Tag: language
-
จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหมาจากคนละประเทศมาเจอกัน พวกมันจะคุยกันรู้เรื่องรึเปล่า!?
เท่าที่เราเคยเห็นเจ้าหมามา มันไม่มีภาษาพูดเป็นของตัวเองเลย จะมีก็แค่เสียงเห่าเสียงครางเท่านั้น เราก็เลยเกิดความสงสัยขึ้นว่าพวกมันจะคุยกับหมาต่างประเทศรู้เรื่องหรือเปล่า เพราะถ้าเป็นคนเราล่ะก็แค่อยู่คนละประเทศภาษาก็ไม่เหมือนกันแล้วนะ เพื่อทำให้ความสงสัยนี้กระจ่างขึ้น เราก็เลยลองหาข้อมูลเกี่ยวกับพวกมันดู แล้วก็มาแบ่งให้เพื่อนๆ ได้รู้กันด้วยว่าหมาจากคนละฟากโลกมันสื่อสารกันได้ไหม ก่อนอื่นต้องบอกเลยว่าหมาแต่ละประเทศมีเสียงเห่าไม่เหมือนกัน อย่างที่คนไทยเรามักจะติดว่าหมาเห่า ‘โฮ่งๆ’ แต่ฝรั่งจะได้ยินมันเห่าว่า ‘วูฟๆ’ นั่นแหละ เพราะสภาพแวดล้อมที่มันเกิดมีผลต่อสำเนียงการเห่าด้วย นอกจากนี้หมาต่างสายพันธุ์และต่างขนาดก็ยังมีเสียงเห่าที่แตกต่างกันออกไปอีกต่างหาก แล้วเสียงก็อาจจะต่างกันไปตามช่วงวัยอีกด้วย เรียกได้ว่าพวกมันมีเสียงการเห่าที่หลากหลายและไม่ค่อยเหมือนกันนักหรอก ยังไงก็ตามถึงสำเนียงจะแตกต่างกันไปบ้าง แต่ Stanley Coren ผู้เขียนหนังสื่อเกี่ยวกับการสื่อสารของสุนัข ก็บอกว่าพวกมันมีภาษาที่ใช้สื่อสารกันนั้นเหมือนกันหมดทั้งโลก เขาชี้แจงว่าเสียงที่ใช้สื่อสารของพวกมันนั้นแบ่งเป็นประเภทหลักๆ ได้เช่น เสียงเห่า เสียงคราง เสียงขู่ และเสียงหอนเป็นต้น ถึงสำเนียงจะไม่เหมือนกันแต่ก็จะเป็นเสียงในประเภทพวกนี้เท่านั้น พวกมันก็เลยเข้าใจตรงกันว่าหมาอีกตัวรู้สึกยังไง ยกตัวอย่างเช่น เสียงขู่จะใช้ตอนที่ต้องการเตือนให้อีกฝ่ายออกไปห่างๆ เสียงเห่าใช้เพื่อเรียกหาสุนัขตัวอื่น และเสียงหอนมีความหมายว่ามันกำลังรู้สึกเหงาหงอย แล้วก็ยังมีการใช้เสียงต่ำและเสียงสูงในการสื่อสารเพิ่มเติมด้วย หมาทุกตัวจะเข้าใจว่าถ้าอีกฝ่ายใช้เสียงสูง แปลว่าพวกมันอยากผูกมิตรด้วย ในทางกลับกันเสียงโทนทุ้มต่ำจะใช้ในการข่มขู่หมาตัวอื่น อีกอย่างหนึ่งก็คือพวกมันจะใช้การดมกลิ่น และภาษากายที่คล้ายคลึงกัน เพื่อช่วยในการสื่อสารอีกทางหนึ่งด้วย จึงทำให้พวกมันเข้าใจกันได้ไม่ยากเลย แต่พวกมันจะไม่สามารถเข้าใจภาษาของมนุษย์จากต่างประเทศได้ เพราะพวกมันเรียนรู้คำพูดของมนุษย์ด้วยการจำเสียง ทำให้มันไม่เข้าใจมนุษย์ที่ใช้คำต่างกันตามภาษาของประเทศต่างๆ ได้…
-
“3 วิธีการพูด” ที่เป็นสัญญาณว่าคุณมีแนวโน้มของ “โรคซึมเศร้า” ลองไปสังเกตกันดู…
ในสังคมปัจจุบันนี้เราสามารถพบเห็นผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าในสมัยก่อน โดยผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะไม่เหมือนกับความรู้สึกเศร้าของคนทั่วไปที่เกิดขึ้นและหายไปเป็นครั้งคราว พวกเขาจะรู้สึกซึมเศร้าเป็นประจำและแต่ละครั้งก็ยาวนานกว่าปกติ แถมบ่อยครั้งยังไม่รู้สาเหตุของความเศร้าด้วย อย่างไรก็ตามการที่จะสังเกตว่าเราหรือคนรอบตัวเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่าเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก บางคนก็เป็นโรคซึมเศร้าโดยที่ไม่รู้ตัว หากอยากทราบแน่ชัดต้องไปให้จิตแพทย์วินิจฉัยเท่านั้น แต่ในวันนี้มีอีกหนึ่งวิธีสังเกตที่ได้ผ่านผลการรับรองจากนักวิจัยแล้ว ด้วยการสังเกตจากวิธีพูดของแต่ละคนนั่นเอง งานวิจัยที่ว่านี้ถูกตีพิมพ์ลงในวารสารวิทยาศาสตร์ Clinical Psychological Science โดยทำการทดลองจากการอ่านบันทึก และฟังบทสนทนาจำนวนมากของคนที่เป็นโรคซึมเศร้า และคนที่ไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้า จึงสังเกตเห็นว่าคนที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมีการใช้ภาษาที่แตกต่างออกไปดังนี้ 1. มักจะใช้สรรพนามบุคคลที่หนึ่งที่เป็นเอกพจน์ คนเป็นโรคซึมเศร้ามักจะใช้สรรพนามกล่าวถึงตัวเองเช่น ฉัน ผม หรือเรา(ในกรณีที่หมายถึงตัวเองคนเดียว) อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเป็นตัวชี้ให้เห็นว่าพวกเขาไม่ค่อยมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นมากนัก อาจจะเป็นเพราะเพวกเขาชอบปลีกตัวมาอยู่คนเดียวมากกว่าจะอยู่คนจำนวนมากก็ได้ อีกทั้งการใช้สรรพนามแบบนี้ ยังทำให้เราเห็นว่าคนที่เป็นโรคซีมเศร้ามักจะให้ความสนใจกับตัวเองและแนวคิดของตัวเองมากเป็นพิเศษ และไม่ค่อยสนใจแนวคิดในแบบของคนอื่นมากนัก 2. พูดถ้อยคำที่มีความหมายในเชิงลบอยู่บ่อยครั้ง เมื่อเปรียบเทียบกับคนทั่วไปแล้ว คนที่เป็นโรคซึมเศร้าจะใช้คำที่มีความหมายเชิงลบมากกว่า โดยคำพูดเหล่านั้นมักจะเกี่ยวกับอารมณ์ในเชิงลบเช่น เศร้า และเหงา เป็นต้น และยังรวมไปถึงคำพูดอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ของตัวเองด้วย แต่ผลการวิจัยก็ชี้ว่าการใช้สรรพนามบ่งบอกถึงโรคซึมเศร้าได้ดีกว่าการใช้คำพูดในเชิงลบอย่างเห็นได้ชัด 3. ภาษาที่ใช้มักจะมีความสุดโต่ง เมื่อคนเราอยู่ในภาวะซึมเศร้าก็มักจะใช้ภาษาแบบสุดโต่ง (ถ้าไม่ขาวก็ดำไปเลย ไม่มีระหว่างกลาง) มากกว่าที่คิด อย่างเช่นคำว่า เป็นประจำ ไม่เคย เต็มไปหมด…
-
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ “8 ภาษากาย” ที่คุณสามารถเรียนรู้ได้ และทำให้ตัวเองดูคูลขึ้นได้จริงๆ
ภาษาที่เราใช้สื่อสารนั้นมีอยู่มากมายทั่วโลก นอกจากภาษาที่เราใช้พูดกันแล้วนั้น “ภาษากาย” เป็นอีกสิ่งสำคัญที่สามารถสื่อสารได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ภาษากายมีความพิเศษอยู่หลายอย่าง มันสามารถเป็นตัวเสริมที่ทำให้ภาษาพุดของเรามีความน่าเชื่อถือ หรือในขณะเดียวกันมันก็สามารถที่จะลดความน่าเชื่อถือได้ ซึ่งคราวนี้เหล่าผู้เชี่ยวชาญในสาขาอาชีพต่างๆ จะเป็นคนมาแนะนำ 8 ภาษากายที่คุณควรฝึกและนำไปใช้อย่างสม่ำเสมอนั่นเอง… 1. ลอกเลียนแบบท่าทางของอีกฝ่าย – Rosemary Haefner หัวหน้าฝ่ายบุคคล เว็บไซต์ CareerBuilder แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าเราต้องลอกเลียนแบบให้เหมือนเสียทีเดียวนะ นั่นจะดูเป็นการล้อเลียนเกินไป การที่เราค่อยๆ “Mimic” อย่างช้าๆ จะเป็นการแสดงถึงความเห็นด้วย หรือเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้พวกเขารู้สึกคล้อยตามและถูกจูงใจได้ 2. เดินอย่างมั่นใจ – อ้างอิง Scientific American การเดินหลังห่อ หรือไร้แรงเป็นการแสดงถึงความเศร้าและขาดแรงบันดาลใจ ลองเปลี่ยนมาเป็นการเดินแบบมีชีวิตชีวาสิ เดินหลังตรงส้นเท้าลงเต็มพื้น นี่คือการแสดงถึงความมั่นใจและการมีเป้าหมายซึ่งจะทำให้คุณกลายเป็นคนที่มีบุคลิกน่าเชื่อถืออีกด้วยนะ 3. การใช้สายตา – Leil Lowndes พยายามสบตาผู้พูดหรือคู่สนทนาเป็นประจำ แต่ไม่ใช่การจ้องเขม็งไปที่พวกเขานะ การสบตานอกจากแสดงให้เห็นถึงความมั่นใจแล้ว ยังแสดงให้เห็นความสนใจในคู่สนทนาอีกด้วย สำหรับใครที่ยังไม่ค่อยมั่นใจ สามารถฝึกง่ายๆ ด้วยการหมั่นสบตากับคู่สนทนาของคุณทุกคน อย่างตั้งใจและแสดงถึงความอบอุ่น คุณจะค่อยๆ พัฒนาทักษะนี้ไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆ ได้ 4.…
-
วิทยาศาสตร์แบบแมวๆ พวกมันพยายามบอกอะไรให้มนุษย์ได้รับรู้ หรือว่าไม่ได้คิดอะไรเลย!?
การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นนั้นถือว่าเป็นเรื่องพื้นฐานของการสื่อสารและอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ไม่ว่าจะเป็นทั้งการแสดงท่าทางและการออกเสียงมาเป็นภาษาพูด สำหรับสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันจะเข้าใจได้ทันที แต่ทว่าสำหรับต่างสายพันธุ์ล่ะ อย่างมนุษย์กับสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัขและแมว? สำหรับสุนัขแล้ว การสื่อสารของพวกมันกับมนุษย์จะส่งผ่านการแสดงท่าทาง การส่ายหาง สายตา และเสียงเห่า เพื่อตอบสนองต่อฝ่ายตรงข้าม และมีความเชื่อที่ว่าแมวก็จะเป็นเช่นเดียวกัน เพื่อตอบสนองให้รับรู้ถึง ความกลัว ความหิว หรือแม้กระทั่งความต้องการที่จะไปปัสสาวะ ความเชื่อที่ยังหาข้อพิสูจน์ไม่ได้ นักวิจัยด้านสัทศาสตร์ชาวสวีเดนและเป็นผู้หลงใหลแมวเลี้ยงไว้ถึง 3 ตัว นามว่า Suzanne Schötz จาก Lund University จึงได้ทำการศึกษาหาข้อเท็จจริงในการสื่อสารของแมว จากทดสอบนั้นได้ขออาสาสมัครจากหลากหลายที่ในประเทศสวีเดนพร้อมกับแมวคู่ใจมาด้วย ซึ่งแต่ละคนก็มาจากคนละท้องถิ่นและมีภาษาเป็นของตัวเอง โดยจะสังเกตว่าแมวที่มาด้วยนั้นอาจจะมีภาษาถิ่นเป็นของตัวเองเหมือนกับเจ้าของมันด้วยหรือไม่ อีกทั้งเพื่อหาข้อพิสูจน์การร้อง ‘เมี๊ยว’ นั้นอาจจะมีหลากหลายความหมาย จากการตอบสนองต่อการที่มนุษย์สื่อสารกับมัน ทำไมแมวต้องร้อง ‘เมี๊ยว’ ด้วยล่ะ? – เพราะแมวต้องใช้ทั้งการมองเห็นและเสียงในการสื่อสารกับมนุษย์ โดยทำการส่งเสียงเพื่อเรียกร้องความสนใจจากมนุษย์เพียงอย่างเดียว ไม่ใช่เพื่อเป็นการเรียกแมวตัวอื่นแต่อย่างใด ทั้งนี้แมวเป็นจำนวนมากและมนุษย์คู่ใจมักจะพัฒนาการสื่อสารอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกันและกันขึ้นมา เพื่อให้เข้าใจกันมากขึ้น แล้วมนุษย์พูดคุยกับสัตว์เลี้ยงแตกต่างกับการสื่อสารกับคนด้วยกันเองหรือไม่? – ผู้คนส่วนใหญ่มักจะสื่อสารออกเสียงกับแมวหรือสัตว์เลี้ยงในรูปแบบเดิมๆ เช่นเดียวกันอย่างการสื่อสารกับเด็กเล็ก โดยมักจะออกเสียงโทนสูงมากกว่าปกติ และจะมีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว…