ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน “ขยะแผงวงจร” อีกหนึ่งปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่แก้ไขได้ยากขึ้นเรื่อยๆ
นั่นทำให้สถาบันฟิสิกส์แห่งมหาวิทยาลัยโยฮันเนิสเค็พเพลอร์ของออสเตรียพยายามหาทางแก้ไขปัญหานี้มาเป็นเวลานาน และพวกเขาก็ดูพบวิธีจัดการกับขยะแผงวงจรที่น่าสนใจแล้วด้วย
เพราะล่าสุดนี้เองนักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ก็เพิ่งจะออกมาเปิดตัว “MycelioTronics” แผงวงจรรูปแบบใหม่ซึ่งทดแทนพลาสติกในแผงวงจรแบบดั้งเดิม ด้วยวัสดุที่ทำจากเส้นใยไมซีเลียมของ “เห็ดหลินจือ”
โดย MycelioTronics จากขึ้นจากการที่นักวิทยาศาสตร์ทดลองนำไมซีเลียมของเห็ดไปทำฉนวนสำหรับบ้าน และพบว่ามันสามารถทนต่ออุณหภูมิได้สูงถึงเกือบ 260 ℃ ซึ่งเหมาะสมกับการใช้งานเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาก
ดังนั้นพวกเขาจึงนำวัสดุดังกล่าวไปทำแผงวงจรดู และได้มาซึ่งแผงวงจรแบบใหม่ที่หากเก็บให้ห่างจากความชื้นและแสงยูวี จะมีอายุยืนยาวได้หลายร้อยปี มากพอจะคงอยู่ได้ตลอดอายุการใช้งานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
แต่กลับย่อยสลายในดินได้ในเวลาเพียงประมาณสองสัปดาห์ทำให้รีไซเคิลได้ง่ายมากๆ ในเวลาเดียวกัน
น่าเสียดายที่อุปกรณ์ตัวนี้ในปัจจุบันยังไม่พร้อมสำหรับการผลิตเป็นจำนวนมากๆ
แต่นักวิทยาศาสตร์ก็หวังมากว่าอีกหน่อยไมซีเลียมจะกลายเป็นวัสดุพื้นฐานสำหรับการทำแผงวงจรอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือแม้แต่อุปกรณ์ทางการแพทย์บางชนิดในอนาคต
และหากระบบนี้ถูกนำมาใช้งานได้จริงๆ ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่โลกเราต้องเผชิญก็อาจจะทุเลาลงในเร็วๆ นี้เลยก็ได้
ที่มา
www.science.org/doi/10.1126/sciadv.add7118
www.newscientist.com/article/2346702-computer-chip-made-using-mushroom-skin-could-be-easily-recycled/
futurism.com/the-byte/circuit-board-mushrooms