่มคนผิวขาว ผมสีอ่อน ตาสีฟ้า และเป็นชนที่อยู่บนวรรณะสูงของอินเดีย ความเชื่อนี้คาดว่าเป็นเพราะจักรวรรดินาซี ที่ได้แพร่ขยายความคิดนี้ออกไปเพื่อใช้เป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อ มีเพียงช่วงศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 เท่านั้นที่ชาวอารยันมีความเท่าเทียบกันกับชาวเยอรมันและชาวนอร์ดิก และก่อนหน้าที่ความเข้าใจเกียวกับชาวอารยันจะถูกบิดเบือน คำว่า “อารยัน” ถูกกล่าวถึงว่าเป็นภาษาโบราณที่ได้เผยแพร่ออกสู่แผ่นดินย่อยของอินเดีย อารยันที่แท้จริง แรกเริ่มเดิมทีชาวอารยันเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีชีวิตอยู่ใน อิหร่าน ช่วงก่อนประวัติศาสตร์ และน่าจะอพยพเข้ามาสู่ตอนเหนือของอินเดียช่วง 1,500 ปีก่อนคริสตกาล ชาวอินเดียในทวีปย่อยเรียกผู้ที่อพยพเข้ามาใหม่ว่า “อารยา” และคำว่า อารยัน หรือ “Aryan” นั้นไปคล้ายกับภาษาเปอร์เซีย “ērān” ที่หมายถึงประเทศอิหร่านอีกด้วย ก่อนชาวอารยันอพยพเข้ามา อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุนั้นรุ่งเรืองมากในประเทศอินเดีย มีศาสนาเกิดขึ้นตั้งแต่ 5,500 ปีก่อนคริสตกาล มีการทำการเกษตรตั้งแต่ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และมีสังคมเมืองตั้งแต่ 2,500 ปีก่อนคริสตกาล และมีช่วงเวลาที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล…
-
นักโบราณคดีค้นพบ “แหล่งล่าสัตว์” ที่มีอายุเก่าแก่ถึง 500,000 ปี พร้อมกับอุปกรณ์หากินจากยุคนั้นเพียบ!!
การค้นพบสิ่งต่างๆ ในโลกของเรานั้นสามารถเป็นหลักฐานซึ่งบ่งบอกอะไรได้หลายอย่าง รวมไปถึงสิ่งที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีตกาลที่มิได้มีผู้ใดจดบันทึกเอาไว้ อย่างเช่นที่ใน อิสราเอล มีการการค้นพบ ‘แหล่งล่าสัตว์’ ของเหล่าบรรพบุรุษของมนุษย์ที่น่าจะมีอายุราวๆ ครึ่งล้านปี เนื่องจากมีการขุดพบ “ขวานหิน” และเครื่องไม้เครื่องมืออื่นๆ นับพันชิ้น ในพื้นที่ก่อสร้างและบริเวณใกล้เคียง มีประกาศจากนักโบราณคดี ในวันที่ 7 มกราคม 2017 ว่าหลังจากที่มีการขุดลงไปในดินเพียง 5 เมตร ก็พบหลักฐานทางโบราณคดี ซึ่งก็คือเครื่องไม้เครื่องมือและขวานหินดังกล่าวที่สามารถสันนิษฐานได้ว่าพื้นที่บริเวณนั้นเคยเป็นดังสถานที่รวมตัวกันของเหล่านักล่าสมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์ราว 500,000 ปีก่อน สถานที่ดังกล่าวตั้งอยู่ที่ Jaljulia ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับเมือง คฟาร์ ซาบา ประเทศอิสราเอล อีกทั้งยังอยู่ใกล้กับถนนสายหลักหมายเลข 6 ที่มีจำนวนรถที่สัญจรไปมามากที่สุดสายหนึ่งอีกด้วย ด้วยความที่ครั้งหนึ่งในอดีตสถานที่แห่งนี้เคยเป็นแม่น้ำ ลำธาร ประกอบกับการขุดพบโครงกระดูกของสัตว์จำนวนมาก นักโบราณคดีจึงสันนิษฐานว่า สถานที่แห่งนี้ต้องเคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ โฮโม อีเร็กตัส ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว “ที่นี่คือทำเลที่เยี่ยมยอดสำหรับมนุษย์” แรน บาร์ไค นักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟกล่าว และยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “ฟลิ้นท์ที่ใช้ทำเครื่องมือไหลมากับแม่น้ำ มีแม่น้ำก็ต้องมีเหล่าสัตว์ ที่นี่มีทุกอย่างที่มนุษย์ยุคนั้นต้องการ” ทำให้นักโบราณคดีเกิดข้อสงสัยว่า มนุษย์ในยุคนั้นน่าจะกลับมาในพื้นที่บริเวณนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีกตามฤดูกาล แรน จึงเสริมว่า…
-
นักโบราณคดีจีนพบฟอสซิลไข่ไดโนเสาร์ที่จีน อายุกว่า 130 ล้านปี ในพื้นที่ของโรงเรียนมัธยม
กลายเป็นข่าวฮือฮาวงการวิทยาศาสตร์กันเลยทีเดียว เมื่อมีรายงานว่านักโบราณคดีชาวจีนกำลังทำการขุดซากฟอสซิลไข่ของไดโนเสาร์ อายุกว่า 130 ล้านปีในสถาพที่สมบูรณ์สุดๆ ที่ถูกพบในเมืองกันเซา ทางตอนใต้ของมณฑลเจียงซี ประเทศจีน การค้นพบครั้งนี้เกิดขึ้นโดยบังเอิญเมื่อวันที่ 25 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยคนงานในเขตก่อสร้างของโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในเมือง ซึ่งเมืองกันเซานั้นถือเป็นหนึ่งในสถานที่ที่มักจะมีการค้นพบซากไดโนเสาร์อยู่บ่อยๆ จากรายงานระบุว่าคนงานได้ค้นพบเจ้าไข่ชนิดนี้โดยบังเอิญในขณะที่กำลังจะทำการระเบิดดิน แต่โชคดีที่หนึ่งในคนงานสังเกตเห็นซากสีดำที่มีความหนามากกว่า 2 มิลลิเมตรที่ติดอยู่ในหิน ก่อนที่จะทำการติดต่อไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจให้มาตรวจสอบวัตถุดังกล่าว จากการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญพบว่าซากสีดำดังกล่าวนั้นคือชิ้นส่วนของเปลือกไข่ไดโนเสาร์ที่มีอายุอยู่ในช่วงยุค Cretaceous ซึ่งเป็นยุคสุดท้ายก่อนที่ไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์ ขณะนี้ไข่ใบดังกล่าวอยู่ในมือของผู้เชี่ยวชาญจากพิพิธภัณฑ์ Dayu และพวกเขากำลังทำการตรวจสอบเพื่อหาความลับของยุคโบราณที่ซ่อนอยู่ภายในไข่ใบนี้ เมืองกันเซาและพื้นที่รอบๆ นั้นเป็นมักจะมีการขุดไข่ของไดโนเสาร์อย่าง Oviraptors อยู่บ่อยๆ เจ้าไดโนเสาร์สายพันธุ์นี้จะมีลักษณะคล้ายกับนกแก้ว นอกจากนี้พวกมันยังมีลักษณะในการฟักไข่คล้ายกับพวกไก่อีกด้วยเช่นกัน ถิ่นกำเนิดของไดโนเสาร์สายพันธุ์นี้อยู่ในแถบมองโกเลียและประเทศจีน ก่อนหน้านี้พวกไดโนเสาร์สายพันธุ์ดังกล่าวที่ถูกค้นพบในเมืองกันเซา ยังมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า Ganzhousaurus หรือ Ganzhou Lizard ตามสถานที่ค้นพบอีกด้วย ไดโนเสาร์สายพันธุ์ Oviraptors หวังว่าการค้นพบครั้งนี้คงจะทำให้เราได้รู้เกี่ยวกับความลับของโลกยุคโบราณที่ซ่อนอยู่ก็ได้นะ!! ที่มา unilad
-
พบจดหมายลับที่เขียนด้วยลายมือจากปี 1777 ซ่อนอยู่ในบั้นท้ายของรูปสลักพระเยซู
ปฏิมากรรมหรืองานศิลปะอื่นๆ อย่างภาพเขียน หรือภาพพิมพ์ในยุคสมัยโบราณนั้น นอกจากจะบ่งบอกถึงความสวยงามของศิลปะในยุคนั้นแล้ว บางครั้งตัวผลงานเองก็อาจจะมีความลับบางอย่างอยู่ในนั้นก็เป็นได้ เหมือนกับรูปสลักพระเยซูอายุกว่า 240 ปีชิ้นนี้ที่มีจดหมายลับซ่อนอยู่!! จดหมายที่เขียนด้วยลายมือจากปี 1777 ฉบับนี้ถูกพบซ่อนอยู่ในรูปสลักพระเยซูโบราณจากประเทศสเปน จดหมายดังกล่าวอยู่ในสถาพสมบูรณ์มากและคาดว่าน่าจะถูกซ่อนไว้โดยนักบวชในสมัยนั้น บริเวณส่วนก้นของรูปสลักที่มีการพบจดหมายฉบับดังกล่าว จดหมายฉบับดังกล่าวถูกเขียนขึ้นโดย Joaquin Minguez และถูกค้นพบโดยทีมซ่อมแซมงานศิลปะจากบริษัท Da Vinci Restauro เนื้อความในจดหมายฉบับดังกล่าวบอกถึงเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 18 อย่างเช่นงานอดิเรกของผู้คน สภาพเศรษฐกิจ การเมืองและศาสนาในสมัยนั้น นอกจากนี้ยังมีเรื่องเกี่ยวกับอาหารการกินอีกด้วย ส่วนก้นของรูปสลักที่ทีมซ่อมแซมงานศิลปะพบกับช่องลับที่บรรจุจดหมายฉบับนี้อยู่ ขณะนี้รูปสลักโบราณชิ้นนี้ถูกเก็บรักษาไว้ที่โบสถ์ Santa Agueda ในเมือง Sotillo de la Ribera ประเทศสเปน “การค้นพบจดหมายที่เขียนด้วยลายมือฉบับนี้ เป็นการค้นพบที่น่าทึ่งมากๆ ” คุณ Efren Arroyo นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นกล่าว จดหมายจากลายมือของนักบวชฉบับนี้ถือเป็นหนึ่งในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ซึ่งจะทำให้นักวิชาการได้เข้าใจถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต และนอกจากนี้ยังมีส่วนหนึ่งของจดหมายที่เขียนเล่าถึงโรคระบาดที่พบได้บ่อยในเมือง รวมถึงนักสู้วัวชื่อดังในสมัยนั้นอีกด้วย จดหมายโบราณฉบับนี้ถือเป็นหนึ่งในข้อความที่คนรุ่นหลังต้องการที่จะบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ กับพวกเรา และนอกจากจดหมายฉบับนี้แล้ว เชื่อแน่ว่ายังมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์อีกจำนวนมากที่กำลังรอให้พวกเราค้นพบ ที่มา unilad
-
ค้นพบ “นครที่สาบสูญ” ของอเล็กซานเดอร์มหาราช อายุกว่า 2,000 ปี ริมทะเลสาบประเทศอิรัก
ถ้าหากใครที่สนใจในประวัติศาสตร์กรีกโบราณ คงจะรู้จักกับอเล็กซานเดอร์มหาราชกันเป็นอย่างดี พระองค์เป็นหนึ่งในจักพรรดิ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ ผู้ขึ้นชื่อทั้งในเรื่องของการรบ และการปกครอง ล่าสุดได้มีการค้นพบที่น่าสนใจเกี่ยวกับมหาราชพระองค์นี้!! นักโบราณคดีชาวอังกฤษได้ค้นพบซากเมือง Qalatga Darband เมืองโบราณอายุกว่า 2,000 ปี ซึ่งเชื่อกันว่าที่นี่ได้สร้างขึ้นโดยอเล็กซานเดอร์มหาราช หลังจากการสำรวจด้วยโดรนในบริเวณทะเลสาบทางตอนเหนือของประเทศอิรัก จากการรายงานของสำนักข่าว The Times นักโบราณคดีจากพิพิธพันธ์แห่งชาติของอังกฤษ ได้เดินทางไปยังสถานที่ดังกล่าวทันที หลังได้วิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมที่บันทึกโดยกองทัพของสหรัฐเมื่อปี 1960 ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้พื้นที่ดังกล่าวจะอยู่ในเขตสงคราม แต่มันก็ปลอดภัยพอที่ทีมสำรวจจะทำการขุดกู้ซากเมืองโบราณดังกล่าวได้ ภาพแผนที่และกราฟฟิคของเมืองโบราณแห่งนี้ คุณ John MacGinnis นักโบราณคดีผู้รับผิดชอบในการขุดซากเมืองโบราณครั้งนี้กล่าวว่า ในอดีตนั้นเมือง Qalatga Darband ถือเป็นหนึ่งเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1 และ 2 เมื่อเริ่มทำการสำรวจและทำการวิเคราะห์ภาพถ่ายจากโดรน ทีมสำรวจพบว่าที่นี่เต็มไปด้วยอาคารและสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ที่ซ่อนตัวอยู่ในทุ่งข้าว วัตถุโบราณของชาวกรีกอย่างเหรียญและรูปปั้น ที่พบในพื้นที่สำรวจ ดอกเตอร์ MacGinnis กล่าวว่า “การสำรวจด้วยโดรนมันได้ผลอย่างยิ่ง มันทำให้เราได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากการสำรวจด้วยโดรนและนำภาพมาวิเคราะห์ เราเห็นความแตกต่างของค่าสะท้อนของสีในช่วงการเจริญเติบโตของพืช” เป็นไปได้ว่าเมือง Qalatga Darband นั้นถูกสร้างขึ้นราวๆ 300 ปีก่อนคริสตกาล ในตอนที่อเล็กซานเดอร์มหาราชยกทัพมาสู้รบกับดาเรียส ไอที่ 3 ก่อนที่จะเอาชนะได้ในศึกที่กอกามีลา…
-
6 การค้นพบทางโบราณคดี ที่พลิกโฉมหน้า “ประวัติศาสตร์” มนุษยชาติไปตลอดกาล!!
การศึกษาด้านโบราณคดีนับว่าเป็นอีกหมวดวิชาที่ค่อนข้างจะสำคัญมากเลยทีเดียว เพราะการย้อนกลับไปศึกษาเรื่องราวในประวัติศาสตร์ มันช่วยทำให้มวลมนุษยชาติรู้จักตัวตนของเราในวันนี้ได้มากขึ้น จากหลักฐานต่างๆที่บรรพบุรุษเคยทิ้งเอาไว้ จะว่าไปแล้วทุกการค้นพบทางโบราณคดี ย่อมมีความสำคัญต่อโลกเราทั้งนั้นแหละ หากแต่วาการค้นพบทั้ง 6 สิ่งนี้ คือเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์เสียเหลือเกิน…. 1. การค้นพบเมืองปอมเปอี ประเทศอิตาลี ในอดีตเคยเป็นเมืองที่รุ่งเรือง แต่ทว่าวันหนึ่งทุกอย่างก็ถูกฝังลงใต้เถ้าถ่านจากภูเขาไฟลึก 20 ฟุต ทำให้เมืองนี้หายไปตลอดระยะเวลา 1,500 ปี ก่อนที่จะถูกค้นพบอีกครั้งในปี 1599 และต้องใช้เวลานานกว่า 150 ปี กว่าจะบูรณะเมืองนี้กลายเป็นอีกสิ่งทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ได้ 2. หีบศพฟาโรห์ทุตอังค์อามุน ประเทศอียิปต์ ปี 1922 นักสำรวจ ‘Howard Carter’ ได้ค้นพบหีบศพของฟาโรห์องค์นี้ หลังจากที่ถูกซ่อนมาอย่างยาวนานถึง 3,000 ปี และคาดว่านี่คือหีบศพที่มีสภาพสมบูรณ์มากที่สุด การค้นพบนี้เองส่งผลให้เรามีองค์ความรู้ที่เข้าใจในวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของชาวอียิปต์โบราณมากยิ่งขึ้น 3. ศิลาโรเซตต้า นี่คือแท่งศิลาจารึกโบราณซึ่งถูกเขียนขึ้นโดยนักบวชชาวอียิปต์โบราณ เพื่อเทิดทูนการขึ้นครองราชย์ของ ‘King Ptolemy V’ ในช่วง 196 ปีก่อนคริสตศักราช โดยศิลาจารึกชิ้นนี้ถูกค้นพบโดยทหารฝรั่งเศสนายหนึ่ง…