Tag: โลกร้อน
-
15 ภาพวาดบนกำแพงสุดเจ๋ง ที่สะท้อนการกระทำของมนุษย์ต่อโลก ธรรมชาติ และสังคม
โลกเราในยุคปัจจุบันได้ฝ่าฟันปัญหาต่างๆ มามากมาย โดยส่วนใหญ่ก็เกิดจาก “ฝีมือของมนุษย์” ที่ทำให้ความเป็นอยู่ของชีวิตตามธรรมชาตินั้นได้เสื่อมลง แต่กลับกลายเป็นเพิ่มพูนความสุขสบายของผู้คน ทั้งนี้เพื่อรักษาโลกใบนี้ รวมไปถึงธรรมชาติ ให้คงอยู่ไปนานๆ จึงมีการรณรงค์และขอร้องให้หยุดทำลายโลกและสังคม แต่ถึงกระนั้น ผู้ที่มีอำนาจเองก็ไม่ได้สนใจที่จะเปลี่ยนแปลง จึงทำให้ผู้ที่มีอำนาจน้อยนิดเกิดการรวมตัวรวมใจกัน ผลักดันให้พฤติกรรมทำลายล้างของมนุษย์เกิดความเปลี่ยนแปลงบ้าง เหล่าศิลปินเองก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ร่วมใจผลักดันการเปลี่ยนแปลงที่ควรเกิดขึ้นเพื่อรักษาโลก ธรรมชาติ และทำให้เกิดสังคมที่น่าอยู่ โดยการสร้างสรรค์ “ศิลปะบนกำแพง” (Graffiti) ที่มีข้อความเสียดแทงใจมนุษย์ที่เห็นแก่ตัว เพื่อให้คนเหล่านั้นได้ฉุกคิดถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมโลก วันนี้ เราจึงรวบรวม 15 ภาพบนกำแพงที่มีทั้งความสวยงาม และเนื้อหาเสียดแทงผู้คนที่ทำลายโลกและสังคมในปัจจุบัน จะมีภาพอะไรบ้าง ไปชมกันเลย… 1. “อย่าเชื่อเรื่องโลกร้อน” ถูกเขียนไว้เพื่อแดกดันขณะที่น้ำกำลังท่วม ซึ่งเป็นสัญญาณว่าโลกกำลังร้อน 2. สวนสาธารณะ (Park) และที่จอดรถ (Parking) เขียนต่างกันนิดเดียว แต่ส่งผลต่อโลกต่างกันอย่างมาก 3. “โลกไม่ได้จะตาย แต่มันกำลังถูกฆ่า และคนที่ฆ่ามันก็คือ ผู้ที่มีทั้งชื่อและที่อยู่” พูดง่ายๆ ก็คือมนุษย์นั่นเอง 4. อุตสาหกรรมต่างๆ กำลังดูดกินชีวิตของโลกอยู่ …
-
หายนะแห้งแล้งกำลังมาเยือน Cape Town เทียบจากภาพถ่ายดาวเทียมตั้งแต่ 2011 จนถึงตอนนี้…
แม้ในปัจจุบันเทคโนโลยีกำลังก้าวไปข้างหน้า แต่ธรรมชาติกลับสวนทางกับความก้าวหน้าของมนุษย์ เพราะปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติและภูมิประเทศมากมายเริ่มจะเสื่อมถอยไปเรื่อยๆ ตั้งแต่น้ำแข็งที่ละลายไปจนถึงแม้น้ำที่แห่งเหือด ยิ่งล่าสุดได้มีการเผยแพร่ภาพถ่ายดาวเทียมจากปี 2011 ของเมือง Cape Town ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศแอฟริกาใต้ออกมาเพื่อเทียบกับภาพของปี 2018 ซึ่งผลความต่างที่เราได้เห็นนั้นเล่นเอาหลายคนอึ้งไปตามๆ กัน ภาพแรกนั้นมาจากเดือนมกราคมปี 2011 ซึ่งเราจะเห็นว่าตัวเมืองและทะเลสาบยังมีน้ำและความอุดมสมบูรณ์เต็มไปหมด ตัวภาพยังคงโทนสีเขียวไว้อย่างชัดเจน กลับกันในปี 2018 เดือนเดียวกัน ภาพกลับเปลี่ยนโทรสีไปอย่างชัดเจน ทะเลสาบที่เคยมีน้ำอยู่เต็มก็เริ่มจางหายไปจนแทบจะมองไม่เห็นแล้ว ดั่งที่เห็นจากภาพ ตัวทะเลสาบดังกล่าวเคยมีบริมาณน้ำที่มากถึง 126 ล้านแกลลอน แต่ปัจจุบันกลับมีปริมาณแค่ 13% จากที่เคยมีทั้งหมด ในปี 2015 หลายๆ จุดในเมืองก็ยังคงมีสีเขียวให้เราได้เห็นอยู่เยอะพอสมควร ต่อมาในปี 2016 สถานะการณ์รอบตัวเมืองก็ดูเหมือนจะดีขึ้น แต่ว่าน้ำกลับแห้งลงอย่างเห็นได้ชัด จนกระทั่งช่วงปลายปี 2017 น้ำในทะเลสาบเริ่มหายไป อาจจะด้วยการสูบน้ำไปทำเกษตรกรรม หรืออะไรก็ตาม ซึ่งมันดันไปส่งผลระยะยาวให้กับปี 2018 ดังที่เห็นข้างบน ทางการได้คาดการว่าจะเกิดเหตุการณ์ Day Zero…
-
ค้างคาวนับพันตัวตกลงมาตายจากท้องฟ้าในออสเตรเลีย หลังจากประสบกับอากาศร้อนเกินไป
ไอความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงทะลุสถิติได้แผ่กระจายไปทั้งเมืองซิดนีย์เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา คร่าชีวิตค้างคาวนับพันตัว เนื่องจากอากาศร้อนจนเกินไป หลายตัวได้ตกลงมาบนพื้น และหลายตัวยังคงค้างอยู่บนต้นไม้ ภาพอันน่าหดหู่ของกองศพค้างคาวนั้นถูกแชร์ไปยังโลกออนไลน์โดยกลุ่มอาสา Wires and Help Save the Wildlife and Bushlands ที่พยายามช่วยชีวิตสัตว์ให้เยอะที่สุดอย่างสุดความสามารถ จากการที่พื้นที่ส่วนนั้นกลายเป็นส่วนที่ร้อนที่สุดบนโลก ทีมช่วยเหลือจาก North Western Sydney Wires ก็ได้ทำงานกันอย่างไม่หยุดหย่อน ร่วมกับอาสาสมัครจาก Sydney Wildlife แต่โชคร้าย แม้ว่าทีมช่วยเหลือจะพยายามกันอย่างสุดความสามารถ ก็ไม่สามารถช่วยชีวิตเหล่าค้างคาวได้ทันเวลา โพสต์ในเฟซบุ๊กของ Wires กล่าวว่า “ภาวะความเครียดของสัตว์จากความร้อนนั้นได้คร่าชีวิตค้างคาวแม่ไก่ไปหลายร้อยตัวที่ Campbelltown ในช่วงกลางวันของเมื่อวาน และแคมป์ที่สวน Parramatta ก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน” โดยสรุปแล้ว การเสียชีวิตจำนวนนับร้อยของค้างคาว ทำให้เป็นวันที่ยากเย็นและน่าหดหู่สำหรับทีมช่วยเหลือ ซึ่งพวกเขาก็ต้องทนทรมานจากความร้อนที่มีอุณภูมิสูงถึง 45 องศาด้วยเช่นกัน การกระทำโดยไม่หวังผลตอบแทนของเหล่าจิตอาสานี้ก็ได้รับการยกย่องจากกลุ่มคนรักสัตว์ในช่องคอมเมนต์มากมาย เช่น “มันน่าใจสบายมากๆ ขอบคุณทุกๆ คนที่อุตสาห์ทนร้อนออกไปช่วยสัตว์เหล่านั้น” “ขอบคุณทุกคนที่ช่วยเหลือและต้องเผชิญกับสถานการณ์อันเลวร้ายของเหล่าค้างคาวที่สวยงาม” การที่อุณภูมิสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อชีวิตมากมายขนาดนี้ อย่าลืมอนุรักษ์ธรรมชาติกันด้วยนะ ที่มา Dailymail
-
คลิปวิดีโอสั้นๆ ที่แสดงให้มนุษย์เราเห็นถึงภัยของ “ภาวะโลกร้อน” ได้อย่างน่าเศร้าใจ…
ปัญหาโลกร้อนหนึ่งในปัญหาที่กำลังลุกลามอย่างหนัก และกำลังส่งผลกระทบต่ออุณหภูมิของโลก แต่นอกจากผลกระทบต่อพวกเราชาวโลกแล้ว ปัญหาดังกล่าวเองก็ยังส่งผลกระทบโดยตรงกับสัตว์ขั้วโลกอย่างพวกหมีขาวอีกด้วย คุณ Paul Nicklen ช่างภาพประจำของ National Geographic ร่วมกับทีมถ่ายภาพยนตร์จาก Sea Legacy ได้ถ่ายทอดเรื่องราวอันแสนเศร้าของเจ้าหมีขาวตัวหนึ่งจากเกาะ Baffin Islands ประเทศแคนาดา ที่กำลังพยายามเอาชีวิตรอดด้วยการหาเศษซากสัตว์จากถังขยะ เจ้าหมีตัวผอมพยายามหาเศษอาหารเพื่อให้มีชีวิตรอด เนื่องจากสภาวะโลกร้อนทำให้แหล่งอาหารของมันลดลงอย่างมาก คลิปวิดีโอดังกล่าวถูกเผยแพร่เมื่อวันที่ 5 ธันวาคมที่ผ่านมา ช่างภาพหนุ่มของเราให้สัมภาษณ์ว่าเขาบันทึกภาพของเจ้าหมีตัวนั้นด้วยความเศร้าและมันช่างเป็นภาพที่น่าหดหู่ใจอย่างมาก “พวกเรารู้สึกหดหู่ใจมาก เราบันทึกภาพของมันด้วยใบหน้าที่เต็มไปด้วยคราบน้ำตา” คุณ Nicklen กล่าว นอกจากสภาพอันแสนน่าหดหู่ของเจ้าหมีที่ผอมเหลือแต่กระดูกแล้ว ในคลิปวิดีโอยังเผยให้เห็นถึงท่าเดินที่แปลกๆ ของมันเนื่องจากอาการบาดเจ็บที่ขาหน้าอีกด้วย เจ้าหมีกำลังคุ้ยหาเศษอาหารจากถังขยะที่ชาวเอสกิโมท้องถิ่นทิ้งเอาไว้ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่กำลังส่งผลกระทบต่อโลกของเรา และภาพของเจ้าหมีจากแคนาดาตัวนี้คงจะบอกเราเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกนี้จากฝีมือของพวกเราได้ไม่น้อยเลยทีเดียว นอกจากนี้ช่างภาพหนุ่มยังได้ให้สัมภาษณ์อีกว่า เขาต้องการที่จะสื่อให้ทุกคนเห็นถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นบนโลกของเรา และมันก็เป็นการทำใจลำบากไม่น้อยที่ต้องยืนถ่ายภาพอันแสนหดหู่นี้อยู่เฉยๆ โดยที่ไม่สามารถยื่นมือเข้าไปช่วยได้ “การที่เราโยนอาหารให้กับมันก็เป็นเพียงแค่การยื้อความทุกข์ให้พวกหมีเท่านั้น และนอกจากนี้การเลี้ยงหมีขาวก็ยังถือเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายในแคนาดาอีกด้วย” ช่างภาพหนุ่มกล่าว และนี่คือคลิปวิดีโอที่จะสื่อให้เราเห็นถึงผลกระทบจากการละเลยเรื่องสิ่งแวดล้อม ที่มา nationalgeographic
-
Costa Rica ตั้งเป้าจะเป็นประเทศแรกที่ “แบนการใช้พลาสติก” เพื่อลดปัญหาโลกร้อน
ปัญหาสภาวะโลกร้อนนั้นถือเป็นปัญหาระดับโลก ที่ตอนนี้ทุกชาติและทุกภาคส่วนต้องช่วยกันแก้ไข แน่นอนว่าหลากหลายชาติก็มองเห็นพร้อมกับยื่นมือเข้ามาช่วยในหลายส่วนแล้ว แต่สำหรับประเทศ Costa Rica มันสำคัญกว่านั้น เพราะพวกเขาเลงเห็นว่าปัญหานี้มันใหญ่เกินกว่าจะแก้ทีละนิด ด้วยเหตุนี้จึงทำให้นายกกระทรวงสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ออกมาประกาศว่าพวกเขาจะเป็นประเทศแรกที่ยกเลิกการใช้พลาสติก!! อย่างที่เรารู้กันดีว่า พลาสติกนั้นเป็นขยะที่ใช้เวลาในการย่อยนานมากๆ และมันก็สร้างมลพิษที่เยอะพอสมควรเลย โดยเฉพาะพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งไม่มีการรีไซเคิล ทาง Costa Rica จึงคิดว่าควรจะเร่งดำเนินการดังกล่าวให้ไวที่สุดภายในปี 2021 จากบันทึกได้รายงานว่า ในแต่ละปีประเทศ Costa Rica ได้ผลิตขยะจำนวนมากถึง 4,000 ตัน และ 1 ใน 5 ส่วนของขยะก็ไม่เคยถูกเก็บกวาดเลยแม้แต่ครั้งเดียว ซึ่งมันสร้างปัญหาให้กับธรรมชาติทั้งทะเลและป่าไม้ ด้านทางการก็บอกว่า พวกเขาตั้งเป้าหมายไว้แล้ว ทว่าแค่รัฐอย่างเดียวไม่สามารถจะจัดการปัญหานี้ได้ทั้งหมด เขาจึงต้องขอความร่วมมือจากประชาชนของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง เด็กหรือคนแก่ก็ตาม ทุกคนต้องช่วยกัน ซึ่งถ้าพวกเขาสามารถทำได้จริง ประเทศนี้จะกลายเป็นประเทศผู้นำอันดับต้นๆ ของโลกเลยก็ว่าได้ ฉะนั้นพวกเราก็คงต้องช่วยกันเพื่อให้ไม่น้อยหน้า Costa Rica แล้วล่ะ… ที่มา greenmatters
-
พบภูเขาน้ำแข็งหนักขนาดล้านล้านตัน แยกตัวออกจากทวีปแอนตาร์กติกา จนอดกังวลไม่ได้!!
ทุกวันนี้มนุษย์ส่วนใหญ่ต่างใช้ชีวิตเพื่อบรรลุเป้าหมายของตัวเอง สนใจแต่เรื่องตัวเอง แต่กลับไม่เคยให้ความสำคัญกับโลกเลยว่ามีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง… เราคงจะรู้กันมาบ้างแล้วว่า ตอนนี้ภาวะโลกร้อนกำลังส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติอย่างมาก และล่าสุดนี้ก็ทำให้ภูเขาน้ำแข็งขนาดล้านล้านตัน แยกตัวออกจากทวีปแอนตาร์กติกาแล้ว และมันก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากๆ ภูเขาน้ำแข็งนี้มีขนาดใหญ่เป็น 4 เท่าของกรุงลอนดอน ด้วยขนาด 5,800 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นน้ำแข็งที่รู้จักกันในชื่อ Larsen C ที่ผ่านมานักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Swansea University ได้เฝ้าสังเกตการแบ่งตัวของภูเขาน้ำแข็งเป็นเวลาหลายเดือน และคาดการณ์จากภาพดาวเทียม พวกเขาสามารถระบุได้ว่า ภูเขาน้ำแข็งอาจจะแยกตัวออกจากทวีปแอนตาร์กติกาในช่วงวันที่ 10 ถึง 12 กรกฎาคม 2017 นี้ และแล้วก็เป็นตามการคาดการณ์ ทั้งนี้เป็นเพราะว่าอุณหภูมิได้สูงขึ้นอย่างรวดเร็วในแอนตาร์กติกาฝั่งตะวันตก ทำให้ชั้นน้ำแข็งมีความเปราะบางมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ใช่แค่ภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่เท่านั้น มันยังส่งผลต่อความปลอดภัยในการเดินเรือด้วย เนื่องจากการแยกตัวของน้ำแข็งทำให้ไหลเข้าสู่มหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งอาจทำให้ระดับน้ำในโลกเพิ่มสูงขึ้นอีก 10 เซนติเมตร แน่นอนว่าวิกฤติการณ์นี้ส่งผลต่อถิ่นที่อยู่ของสัตว์โลกบางชนิดด้วย เช่น เพนกวินจักรพรรดิ และอีกไม่นานมนุษย์ก็คงได้รับผลกระทบจากภัยนี้เช่นกัน นี่ไม่ใช่ปัญหาที่จะต้องรอให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งมาจัดการ แต่มันเป็นหน้าที่ของทุกคนในการช่วยปกป้องโลกเพื่อให้กลับมาอยู่ใสภาพเดิม หรืออย่างน้อยๆ ก็ไม่ให้ถูกทำลายไปมากกว่านี้…
-
รวม 23 ภาพหลังคา ‘หญ้า’ สุดงดงามจากสแกนดิเนเวียน ไม่แปลกใจถ้าเห็นวัวปีนขึ้นไปได้!!
‘หลังคาหญ้า’ หนึ่งในวัฒนธรรมที่สนใจของชาวสแกนดิเนเวียน ตอนนี้การทำหลังคาของบ้านให้ปกคลุมด้วยหญ้านั้นกำลังได้รับความนิยมอย่างมาก ถึงขนาดมีการตั้งสมาคมกันเลยทีเดียว หลังคาดังกล่าวนี้นอกจากจะมีความสวยงามแล้ว มันยังช่วยเพิ่มความอบอุ่น ดูดซับน้ำฝน และช่วยทำให้บ้านเย็นในช่วงหน้าร้อน ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและค่าใช้จ่ายของเจ้าของบ้านอีกด้วย ลองไปชมความสวยงามของหลังคาบ้านสีเขียวจากแถบสแกนดิเนเวียน ที่เรานำมาฝากกันวันนี้ได้เลย… 1. Hofskirkja ประเทศ Iceland 2. Thjorsardalur ประเทศ Iceland 3. Skalholt ประเทศ Iceland 4. Vatnajökull Nationalpark ประเทศ Iceland 5. Renndølsetra ประเทศ Norway 6. ประเทศ Norway 7. Saksun Village, Streymoy หมู่เกาะ Faroe 8. Torshavn หมู่เกาะ Faroe 9. Church…
-
โครงการ “จักรยานสาธารณะ” ของรัฐบาลจีน นำไปสู่สุสานจักรยานมากว่า 20,000 คัน
สิ่งที่คุณกำลังจะได้เห็นต่อไปนี้ไม่ใช่งานศิลปะหรือประติมากรรม แต่มันคือสุสานรถจักรยานในเมือง Hangzhou ประเทศจีนต่างหาก!! ภาพถ่ายของจักรยานนับพันที่ถูกนำมาทึ้งไว้ในพื้นที่ว่างของเมืองเหล่านี้ล้วนเป็นจักรยานในโครงการ Bike-Sharing ที่เกิดจากความร่วมือระหว่างรัฐบาลจีและบริษัทเอกชน ซึ่งถูกยึดโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ภาพจักรยานนับพันคันที่ถูกจอดทิ้งไว้ ในสุสานรถจักรยานแห่งนี้… อันที่จริงแล้วโครงการดังกล่าวเป็นความต้องการที่จะลดภาวะมลพิษทางอากาศของรัฐบาลจีน แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จในเมืองนี้ โครงการดังกล่าวเปิดตัวเมื่อปี 2008 ด้วยงบประมาณ 24 ล้านเหรียญหรือประมาณ 814 ล้านบาท โดยประชาชนจะสามารถใช้รถจักรยานยนสาธารณะในการปันไปยังจุดต่างๆ ที่ทางการจัดไว้ให้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย จักรยานที่ถูกนำมาทิ้งที่นี่สวนมากยังอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อยู่ ในตอนแรกนั้นโครงการ Bike-Sharing นี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยสามารถลดปริมาณมลพิษทางอากาศได้มาถึง 110,000 ตันเลยทีเดียว แต่ทุกอย่างกลับล้มเหลวหลังจากการเข้ามาของบริษัทเอกชนและพยายามนำโปรเจกต์ที่เรียกว่า ‘Dockless’ Bikes เข้ามา โปรเจกต์ดังกล่าวจะทำให้ง่ายในการใช้บริการจักรยานสาธารณะ เพราะผู้ใช้สามารถจอดรถไว้ที่ไหนก็ได้และพวกเขาสามารถปลดล๊อคจักรยานได้โดยการแสกน QR โค๊ต แต่ทว่าดูเหมือนข้อดีจะกลายเป็นข้อเสีย เมื่อจักรยานในโปรเจกต์ Dockless กว่า 23,000 คันนั้นจอดในที่ห้ามจอดจึงทำให้ถูกคุณตำรวจมายึดไปไว้ที่สุสานแห่งนี้ หลังจากที่ถูกร้องเรียนจากผู้เดือดร้อน อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวยังคงมีให้บริการในเมือง Hangzhou เพราะรัฐบาลยังคงให้ความสำคัญกับการลดปัญหามลพิษในเมือง อันที่จริงโครงการนี้ก็ถือว่าเป็นโครงการที่ดีทีเดียวเลยหล่ะ…
-
จีนเตรียมสร้าง ‘เมืองป่า’ แห่งแรกของโลกในปี 2020 หวังช่วยลดปัญหามลพิษในอากาศ
ในขณะที่โลกทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลง อาคารบ้านเมืองต่างๆ กำลังขยายตัวขึ้น สิ่งหนึ่งที่ตามมาจากการพัฒนานี้ก็คงหนีไม่พ้นปัญหาด้านมลพิษทางอากาศอย่างแน่นอน และหนึ่งในประเทศที่เรียกได้ว่ามีมลพิษทางอากาศสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลกนั่นก็คือประเทศจีน แต่เมื่อไม่นานมานี้ทางการจีนมีแผนที่จะจัดการกับปัญหาดังกล่าว โดยพวกเขาได้วางแผนสร้างเมืองต้นไม้เพื่อหวังแก้ปัญหามลพิษที่ว่านี้ สำหรับโครงการเมืองต้นไม้นี้ ทางการจีนกำลังวางแผนจะสร้างในเมือง Liuzhou ในเขตปกครองตนเอง Guangxi ซึ่งพวกเขาอ้างว่าเมืองแห่งนี้จะเป็นเมืองแห่งป่าที่แรกของโลกเลยทีเดียว!! การออกแบบดังกล่าวเป็นผลงานของคุณ Stefano Boeri สถาปนิกชื่อดังที่เคยฝากผลงานการออกแบบอาคารต้นไม้ในเมือง Milan มาแล้ว เมืองเล็กๆ แห่งนี้จะมีพื้นที่ในการก่อสร้างทั้งหมดราวๆ 1,750,000 ตารางเมตร และจะประกอบไปด้วยที่พักอาศัยของผู้คนประมาณ 30,000 คน ในเมืองต้นไม้แห่งนี้จะมีการนำพลังงานเชื้อเพลิงที่สะอาดอย่างความร้อนจากใต้พื้นโลก พลังงานแสงอาทิตย์ มาใช้ทดแทนพลังฟอสซิล และนอกจากเมืองดังกล่าวยังเต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายทั้งโรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว และโรงพยาบาล โปรเจกต์ดังกล่าวเป็นหนึ่งในความต้องการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศของรัฐบาลจีน ที่นี่จะเต็มไปด้วยต้นไม้ถึง 40,000 สายพันธุ์มากกว่า 1,000,000 ต้น โดยแต่ละปีต้นไม้เหล่านี้จะช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซน์ได้เกือบ 10,000 ตันและสารพิษอื่นๆ อีก 57 ตัน และนอกจากนี้พื้นที่สีเขียวเหล่านี้ยังสามารถสร้างก๊าซออกซิเจนได้มากถึง 900 ตันต่อปีเลยทีเดียว นอกจากประโยชน์ในเรื่องของการลดปัญหามลพิษและให้ความร่มรื่นกับมนุษย์แล้ว พันธุ์ไม้หลากชนิดในเมืองสีเขียวแห่งโลกอนาคตนี้ยังอาจช่วยพื้นฟูระบบนิเวศต่างๆ และเป็นที่อยู่ของพวกแมลงและสัตว์ต่างๆ อีกด้วย…
-
ศิลปินถ่ายภาพกับขยะ ที่ไม่ได้ทิ้งมาตลอด 4 ปี สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาขยะล้นโลก!!
เพื่อนๆ เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า ‘ขยะ’ ที่เราใช้แล้วทิ้งกันอยู่ทุกวันนี้ พอเอามารวมๆ กันในช่วงระยะเวลาหนึ่งมันจะมีจำนวนมากขนาดไหนกันนะ!? สำหรับวันนี้ #เหมียวหง่าว จะขอพาเพื่อนๆ ไปชมผลงานการถ่ายภาพของศิลปิน Antoine Repessé ที่จู่ๆ ก็ปิ๊งไอเดียขึ้นมาว่าหากหยุดทิ้งขยะเป็นระยะเวลา 4 ปี ปริมาณขยะที่เราผลิตกันออกมานั้นจะมีมากแค่ไหนกัน? จากนั้นก็จะนำขยะเหล่านั้นมาสร้างเป็นผลงานภาพชุดที่มีชื่อว่า #365 Unpacked เพื่อทำให้ผู้บริโภคทั้งหลายคำนึงถึงบทบาทการบริโภคให้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ตลอดระยะเวลากว่า 4 ปี Antoine ได้ทำการเก็บสะสมขยะไปทั้งหมด 70 ลูกบาศก์เมตร แบ่งเป็นขวดนม 1,600 ขวด แกนกระดาษทิชชู่ 4,800 แกน และหนังสือพิมพ์ 800 กิโลกรัม ซึ่งขยะทั้งหมดนี้จะถูกแยกออกมาถ่ายภาพเล่าเรื่องราวที่แตกต่างกันออกไป “ฉันอยากที่จะสร้างมิติทางสุนทรีย์ให้กับผลงาน ซึ่งการจัดเรียงขยะให้ดูเป็นระบบระเบียบจะสร้างเอฟเฟคที่ดีมากกว่า” “การทิ้งขยะของเสียที่เกิดจากตัวของเรานั้นเป็นอะไรที่ถูกพูดถึงบ่อยมาก แต่ฉันคิดว่าภาพเหล่านี้จะสร้างผลกระทบและมีพลังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากกว่าคำพูด และฉันก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผลงานของฉันจะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้” Antoine กล่าว . . . . . ที่มา…
-
เปรียบเทียบ 20 ภาพของโลกในอดีตกับปัจจุบัน กับเหตุผลว่าทำไมต้องเซ็นสนธิสัญญาปารีส
หลังจากที่เมื่อช่วงสัปดาห์ก่อนที่ท่านประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา Donald Trump ได้ตัดสินใจยกเลิกสนธิสัญญาปารีสไป ก็ทำให้ผู้คนในหลายประเทศจับตามองถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปกับโลกของเรา เพราะสนธิสัญญาฝรั่งเศสเดิมนั้นมีไว้เพื่อป้องกันภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก โดยในเนื้อหาสัญญาจะมีผลบังคับให้แต่ละประเทศลดการใช้เชื้อเพลิงที่มาจากฟอสซิลลง เพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้นถึง 2 องศาเซลเซียส ในทวีปแถบตะวันตก และตะวันออก ได้ให้การร่วมมือกันแทบจะทุกประเทศเว้นแต่ประเทศ Nicaragua และ Syria ซึ่งสองประเทศนี้ยังไม่เป็นที่น่ากังวลเท่าประเทศสหรัฐอเมริกาที่ถือได้ว่าเป็นตัวการใหญ่ในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีกรายหนึ่งนั่นเอง ตั้งแต่โลกของเราเข้าสู่ยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรมก็ผ่านมาแล้วเกือบ 70 ปี ด้วยกัน เราลองไปชมภาพถ่ายจากองค์กร NASA ที่จะมาแสดงให้เห็นกันแบบจะๆ ว่าที่ผ่านมาการทำอุตสาหกรรมได้สร้างความเปลี่ยนแปลงอะไรกับโลกไปแล้วบ้าง ภาพถ่ายธารน้ำแข็ง Muir ในอลาสก้าเมื่อปี 1941 กับปี 2004 ภาพถ่ายเทือกเขา Matterhorn ในประเทศ Switzerland ในปี 1960 เทียบกับ 2005 ภาพถ่ายจากดาวเทียมเปรียบเทียบสภาพภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาติ Mount Elgon ใน Uganda เมื่อปี 1973 เทียบกับ 2005 เมือง Salta ประเทศ Argentina ในช่วงปี 2009…
-
รวม 29 ภาพความเปลี่ยนแปลงรอบโลก วิกฤตที่เกิดจากความเสื่อมถอยของธรรมชาติ…
อย่างที่หลายคนรู้ว่าโลกของเรากำลังเปลี่ยนไปทุกวัน น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลาย น้ำในทะเลสาบมากมายกำลังแห้งลง หลายประเทศก็ประสบปัญหาสภาพอากาศที่แปรปรวน พายุที่รุนแรงขึ้น ฤดูหนาวอันโหดร้ายกว่าเดิม เ็นต้น แต่เชื่อเถอะว่าหลายคน อาจจะยังไม่รู้ว่าความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวที่เกิดขึ้นกับโลกเรานั้นมันมากมายขนาดไหน วันนี้เราก็เลยจะมาดู 29 ภาพเหตุการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับโลกสีฟ้าใบนี้กัน แล้วเชื่อเหอะว่าเมื่อดูจบ เราจะตระหนักได้ทันทีว่า นี่แหละมันถึงเวลาแล้วที่เราต้องช่วยโลกเสียที… Kangerlussuaq ประเทศ Greenland ภาพของก้อนน้ำแข็งที่ก้อนหน้านี้มันเคยลอยอยู่เหนือน้ำ แต่ด้วยสภาพอากาศทำให้น้ำในทะเลสาปแห้งขอดจนเหลือแต่พื้นและก้อนน้ำแข็งอย่างที่เห็น Vincennes Bay, Antartica อ่าวแห่งนี้เคยเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยก้อนภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่ ทว่าด้วยวิกฤตธรรมชาติได้และโลกที่ร้อนขึ้น ทำให้น้ำแข็งดังกล่าวละลายหายไปจนหมด เหลือแต่พื้นที่โล่งกว้างดั่งภาพที่เรากำลังดูอยู่ Tripa ประเทศ Indonesia ภาพของป่าฝนที่ถูกเผาไหม้เป็นหน้ากอง จากทั้งการกระทำของมนุษย์และธรรมชาติ Greenland Glaciers ภูเขาน้ำแข็งจำนวนมากในประเทศ Greenland ที่ตอนนี้กำลังละลายอย่างรวดเร็ว แถมยังเกิดขึ้นไวกว่าที่นักวิจัยคาดไว้เสียอีก Boulder City รัฐ Nevada ประเทศสหรัฐอเมริกา แม่น้ำสายหนึ่งที่แต่ก่อนเคยมีระดับน้ำที่สูงเท่ากับรอยสีขาวบริเวณตลิ่ง Los Glaciares National Park ประเทศ Argentina ภาพของกำแพงน้ำแข็งที่กำลังพังทลายลงจากผลของสภาพอุณหภูมิของอากาศที่สูงขึ้น Lodwar ประเทศ Kenya ภาพอันน่าเศร้าของเจ้าลาที่ต้องขาดน้ำตาย…
-
20 ภาพที่จะแสดงให้คุณเห็นว่า ในรอบ 70 ปีที่ผ่านมา โลกของเราเปลี่ยนไปมากแค่ไหนกัน?
เชื่อว่าพวกเราหลายคนคงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าทุกวันนี้สภาพอากาศของโลกเรากำลังเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดความแปรปรวนหลายๆ อย่าง เช่นบางครั้งหน้าหนาวก็กลับไม่หนาว หรือบางทีหน้าแล้งก็แล้งซะเหลือเกิ๊น!! ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในโลกเรานั้นสาเหตุหลักก็คงจะมาจากพวกเรานี่แหละ ทั้งการก่อมลพิษ การตัดไม้ทำลายป่าและอื่นๆ อีกมากมาย และถ้าหากว่าคุณยังไม่รู้สึกว่าโลกเราถูกทำลายไปมากแค่ไหน ภาพชุดที่เรานำมาให้ดูกันในวันนี้คงจะทำให้คุณเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกมากยิ่งขึ้นแน่นอน… 1. อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อธารน้ำแข็ง Muir ใน อลาสก้า ภาพด้านซ้ายถ่ายเมื่อ: เดือนสิงหาคม ปีค.ศ. 1941 ส่วนภาพด้านขวาถ่ายเมื่อ: เดือนเดียวกัน ในปีค.ศ. 2004 2. ในภาพเราจะเห็นปริมาณหิมะที่ลดลงของยอดเขา Matterhorn ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ภาพด้านซ้ายถ่ายเมื่อ: เดือนสิงหาคม ปีค.ศ. 2000 ส่วนภาพด้านขวาถ่ายเมื่อ: เดือนเดียวกัน ปีค.ศ. 2005 3. ลูกศรสีเหลืองแสดงให้เห็นถึงการบุกรุกพื้นที่ป่าในภูเขา Elgo อุทยานแห่งชาติ ประเทศยูกันดา ภาพด้านซ้ายถ่ายเมื่อ: ปีค.ศ. 1973 ส่วนภาพด้านขวาถ่ายเมื่อ: ปีค.ศ. 2005 4. ภาพแสดงถึงการบุกรุกพื้นที่ป่า Salta ของประเทศอาร์เจนตินา ภาพด้านซ้ายถ่ายเมื่อ: ปีค.ศ. 1972 ส่วนภาพด้านขวาถ่ายเมื่อ:…
-
นาซ่าเผยภาพการเปลี่ยนแปลงของโลก อดีต-ปัจจุบัน ถูกทำลายไปมากขนาดไหน!?
หมดเวลาที่เราจะต้องมานั่งโทษกันว่า… ใครคือสาเหตุที่ทำให้โลกร้อนขึ้น? บางคนก็บอกแก๊สโซฮอลล์ผิด บางคนก็บอกว่ารัฐบาลผิด แต่คราวนี้ทางเว็บไซต์ Brightside เขาได้รวบรวมภาพการเปลี่ยนแปลงต่างๆ จากอดีต – ปัจจุบัน ที่เกิดขึ้นกับโลกของเรา โดยภาพเหล่านี้ถูกปล่อยออกมาจากเว็บไซต์ climate.nasa.gov ขององค์กรนาซ่าอีกทีนึง ตามไปดูกันเลย 1. ธารน้ำแข็ง Pedersen ที่รัฐอลาสก้า เมื่อปี 1917 และปี 2005 2. ทะเล Aral ที่เอเชียกลาง เมื่อปี 2000 เทียบกับปี 2014 3. ทะเลสาบ Oroville จากรัฐแคลิฟอร์เนีย ภาพแรกเมื่อปี 2010 ส่วนอีกภาพเมื่อปี 2016 4. ธารน้ำแข็ง Carroll ในรัฐอลาสก้า เปรียบเทียบระหว่างปี 1906 – 2003 5. สายธารทะเลสาบ Powell จากรัฐแอริโซน่า…
-
ปฏิบัติการช่วยเหลือ ‘ลูกนกอัลบาทรอสเท้าดำ’ อพยพถิ่นที่อยู่เดิม ถูกทำลายเพราะโลกร้อน
ปฏิบัติการช่วยเหลือเหล่านกอัลบาทรอสเท้าดำ ที่ถูกช่วยเหลือมายังสนามบิน Honolulu International Airport ประเทศสหรัฐอเมริกา แม้ว่ามันจะเป็นนกที่เมื่อโตเต็มวัยแล้วจะมีความกว้างของปีกยาวถึง 2 เมตรเลยก็ตาม แต่เจ้านกอัลบาทรอสที่ถูกช่วยเหลือมานี้ยังเด็กอยู่และไม่สามารถบินได้จึงต้องขนย้ายด้วยเครื่องบิน ด้วยการช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่จากศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ Pacific Rim Conservation ลูกนกทั้ง 15 ตัวก็เดินทางมาถึงเป้าหมายได้ในช่วงกลางดึกของวันที่ 16 เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทำให้พวกมันยังคงมีความหวังที่จะมีอนาคตที่สดใส เหล่าลูกนกทั้งหลายเพิ่งจะลืมตาดูโลกเมื่อประมาณสามสัปดาห์ก่อนที่ศูนย์ดูแลสัตว์ป่า Midway Atoll National Wildlife Refuge และ Battle of Midway National Memorial ที่ตั้งอยู่บนหมู่เกาะฮาวาย เจ้าหน้าที่จะช่วยเหลือลูกนกทั้งหลายไปไว้ที่บ้านหลังใหม่ ที่พวกมันจะได้รับการดูแลเป็นอย่างดี ทั้งการป้อนอาหารโดยนักชีววิทยาในอีก 5 เดือนข้างหน้า จนกว่าพวกมันจะสามารถบินออกไปสู่ท้องฟ้าเหนือน่านน้ำทะเล และหาอาหารด้วยตัวเองได้ ด้วยความหวังที่ว่านกเหล่านี้จะกลับไปสู่ธรรมชาติดั้งเดิมของมันและปลอดภัยที่จะมีลูกเป็นของตัวเองเพื่อสืบสานเผ่าพันธุ์ต่อไป . . ปัจจุบันนกอัลบาทรอสกำลังถูกคุกคามอย่างหนักหน่วง เพราะระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นประกอบกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปโดยน้ำมือของมนุษย์ ส่งผลให้พื้นที่ทำรังของมันถูกทำลายไป จากการสำรวจพบว่าอัตราการเกิดของเหล่านกอัลบาทรอสสายพันธุ์เท้าดำ ลดลงมากกว่า 90% เพราะพื้นที่การสร้างรังเพื่อให้กำเนิดลูกของมันถูกน้ำทะเลเข้าท่วม จากการเกิดเพายุที่รุนแรง และระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น . “พื้นที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ของมันจึงเป็นอะไรที่สำคัญมากสำหรับนกสปีชีส์นี้…
-
ชมภาพของ ‘ธารน้ำแข็ง’ เมื่อยุค 1900s เปรียบเทียบกับยุคปัจจุบัน ช่างแตกต่างกันเหลือเกิน
โลกของเรานั้นเปลี่ยนแปลงไปมากมายจากยุคอดีต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเทคโนโลยี อุตสาหกรรม แฟชั่น วิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรือแม้แต่สภาพแวดล้อมเองก็เช่นกัน ก็อย่างที่รู้กันดีว่าปัจจุบันโลกของเรานั้นต้องประสบกับปัญหาโลกร้อนมาอย่างยาวนาน ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นน้ำแข็งขั้วโลกก็ค่อยๆ ละลายลงไป สำหรับในวันนี้ #เหมียวหง่าว จะขอพาเพื่อนๆ ไปชมภาพความแตกต่างระหว่างอดีต กับปัจจุบันของน้ำแข็งขั้วโลกที่มีสภาพแตกต่างกันราวฟ้ากับเหวเลยทีเดียว ช่างภาพชาวสวีเดน Christian Åslund ที่ทำงานเป็นนักถ่ายภาพให้กับองค์กร Greenpeace ได้ทำการเก็บภาพธารน้ำแข็งในเมือง Svalbard ประเทศนอร์เวย์ เมื่อปี 2002 จากนั้นก็นำไปเปรียบเทียบกับภาพของธารน้ำแข็งที่ถ่ายขึ้นเมื่อยุค 1900s แสดงให้เห็นว่าแม้จะเป็นมุมเดียวกันแต่มันช่างแตกต่างกันเหลือเกิน… เพื่อนำภาพเหล่านี้มาเป็นส่วงนหนึ่งในแคมเปญ #MyClimateAction ของ National Geographic เพื่อแสดงถึงจุดยืนของพวกเขาในเรื่องของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป และเพื่อต่อต้านบริษัทน้ำมันในประเทศนอร์เวย์ที่ทำการเจาะธารน้ำแข็งเพื่อค้นหาแหล่งน้ำมัน และนี่คือผลงานภาพถ่ายของธารน้ำแข็งในอดีต เปรียบเทียบกับปุจจุบัน จะแตกต่างกันแค่ไหนลองไปชมพร้อมๆ กันได้เลยจ้า… เขาออกตามถ่ายธารน้ำแข็งเหล่านั้นในมุมเดียวกัน บางมุมที่ต้องขึ้นไปยังที่สูง หรือบางมุมที่ต้องมีคนอยู่ในฉาก เขาก็ทำมันออกมาให้คล้ายคลึงกับต้นฉบับที่สุด . นี่ขนาดอยู่ในช่วงปี 2002 นะเนี่ยยังหายไปมากมายขนาดนี้ คิดไม่ถึงเลยว่าถ้านำมาเทียบกันกับยุคนี้ล่ะก็คงหายไปอีกเยอะแน่ๆ เลยล่ะ เพราะในช่วงหลังๆ…
-
โบสถ์อายุกว่า 400 ปี โผล่มาให้เห็นเพราะภัยแล้งเม็กซิโก หลังจมอยู่ก้นแม่น้ำมานานนับ 50 ปี!!
โบสถ์โดมินิกันในประเทศเม็กซิโกได้จมไปอยู่ก้นแม่น้ำมาตั้งแต่ช่วงทศววรตที่ 1960 แต่หลังจากที่ประเทศเม็กซิโกต้องเผชิญกับปัญหาภัยแล้ง จนสามารถเห็นโบสถ์เก่าแก่ที่มีอายุมากกว่า 400 ปี นี้ได้อีกครั้งหนึ่ง โบสถ์แห่งนี้ถูกสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นมาโดยพระและแม่ชี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1500 เมื่อพวกเขาเดินทางมายังประเทศเม็กซิโกเพื่อเผยแพร่ศาสนา ในแถบตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเม็กซิโก จนมาถึงช่วงปี 1962 ได้มีการสร้างเขื่อน Benito Juarez Dam ขึ้นมาทำให้โบสถ์แห่งนี้ถูกน้ำท่วมไปจนไม่เห็นแม้แต่เงา จากนั้นปริมาณน้ำในเขื่อน ก็ค่อยๆ ลดลงมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันเหลือจำนวนน้ำเพียง 16 เปอร์เซ็นต์จากความสามารถในการจุน้ำได้ทั้งหมดของเขื่อน นั่นหมายความว่าเราสามารถมองเห็นเกือบทุกส่วนของโบสถ์ได้แล้ว จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้รู้ถึงความรุนแรงของปัญหาภัยแล้งในประเทศเม็กซิโกได้เป็นอย่างดี แน่นอนว่ามันส่งผลไปถึงการทำการเกษตรอย่างเช่นการปลูกข้าวโพด ที่เป็นพืชเศรษฐกิจของพวกเขาด้วย สถาปัตยกรรมบางส่วนของโบสถ์ก็ถูกน้ำกัดเซาะจนหายไป แต่ส่วนใหญ่ก็ยังคงอยู่ในสภาพที่ดีอยู่ พื้นที่ที่แห้งแล้ง ภายในที่ยังคงมีน้ำขังอยู่ บางส่วนก็แห้งสนิท จนเด็กๆ สามารถเข้ามาวิ่งเล่นกันได้ ต้องขอบอกเลยว่า เป็นสถาปัตยกรรมที่อึด ถึก และทน จริงๆ หลังจากที่นอนอยู่ก้นแม่น้ำมานานนับ 50 ปี แต่ก็ยังคงรูปร่างเดิมเอาไว้ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเหตุการณ์นี้ก็ชี้ให้เห็นว่าโลกของเรากำลังเผชิญปัญหาภัยแล้งในหลายๆ พื้นที่…
-
หญิงสาวเรียนรู้ประสบการณ์อันล้ำค่า จากภารกิจ ‘ใช้ชีวิตโดยไม่ทิ้งขยะ’ เป็นเวลา 1 เดือน
ค่าเฉลี่ยของขยะที่ชาวอเมริกันทิ้งใน 1 วัน จะอยู่ที่ประมาณ 2 กิโลกรัมต่อ 1 คน และจะเพิ่มขึ้นไปมากกว่า 13 กิโลกรัมใน 1 สัปดาห์!! ด้วยเหตุนี้เอง Auri Jackson จากเว็บไซต์ Buzzfeed ก็เลยตัดสินใจที่จะลองใช้ชีวิตโดยที่ไม่ทิ้งขยะเลยภายใน 1 เดือน… ก็ไม่อยากจะพูดถึงมันเท่าไหร่หรอกนะ แต่เส้นทางชีวิตของแต่ละคนนั้นไม่มีอะไรที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตามเราทุกคนต่างก็รู้กันดีว่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอะไรซักอย่างเพื่อช่วยโลกของเรา เราสามารถเริ่มจากสิ่งเล็กๆ ที่ทำกันในชีวิตประจำวันก็ได้ อย่างเช่นการเลือกทานอาหาร พฤติกรรมการทิ้งขยะ เป็นต้น “เมื่อไหร่ก็ตามที่ฉันได้ยินข่าวคราวของเรื่องสิ่งแวดล้อม ทุกครั้งมันทำให้ฉันกลัว และรู้สึกว่าฉันท้อแท้และหมดกำลังใจ” Auri กล่าว เมื่อตัดสินใจที่จะเริ่มภารกิจ Auri ก็รู้ได้ทันทีว่าในเรื่องของการกินนั้นเป็นเรื่องที่ยากมากๆ เพราะอาหารส่วนใหญ่นั้นจะถูกบรรจุมาเป็นแบบแพ็คเกจซะส่วนใหญ่ นั่นหมายความว่าเธอจะต้องเข้าป่าไปหาผัก หาผลไม้ทานใช่หรือไม่? “ฉันคงต้องหาวิธีแก้ไขปัญหาที่ดีมากกว่าการที่จะต้องมานั่งกินแต่กล้วยเพียงอย่างเดียว” Auri บ่นเบาๆ หลังจากที่เริ่มภารกิจ Auri ก็ ได้เรียนรู้ว่าแท้จริงแล้วขยะเป็นจำนวนมากนั้นมาจากการกระทำที่เกิดจากความเคยชิน และสิ่งเล็กๆ ที่เราคิดว่ามันเป็นสิ่งจำเป็น ยกตัวอย่างเช่นกระดาษเช็ดมือ ในช่วงสัปดาห์ที่สองของภารกิจ…
-
หนุ่มพบซาก ‘ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ’ ขนาดยักษ์ ที่ขายกันหลักล้าน ในแหล่งน้ำจืดอีกด้วย!?
ปรากฏการณ์โลกร้อนนั้นส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อสัตว์และมนุษย์ และเจ้าปลาทูน่าน้ำเงินตัวนี้เองก็ไม่วายที่จะโดนผลกระทบจากโลกร้อนจนถึงแก่ชีวิต… เรื่องมีอยู่ว่าชายหนุ่ม Kev Brady และเพื่อนๆ ได้ออกไปพายเรือพายเล่นที่บริเวณปากแม่น้ำ Severn ในหมู่บ้าน Minsterworth เมือง Glos ประเทศอังกฤษ จู่ๆ เขาก็ได้พบกับซากปลาขนาดยักษ์ลอยตุ๊บป่องอยู่ พอเข้าไปดูใกล้ๆ ก็พบว่ามันคือซากปลาทูน่าที่มีความยาวมากถึง 2.1 เมตรเลยทีเดียว คาดว่ามันคงลอยมาจากทะเลที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 50 กิโลเมตร คุณ Brady ได้ทำการถ่ายคลิปเหตุการณ์เอาไว้และนำไปโพสต์ลงโซเชียล ทำให้มีผู้สนใจมากมาย และในนั้นก็มีเหล่าผู้เชี่ยวชาญด้วย โดยพวกเขาได้ให้ความเห็นว่าเจ้าปลาทูน่าตัวนี้น่าจะว่ายตามฝูงแซลมอนมายังแหล่งน้ำจืด แต่เนื่องจากว่าปลาทูน่านั้นไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำจืดได้เหมือนกับแซลมอน จึงทำให้มันเกิดอาการน็อคและตายไปในที่สุด แต่ก็น่าแปลกใจเหมือนกันเพราะโดยปกติแล้วปลาแซลมอนนั้นเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในเขตน้ำอุ่น แต่แหล่งน้ำจืดนั้นจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าน้ำทะเล เพราะฉะนั้นปลาทูน่าจะรู้ถึงความแตกต่างของอุณหภูมิและไม่ว่ายเข้ามา แต่ภายหลังเนื่องจากปรากฏการณ์โลกร้อนทำให้อุณหภูมิของแหล่งน้ำจืดเพิ่มสูงขึ้นจึงทำให้มันเข้าใจผิดและว่ายเข้ามาในเขตน้ำจืดอย่างไม่ลังเล Dai Francis เจ้าหน้าที่จากศูนย์ดูแลสัตว์น้ำในแม่น้ำ Severn กล่าว โดยเจ้าซากของปลานี้พอสังเกตดีๆ ก็พบว่าเป็นสายพันธุ์ครีบน้ำเงินเหนือที่สุดแสนจะหายากและมีราคาแพงแสนแพง แถมยังมีขนาดตัวที่ใหญ่แบบสุดๆ เมื่อโตเต็มวัยมันจะมีน้ำหนักมากถึง 650 กิโลกรัมเลยนะ ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ นั้นเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญเช่นเดียวกับปลาทูน่าชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น…
-
เปรียบเทียบภาพก่อนและหลังของสถานที่เดียวกัน ผลพวงจากภาวะโลกร้อนที่เปลี่ยนไป!!
ตอนนี้โลกของเราเข้าสู่สภาวะที่ร้อนขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากจะร้อนแล้ว ฤดูกาลและสภาพอากาศก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย บางวันก็ร้อนมาก บางวันดันหนาวจัดแทน อะไรทำนองนี้ ซึ่งจากการกระทำต่างๆ ของมนุษย์ส่งผลทำให้ธรรมชาติได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จนกลายมาเป็นภาวะโลกร้อนที่เรากำลังประสบกันอยู่นี้ มันอาจจะเป็นเรื่องที่ฟังแล้วเหมือนไกลตัวเราซะเหลือเกิน แต่หารู้ไม่ว่าภัยอันตรายจากผลพวงที่ว่านี้กำลังคลานเข้ามาหาเราอย่างช้าๆ จนเราไม่รู้สึกตัว และยังคงทำร้ายโลกของเราต่อไปเรื่อยๆ ถ้ายังนึกภาพไม่ออก ลองมาเปรียบเทียบสภาพก่อนและหลังของสถานที่เดียวกันที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนกันดีกว่า สภาพของอุทยานแห่งชาติ Rocky Mountain ในอดีต ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติ Rocky Mountain ไม่สดใสเหมือนเมื่อก่อนแล้ว Great Barrier Reef พืดหินแนวปะการังที่ยาวที่สุดในโลกในอดีต ปัจจุบัน ด้วยอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้น ก่อให้เกิดการฟอกขาวของแนวปะการัง และไม่อาจมีชีวิตรอดต่อไปได้ สภาพของแม่น้ำดานูบในอดีต แม่น้ำที่ยาวที่สุดในทวีปยุโรป เป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ช่วยหล่อเลี้ยงอุตสาหกรรม การขนส่ง การเกษตร และการประมง ปัจจุบันระดับน้ำของแม่น้ำดานูบลดลงไปมาก ยิ่งในช่วงปีค.ศ. 2011 – 2012 จนถึงขั้นกลายเป็นแม่น้ำที่แห้งแล้ง เรือขนส่งต่างๆ ไม่สามารถสัญจรผ่านไปได้ เทือกเขาแอลป์ในอดีต…