Tag: ใช้หนี้

  • สรุปให้เข้าใจง่ายๆ 8 ข้อ ร่างกฎหมาย กยศ. ฉบับเก่า vs ใหม่ แตกต่างกันอย่างไร!? กู้ยาก!? ดอกเบี้ยแพง!?

    สรุปให้เข้าใจง่ายๆ 8 ข้อ ร่างกฎหมาย กยศ. ฉบับเก่า vs ใหม่ แตกต่างกันอย่างไร!? กู้ยาก!? ดอกเบี้ยแพง!?

    ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการมีอยู่ของหน่วยงานที่ชื่อ กยศ. (กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา) ทำให้เด็กไทยเป็นแสนเป็นล้านคนสามารถมีทุนการศึกษาเพื่อเล่าเรียนต่อและต่อยอดโอกาสให้กับตัวเอง โดยส่วนตัว#เหมียวฟิ้นเองในช่วงมัธยมก็ได้กู้เพื่อมาเรียนเหมือนกัน แต่คนบางคนเห็นว่ามีดอกเบี้ยที่ต่ำก็เลยเอาเงินไปผ่อนมือถือหรือซื้อของใช้ฟุ่มเฟือยเสียมากกว่า และเมื่อจบการศึกษาไปแล้วกลับไม่ยอมใช้หนี้ กยศ. จนตอนนี้มีรายชื่อผู้ค้างชำระหนี้มากถึง 1.9 ล้านราย   ด้วยเหตุนี้เองทางกยศ.จึงได้เตรียมร่างกฎหมายฉบับใหม่ เพื่อทำให้การกู้ยืมเงินเป็นไปได้ยากขึ้นและสร้างกฎเกณฑ์เพื่อให้คนหันกลับมาชำระหนี้หลังจากที่จบการศึกษาไปแล้ว โดยในร่างกฎหมายฉบับเดิมระบุว่าผู้มีสิทธิ์กู้คือนักเรียนและนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ แต่ในร่างกฎหมายฉบับใหม่นี้จะเพิ่มเงื่อนไขเข้าไปอีก ว่านอกจากจะขาดทุนทรัพย์แล้วจะต้องเป็นนักเรียนนักศึกษาที่เรียนในสาขาที่มีความจำเป็นพ่อประเทศหรือสาขาที่ประเทศกำลังขาดแคลน (ถ้าเรียนตามใจตัวเองก็จะไม่สามารถกู้ได้) และต้องเรียนดีด้วย     ต่อไปนี้จะเป็นการเปรียบเทียบเงื่อนไขการกู้ยืมเงินแบบเก่าและแบบใหม่ดูว่ามีความแตกต่างกันยังไงบ้าง!?   1. เรื่องผลการศึกษา แบบเก่า: เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.00 แบบใหม่: เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 1.00 จุดนี้จะเห็นได้ว่าเปิดโอกาสให้นักเรียนที่มีผลการเรียนแย่กว่าเดิมสามารถกู้ได้ เหมือนกับการเปิดโอกาส แต่การที่จะมีคนได้เกรด 1.00 หรือ 1.25 แล้วได้เรียนต่อไป (จุดนี้ต้องตั้งคำถามว่ายังมีสถาบันที่เปิดโอกาสให้เรียนต่อไปอีกหรือไม่ เพราะบางสถาบันเกรดต่ำกว่า 1.75 หรือ 2.00 ก็จะถูกบังคับออกแล้ว)   2. ดอกเบี้ย แบบเก่า: ดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี แบบใหม่: ดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จากเดิมที่เงินกู้ กยศ.…