Tag: Anxiety
-
หนุ่มมีแฟนเป็น “โรคตื่นตระหนกและโรควิตกกังวล” จึงออกมาแชร์ 7 วิธีรับมือกับอาการ
ต้องยอมรับว่าความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการรับมือกับผู้ที่มี อาการทางจิต ของคนทั่วๆ ไปยังถือว่าน้อย หากว่าไม่ได้เป็นผู้ที่รับการศึกษาด้านนี้หรือเป็นผู้ที่สนิทชิดเชื้อกับผู้ป่วยทางจิตมาก่อน ก็อาจรับมือได้ยากทีเดียว และวันนี้หนุ่มคนหนึ่งที่แฟนสาวของเขาเคยมีอาการของ โรคแพนิก และ โรควิตกกังวล ก็จะมาเขียนเล่าถึงวิธีการรับมือกับอาการตื่นตระหนกและวิตกกังวล ที่เขาได้เรียนรู้มาจากแฟนสาว สถิติจาก Anxiety and Depression Association of America เผยว่าในชาวอเมริกันกลุ่มโรควิตกกังวล (รวมโรคแพนิกด้วย) นั่นเป็นความเจ็บป่วยทางจิตที่พบบ่อยที่สุด กระนั้นกลุ่มโรควิตกกังวลนับว่าเป็นกลุ่มโรคที่รักษาได้ง่าย แต่ก็มีผู้ป่วยเพียง 36.9 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่เข้ารับการรักษา แล้วเราจะทำอย่างไรเมื่อพบว่าตัวเองหรือคนรอบข้างมีอาการของโรคแพนิกและโรควิตกกังวล ลองไปอ่านที่หนุ่มคนดังกล่าวเขียนอธิบายเอาไว้กันเลยดีกว่า… นี่คือสิ่งที่ผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาการแพนิกจากแฟนของผม 1. พยายามอย่ากอดบ่อย มันใช้เวลานานมากนะกว่าแฟนผมจะรู้สึกดีขึ้นเวลาที่ถูกกอดให้ใจเย็นลง เพราะการกอดมันทำให้เธอรู้สึกเหมือนถูกบังคับให้หยุดตื่นตระหนก 2. เวลาที่พวกเขาไม่ตอบคุณไม่ใช่ว่าพวกเขาไม่สนใจคุณนะ แต่บางครั้งเป็นเพราะพวกเขายังไม่พร้อมคุยเท่านั้นเอง อาการแพนิกบางทีก็มาตอนทะเลาะกันนั่นแหละ หลายครั้งผมก็ใช้วิธีการเงียบใส่และมันผิดพลาดมาก อันที่จริงถ้าคุณอยากคุยแต่เขายังไม่อยากคุย ก็แค่ลองใช้นิ้วสะกิดพวกเขาเบาๆ ดู 3. หายใจให้ดังๆ เข้าไว้ คุณเคยได้ยินไหมว่าหากเรากอดหรือคลอเคลียกับใคร เราจะหายใจพร้อมๆ กันโดยอัตโนมัติ หรือหากมีใครมาสูดหายใจลึกๆ ใกล้ๆ คุณมันก็จะทำให้คุณอยากหายใจตามจังหวะของคนๆ นั้น เช่นเดียวกันเลย เมื่อพวกเขาเกิดอาการแพนิกและหายใจแรงแบบควบคุมไม่ได้ ให้คุณหายใจดังๆ ช้าๆ…
-
สาวน้อยวัย 23 ปี ทำโปรเจคถ่ายภาพคอนเซ็ปท์ “ความกลัว” ในรูปแบบต่างๆ ที่ชวนคุณขนลุก
กลุ่มของโรค “Anxiety” หรือโรคที่เกิดขึ้นจากความกลัวหรือความกังวลของจิตใจ เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุและมีอาการที่แตกต่างกันไป เช่น บางคนกลัวการอยู่ในที่มืด หรือบางคนกลัวพื้นที่แคบ อย่างนี้เป็นต้น อาการเหล่านี้ทางการแพทย์อธิบายว่าอาจเกิดมาจากประสบการณ์ที่แต่ละคนพบเจอมาและฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกของพวกเขาทำให้เกิดความวิตกกังวลและกลัวขึ้นมา เมื่อไม่นานมานี้ Katie Joy Crawford นักศึกษาปีสุดท้ายของภาควิชาการถ่ายภาพจากมหาวิทยาลัย Baton Rouge ในรัฐลุยเซียนา ประเทศสหรัสอเมริกา เธอได้ถ่ายภาพของตัวเองและใช้เทคนิคการตกแต่งภาพ สร้างผลงานเกี่ยวกับอาการกลัวแบบต่างๆ ของมนุษย์ เพื่อนำเสนอเป็นโปรเจ็คจบของเธอ ลองไปชมผลงานบางส่วนของเธอพร้อมกับคอนเซปท์กันได้เลย ภาพนี้เธอบอกว่า “บางครั้งใน ฉันรู้สึกเหมือนกับว่าตัวเองหายใจไม่ออก ทั้งๆ ที่หน้าอกของฉันยังขยับอยู่ ฉันพยายามที่จะเอานิ้วมาวางไว้ได้จมูกเพื่อให้แน่ใจมีลมออกมาจากจมูก แต่ก็ยังรู้สึกว่าหายใจไม่ออกอยู่ดี” ภาพนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการที่เธอรู้สึกชาจนขยับตัวไม่ได้ เธอบอกว่า “มันรู้สึกแปลกๆ เหมือนมีอะไรอยู่ในท้อง มันเหมือนกับว่าคุณกำลังว่ายน้ำในสระและพยามที่จะเอาเท้าแตะลงพื้นสระ ถึงจะพยายามเท่าไหร่เท้าก็ไม่ถึง” บางครั้งคุณติดอยู่กับเรื่องแย่ๆ มากมายทั้งเรื่องราว ด้านลบคำพูดแย่ๆของคนอื่น ความกลัวคำโกหก คุณต้องออกมาจากกรงที่ขังคุณอยู่ เข้มแข็งและสู้กับมัน นี่คือคอนเซปต์ของภาพนี้ “ฉันกลัวที่จะมีชีวิตอยู่ ฉันกลัวที่จะตาย อะไรคือความหมายของการมีชีวิตอยู่” ภาพนี้แสดงถึงคนที่กำลังสับสนในชีวิต การนอนในห้องที่มืดๆ คนเดียวจะทำให้คุณรู้สึกกลัวได้ แต่ห้องที่มืดสนิทนั้นไม่น่ากลัวเท่ากับห้องที่มีแสงไฟสลัวๆ เพราะคุณสามารถที่จะมองเห็นเงาดำๆ ที่น่ากลัวได้มากกว่านั่นเอง และภาพนี้ก็แสดงให้เห็นถึงอาการเหล่านั้น หยึ๋ย!!…