เออแฮะ ทำไมเราถึงไม่เคยสงสัยเรื่องนี้กันมาก่อน
ว่ากันด้วยเรื่องของไดรฟ์ในคอมพิวเตอร์เรานี่แหละ ที่มันเริ่มจากไดรฟ์ C แล้วก็ไป D, E, F แล้วไดรฟ์ A กับ B ล่ะ มันหายไปไหน?
ด้วยความสงสัยใคร่รู้ ทีมงานแคทดั๊มบ์ของเราก็เลยไปสืบข้อมูลมา แล้วก็สรุปเป็นอินโฟกราฟิกเพื่อให้เข้าใจง่าย ๆ ตามนี้ฮะ
คือต้องอธิบายว่าในยุคก่อนที่คอมพิวเตอร์จะกลายมาเป็นแบบทุกวันนี้เนี่ย มันเคยเป็นแบบ CP/M และ IBM PC กันมาก่อน (เอาง่าย ๆ มันก็คือคอมพิวเตอร์ยุคเก่า ที่ไม่มีตัว CPU แยกออกมาอย่างทุกวันนี้น่ะแหละ)
คือคอมฯ แบบเก่ามันจะไม่มีฮาร์ดดิสก์ (พื้นที่เก็บข้อมูล) อย่างทุกวันนี้
หากใครอยากจะได้พื้นที่เก็บข้อมูล ก็จะต้องมี “ฟล็อปปี้ดิสก์” ซึ่งส่วนใหญ่เค้าจะมีแค่อันเดียว แต่ถ้าอยากได้เพิ่มก็ต้องซื้อเอา ซึ่งราคาน่ะแพงมหาโหดมาก
และไดรฟ์ A มันก็จะถูกจองเอาไว้ให้กับฟล็อปปี้ดิสก์ที่ว่าครับ ส่วนใหญ่ไดรฟ์ A จะเอาไว้เก็บพวก Source Code อะไรพวกนี้ ก็จะใช้แผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ขนาด 3.5
ส่วนไดรฟ์ B จะเอาไว้เก็บข้อมูล ก็จะใช้แผ่นใหญ่ขึ้นมาหน่อย เป็นขนาด 5.25 ครับ
(ในภาพขวาสุดคือ 3.5 (A), กลาง 5.25 (B), ส่วนซ้ายสุดคือขนาดใหญ่สุด ถูกพัฒนามาหลังสุดแต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม เพราะฮาร์ดดิสก์มันถือกำเนิดขึ้นมาแล้ว)
เอาล่ะ หลังจากนั้นพอโลกของเราพัฒนาไป ก็ถือกำเนิดเป็นฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) ขึ้นมา มันก็เลยถูกเอามาใช้เป็นไดรฟ์ C นั่นเองฮะ
หลังจากนั้นก็พัฒนาขึ้นมาเรื่อย ๆ จนเค้ายกเลิฟฟล็อปปี้ดิสก์ไป ซึ่งไดรฟ์ C มันก็เลยมาทำหน้าที่เป็นตัวรันข้อมูล บูสวินโดวส์ หรือระบบปฏิบัติการแทน ส่วนตัวเลือกอื่น ๆ ถัดไปเช่น D, E, G, H ก็เอาไว้เก็บข้อมูลนั่นเองครับ
(ส่วนไดรฟ์ F ก็จะเอาไว้สำหรับ CD ROM แต่ยุคนี้เหมือนจะไม่มีละมั้ง)
เอ เท่าที่ไปอ่านตามบอร์ด Geek มา เห็นเค้าบอกว่าเวลาเราจะเปลี่ยนชื่อไดร์ฟเนี่ย เราจะไม่สามารถตั้งเป็น A กับ B ได้ ซึ่งมาได้จากหลายสาเหตุ แต่มีความเห็นหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะเค้าบอกว่าเพื่อเป็นการให้เกียรติ และรำลึกถึงตำนานนั่นแหละครับ
เลยมีคนพยายามที่จะลองตั้งให้ได้ เพื่อเป็นการ “ปฏิวัติ” และสุดท้ายก็ทำได้จริง ๆ ซึ่งพี่แกก็กล่าวไว้อย่างภาคภูมิใจว่าได้ทำการปฏิวัติสำเร็จแล้ว อะไรทำนองนี้เลยล่ะครับ ฮร่า ๆ
เรียบเรียงโดย #เหมียวหง่าว