สำหรับคนที่มีอายุนิดหน่อย หลายคนอาจเคยรู้สึกกันบ้างว่านาฬิกาสมัยนี้มันทำอะไรได้มากมายเหลือเกิน จากที่เคยใช้ดูเวลาเฉยๆ เดี๋ยวนี้ “สมาร์ทวอทช์” ก็ทำได้ทั้งวัดการเต้นของหัวใจ หรือควบคุมเพลงที่เล่นในมือถือเลย
แต่มันจะเกิดอะไรขึ้นกันหากวันหนึ่งนักวิทยาศาสตร์ก็นึกอยากสร้างสมาร์ทวอทช์ที่ “กึ่งมีชีวิต” ผู้ใช้ต้องค่อยเลี้ยงดูมันขึ้นมา เพราะนั่นคือสิ่งที่มหาวิทยาลัยชิคาโก เพิ่งจะทดลองทำกันเลย
(ชมคลิปการทดลองนี้ได้ที่ youtu.be/Bex91KV56PQ)
โดยในงาน ACM Symposium on Userface Interface Software and Technology ปี 2022 มหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้นำราเมือก Physarum polycephalum ไปใส่ไว้ในสมาร์ทวอทช์แบบพิเศษ
ภายใต้เป้าหมายที่จะใช้มันนำไฟไปจ่ายให้กับเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจที่ติดในนาฬิกา
ซึ่งผลที่ออกมาก็คือนาฬิกาสุดแสนประหลาดที่ผู้ใช้จะต้องค่อยให้ข้าว 2 วันครั้ง และให้น้ำวันละ 1-2 ครั้ง เพื่อให้มันทำงาน ไม่เช่นนั้นราเมือกจะแห้งไปไม่สามารถนำไฟฟ้าได้
โดยในการทดลองใช้กับคนกลุ่มเล็กๆ พวกเขาก็พบว่าผู้ใช้นาฬิกานี้ส่วนใหญ่จะรู้สึก “ผูกพัน” กับมันอย่างน่าประหลาดด้วย ถึงขนาดที่ตอนจบการทดลองอาสาสมัครบางคนก็ถึงกับรู้สึกเศร้าเลย
ซึ่งเรื่องทั้งหมดนี้ก็ทำให้เกิดคำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของมนุษย์กับเทคโนโลยีเลย เพราะมันทำให้เราเห็นได้อย่างดีว่าการดูแลรักษาอุปกรณ์อาจส่งผลกับความผูกพันของเราต่อของชิ้นนั้นๆ ได้
และสำหรับทีมวิจัยพวกเขาก็มองว่าวิธีการออกแบบอุปกรณ์ในปัจจุบัน หลายอย่างดูจะออกแบบมาให้เราทิ้งมันได้ง่ายขึ้น แทนที่จะผูกพันกับมันอย่างที่เคยเป็นมานั่นเอง
ที่มา
news.uchicago.edu/story/scientists-create-living-smartwatch-powered-slime-mold
futurism.com/the-byte/bizarre-smartwatch-living-organism