Tag: 60 70
-
ตามไปชม 19 ทรงผมจากไนจีเรียแฟชั่นวีคส์ เมื่อยุค 60s – 70s บอกเลยว่าล้ำโคตร!!
ใครที่กำลังมองหาทรงผมแบบแหวกแนว เผื่อว่าจะมีโอกาสได้ลงปกลุ๊คบุ๊คกับเค้าบ้าง แต่ไม่อยากซ้ำคนอื่นละก็ วันนี้เรามีทรงผมที่โคตรเฟี้ยวฟ้าวมะพร้าวแก้วมาฝาก ภาพทั้งหมดที่คุณจะได้ชมนี้ เป็นผลงานภาพถ่ายที่รวบรวมไว้โดย J.D. Okhai Ojeikere ช่างภาพชาวแอฟริกัน ผู้ตามเก็บเรื่องราววัฒนธรรมทรงผมของชาวไนจีเรีย ตั้งแต่ยุค 60s ไปจนถึง 70s ประเดิมด้วยทรงแรก… เฟี้ยวป่ะล่ะ นับว่าเป็นอะไรที่แปลกใหม่เหมือนกัน เพราะบ้านเราก็ไม่ค่อยได้รับรู้เรื่องราววัฒนธรรมของชาวแอฟริกันซักเท่าใดนัก ช่างภาพตั้งใจรวบรวมภาพทั้งหมดนี้ เพื่อสื่อถึงจิตวิญญาณ วิถีชีวิต และความเชื่อ ผ่านการบอกเล่าด้วยทรงผม ‘การได้ดูช่างทำผม จัดแต่งทรงผมอันโดดเด่นให้พวกเราชาวแอฟริกัน เป็นเหมือนการได้ดูศิลปินสร้างงานประติมากรรมอันเลอค่าเลยล่ะ’ ช่างภาพเล่า ทรงผมทั้งหมดที่เราเห็นนี้ ก็มีตั้งแต่แบบที่เป็นแฟชั่น และแบบที่มาจากประเพณีพื้นเมืองของชนเผ่า บางทรงผมก็จะถูกใช้ในพิธีสำคัญอย่างงานวิวาห์ หรือพิธีทางศาสนาเท่านั้น ในอีกแง่หนึ่ง ทรงผมสามารถบ่งบอกสถานะทางสังคมของชาวแอฟริกันได้ด้วยเช่นกัน แต่บางทรงผมที่ดูแปลกใหม่ ก็เป็นแฟชั่นสมัยนิยมในยุคนั้นเหมือนกัน และในบางครอบครัว ก็อาจจะมีทรงผมที่สืบทอดกันจากรุ่นสู่รุ่นด้วย สำหรับตัวช่างภาพเองแล้ว ทรงผมเหล่านี้เปรียบเสมือนภาพสะท้อนความหลากหลาย ความแตกต่าง และความมีเอกลักษณ์ ของวัฒนธรรมชาวไนจีเรีย บางทรงผมต้องบอกว่ามีแค่คนแอฟริกันเท่านั้นที่ทำได้…
-
‘ก่อนมีตาลีบัน…’ เผยภาพอัฟกานิสถานยุค 60s ที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม และความสงบสุข
ครั้งหนึ่งประชาชนชาว ‘อัฟกานิสถาน’ เคยตกอยู่ในสภาวะการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างจะสุดขั้ว เพราะจากเดิมในอดีตเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม และความสงบสุข แต่ทว่าด้วยปัญหาการเมืองบางอย่าง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในที่แห่งนี้ ภาพถ่ายเก่าเก็บของประเทศนี้ในช่วงยุค 1960 – 1970 ถูกบันทึกไว้โดยนักเดินทางชาวฝรั่งเศส ‘Francois Pommery’ ซึ่งเขาได้ใช้เวลาหลายปี ท่องเที่ยวไปในประเทศนี้เพื่อตามเก็บภาพถ่ายของวิถีชีวิตผู้คน ก่อนที่จะมาเป็นภาพถ่ายอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เผยให้เราได้เห็นถึงวิถีชีวิตอันสงบสุข และเสรีภาพของพวกเขาในอดีต บริเวณตลาดหน้าโรงแรม ‘Spinzar’ ในเมืองคาบูล มีผู้หญิงที่แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าแบบตะวันตกอยู่ด้วย ช่างภาพได้กล่าวว่า “ช่วงนั้นที่เราไปทุกอย่างสงบสุขมาก จนกระทั่งต่อมา กษัตริย์ของประเทศได้ถูกโค่นล้มโดยกลุ่มรัฐบาลเผด็จการ ทุกอย่างจึงเปลี่ยนไป” วิถีชีวิตของผู้คนนอกเมือง Hérat เมืองใหญ่อันดับ 3 ของประเทศ ส่งต่อภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น ชายแก่กำลังสอนเด็กน้อยเกี่ยวกับวิธีการใช้เครื่องปั่นด้าย ภาพเด็กชายชาวเมือง Hérat ถูกถ่ายไว้ได้ในปี 1974 ชาวบ้านที่ยิ้มแย้ม และเป็นกันเองต่อนักท่องเที่ยวในหมู่บ้าน ‘Waigal’ เมื่อปี 1969 “ทุกคนที่เราได้พบเจอ พวกเขาล้วนเต็มไปด้วยรอยยิ้ม และความยินดีที่จะโพสท่าถ่ายรูปให้กับเรา” นักเดินทางเสริม ชาวบ้านในเมือง Nuristan…