ต้องบอกก่อนว่า ภาษีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร พ.ศ.2526 “ไม่ใช่กฎหมายใหม่ แค่ยังไม่เคยจัดเก็บ” ประกาศใช้มานานถึง 40 ปีแล้ว เพราะอย่างนั้น กรมสรรพากร จึงได้อยากถามความเห็นของทุกคนในเรื่องนี้
ให้อธิบายภาษีนี้ง่ายๆ เลยก็คือ หากประชาชนคนไทยคนไหนเดินทางออกนอกประเทศ ก็จำเป็นต้องเสียภาษีดังกล่าว เพื่อเป็นการหารายได้เขารัฐ และป้องกันไม่ให้คนไทยนำเงินตราต่างประเทศออกไปเกินสมควร
*อาจมีข้อยกเว้นสำหรับบางคน เช่น พระ นักบิน เป็นต้น*
อัตราภาษีระบุไว้ที่ครั้งละไม่เกิน 5,000 บาท แต่ก็มีการออกกฎกระทรวงอัตราภาษีการเดินทางไว้ว่า การเดินทางทางอากาศ ครั้งละ 1,000 บาท ส่วนการเดินทางทางบกหรือทางน้ำ ครั้งละ 500 บาท
ปัจจุบัน ยังคงไม่มีการเก็บภาษีนี้ ทว่าการที่ออกมาขอความคิดเห็นในตอนนี้ เป็นไปได้ว่าในอนาคตเราอาจได้เห็นภาษีนี้ถูกนำมาใช้จริงได้เหมือนกัน ซึ่งเพื่อนๆ สามารถเข้าไปแสดงความคิดเห็นถึงเรื่องนี้ได้ที่ลิงก์ด้านล่าง (ถึงวันที่ 17 พฤษภาคม)
law.go.th/listeningDetail?survey_id=MTg3OURHQV9MQVdfRlJPTlRFTkQ=
ทางด้าน นายเจริญ วังอนานนท์ นายกสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว (TTAA) ทัวร์คนไทยเที่ยวต่างประเทศ บอกว่า ตอนแรกที่รู้ข่าวยังคิดว่าข่าวปลอม เพราะไม่มีใครเคยรู้จักภาษีนี้มาก่อน บริษัททัวร์ไม่รู้ ททท.ไม่รู้ ประชาชนเองก็ไม่รู้
ทั้งนี้ก็มองว่านี่อาจเป็นการสร้างผลกระทบทางลบต่อภาพรวมของประเทศได้ เหตุผลที่บอกว่าจะหาเงินเข้ารัฐ จะบรรเทาปัญหาการขาดดุลการค้า เหตุผลเหล่านั้นขอถามเลยว่า “รัฐบาลเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า? เอาหลักคิดอะไรมาจากไหน?”
เรียบเรียงโดย #เหมียวตะปู
ที่มา:
– www.thairath.co.th/business/economics/2691611
– www.prachachat.net/finance/news-1283774
ติดตาม CatDumb ได้ในช่องทางอื่นๆ
Website: www.CatDumb.com
Youtube: www.youtube.com/c/CatDumbTV-Youtube
Instagram: www.instagram.com/catdumbnews/
TikTok: www.tiktok.com/@CATDUMBtv