เคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับ “การพัวพันเชิงควอนตัม” หรือ “Quantum entanglement” กันมาก่อนไหม
นี่คือปรากฏการณ์ที่อธิบายแบบง่ายๆ ได้ว่า อนุภาค 2 ตัวจะสามารถส่งผลกระทบต่อกันและกันได้ แม้จะอยู่ห่างกันเพียงใดก็ตาม ซึ่งคาดกันว่าหากเราควบคุมมันได้จะนำไปสู่เทคโนโลยีแบบสื่อสารข้ามดวงดาวแบบเรียลไทม์ได้เลย
ปัญหาคือการพัวพันเชิงควอนตัมที่มนุษย์ทำได้นั้น ที่ผ่านมายังมีระยะห่างไม่มากอย่างที่เราคิดก็เท่านั้น
ดังนั้น การทดลองครั้งล่าสุดของประเทศเยอรมนีจึงกำลังเป็นที่จับตามองของโลกเลย เพราะพวกเขาสามารถคงสภาพการพัวพันเชิงควอนตัม ในอนุภาคที่อยู่ห่างกันถึง 33 กิโลเมตรเลย
โดยในการทดลองนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้แยกอะตอมสองตัวให้อยู่ห่างกันราวๆ 700 ก่อนที่จะเพิ่มระยะห่างจนเป็น 33 กิโลเมตร ด้วยการอาศัยสายไฟเบอร์แบบพิเศษ และใช้เลเซอร์กระตุ้นอะตอมทั้งสอง
เกิดเป็นพลังงานซึ่งจะถูกปล่อยออกมาในรูปของโฟตอน วิ่งตามความยาวสายไฟเบอร์ไปชนกันตรงกลาง และสร้างการพัวพันเชิงควอนตัมของอะตอมขึ้นในที่สุด
ซึ่งความสำเร็จนี้ ก็ทำให้การทดลองดังกล่าว กลายเป็นการทดลองการพัวพันเชิงควอนตัมที่มีระยะห่างไกลที่สุดเท่าที่เราเคยทำได้เลย
เรียกได้ว่าแม้ผลการทดลองนี้จะยังไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรมากมายนักในปัจจุบัน แต่เป็นก้าวสำคัญอีกก้าวที่จะนำมนุษย์ไปสู่เทคโนโลยีควอนตัมในอนาคตเลยก็ไม่ผิดนัก
ที่มา
www.nature.com/articles/s41586-022-04764-4
newatlas.com/telecommunications/quantum-entanglement-atoms-distance-record/
www.tweaktown.com/news/87290/record-distance-for-quantum-entanglement-set-atoms-20-miles-apart/index.html