เมื่อกล่าวถึงหัวข้อเรื่องการสร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นมา ในหมู่นักวิทยาศาสตร์นี่ถือเป็นหัวข้อที่ถูกถกเถียง ในทางจริยธรรมเรื่อยมา แต่ถึงอย่างนั้นสถาบันวิทยาศาสตร์ไวซ์มานน์ของอิสราเอลก็ยังคงเดินหน้าวิจัยเรื่องนี้เรื่อยมา
และล่าสุดนี้เองพวกเขาก็เพิ่งจะออกมาประกาศ ความสำเร็จในการสร้าง “ตัวอ่อนหนูสังเคราะห์” (synthetic embryos) ขึ้นมาจริงๆแล้วด้วย
โดยตัวอ่อนที่ว่านี้ไม่จำเป็นต้องใช้ มีจุดเด่นตรงที่มันไม่ได้เกิดขึ้นจากการผสมพันธุ์ใดๆ และไม่ได้ใช้งานไข่หรือสเปิร์มด้วยซ้ำ กลับกันมันถูกสร้างขึ้นจากซึ่งสร้างจากเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cells)
แต่ถึงอย่างนั้นตัวเซลล์ กลับยังคงสร้างอวัยวะที่ทำงานได้เหมือนกับสิ่งมีชีวิตทั่วไป มีโครงสร้างเหมือนหนูที่เกิดตามปกติร่วม 95% แถมยังทำได้โดยไม่ต้องอาศัยการเติบโตในครรภ์อีกต่างหาก
น่าเสียดายที่ในการทดลองครั้งนี้ ตัวอ่อนที่เกิดจากเซลล์ต้นกำเนิดจะยังคงมีปัญหาการตายก่อนวันอันควร มีชีวิตเฉลี่ยเพียง 8.5 วันเท่านั้น (ซึ่งเป็นเวลาเพียงครึ่งเดียวของการตั้งครรภหนู) ไม่มากพอที่จะลืมตาขึ้นมาดูโลกจริงๆ
แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ก็คาดว่าผลการวิจัยของเขาจะมีประโยชน์อย่างมากในวงการแพทย์ในอนาคต เพราะมันอาจสามารถนำไปใช้ ผลิตอวัยวะทดแทนได้ตามต้องการโดยไม่ต้องใช้สัตว์ หรือคนบริจาคอวัยวะ
แม้ว่างานวิจัยนี้อาจจะยังต้องใช้เวลาอีกมากกว่าที่จะนำมาใช้กับคนได้จริงๆ และอาจต้องเผชิญกับปัญหาด้านจริยธรรมหลายต่อหลายอย่างก็ตามที
ที่มา
www.cell.com/cell/fulltext/S0092-8674(22)00981-3
www.livescience.com/synthetic-mouse-embryos
www.bbc.com/thai/articles/cerez0e8kwmo
www.theguardian.com/science/2022/aug/03/scientists-create-worlds-first-synthetic-embryos