เช่นเดียวกับการออกสำรวจท้องทะเลในช่วงหลายร้อยปีก่อน ในปัจจุบันมนุษย์เราก็พยายามสำรวจอวกาศอันกว้างใหญ่ และรวบรวมเอาสิ่งที่เราค้นพบเอาไว้ในรูปแบบของแผนที่อันน่าค้นหาส่งทอดจากรุ่นสู่รุ่น
และล่าสุดนี้เองมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ก็เพิ่งจะทำการใหญ่สร้างแผนที่ ที่รวมร่วมเอกภพที่หมดที่เรารู้จักเอาไว้ แสดงกาแลคซีร่วม 200,000 กาแลคซีเป็นจุดเล็กๆ ทอดยาวไปจนถึงขีดจำกัดที่มนุษยืจะยังพอสังเกตได้
แผนที่ใหม่นี้มีชื่อแบบเรียบง่ายว่า “The Map of the (Observable) Universe” แผนที่ซึ่งสร้างขึ้นจากข้อมูลที่รวบรวมมานานกว่า 20 ปี ของ Sloan Digital Sky Survey
โดยมันออกแบบมาให้เราสามารถ “เลื่อน” ผ่านระยะห่างของหมู่ดาวจากใกล้ที่สุดไปยังไกลที่สุดด้วยระยะห่างกว่า 13,700 ล้านปีแสงได้ ในขณะที่ “เดินทางย้อนเวลา” ไปด้วย
(เนื่องจากดาวที่อยู่ใกล้ออกไปจะให้เวลานานขึ้นกว่าที่แสงจะเดินทางมาถึงเรา ทำให้ภาพที่เราเห็นจริงๆ แล้วเป็นภาพของดาวในอดีต)
“นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ทั่วโลกวิเคราะห์ข้อมูลนี้มานานหลายปี ซึ่งนำไปสู่เอกสารทางวิทยาศาสตร์และการค้นพบมากมาย
แต่ที่ผ่านมากลับแทบไม่มีใครใช้เวลาสร้างแผนที่ที่สวยงาม ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ และเข้าถึงได้โดยคนทั่วไป
ดังนั้น เป้าหมายของเรา จึงเป็นการแสดงให้ทุกคนเห็นว่าเอกภพเป็นอย่างไร”
คุณ Brice Ménard จากมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์กล่าว
และใครที่สนใจอยากเห็นแผนที่นี้ชัดๆ ด้วยตัวเองก็สามารถเข้าไปชมแผนที่ดังกล่าวกันได้ที่นี่เลย: https://mapoftheuniverse.net/
ที่มา
hub.jhu.edu/2022/11/17/interactive-universe-map/
futurism.com/the-byte/amazing-map-scroll-known-universe
mapoftheuniverse.net/