ในการพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองในช่วงนี้ เรื่องของ ส.ว. กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก
เพราะอาจจะเป็นสาเหตุสำคัญที่จะทำให้พรรคก้าวไกล ที่ชนะมาเป็นอันดับ 1 ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ เพราะหลายคนก็ยืนยันว่าจะไม่โหวตออกเสียง หรือเป็นการไม่ยอมรับให้พิธาเป็นนายกฯ นั่นเอง
จริงอยู่ว่าในรายละเอียด ส.ว. ถูกแต่งตั้งมาโดย ค.ส.ช. และตอนโหวตนายกฯ เมื่อปี 62 ก็โหวตเลือกลุงตู่เป็นนายกฯ แบบไม่มีแตกแถว
แต่ทาง ส.ว. เองก็ออกมาบอกว่า มีเอกสิทธิ มีสิทธิในการโหวตเป็นของตัวเอง และก็บอกถึงที่มาของตนเองว่าประชาชนเลือกมา จากการโหวตทำประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญปี 2560
ด้วยเหตุนี้ทีมงานแคทดั๊มบ์ก็เลยอยากจะพาเพื่อน ๆ ไปดูกันสักหน่อยว่า ตอนรับร่างรัฐธรรมนูญปี 60 มันเกิดอะไรขึ้นบ้าง? ทำไมมันถึงผ่านกันมาได้นะ?
– ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงราว 50 ล้านคน มีผู้มาใช้สิทธิ์ 29.74 ล้านคน คิดเป็น 60%
– ผลการลงมติประเด็นที่ 1 ร่างรัฐธรรมนูญ เห็นด้วย 61% ไม่เห็นด้วย 39%
– ผลการลงประชามติประเด็นที่ 2 คำถามเพิ่มเติมจาก สนช. (เรื่อง ส.ว.) เห็นด้วย 58% ไม่เห็นด้วย 42%
– คำถามพ่วงของร่างรัฐมนูญ เรื่อง ส.ว. เขียนว่า “ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่า เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเกิดความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ สมควรกำหนด ไว้ในบทเฉพาะกาลว่า ในระหว่าง 5 ปีแรก นับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี”
(ตีความออกไหม ว่าจะมี ส.ว. มาร่วมโหวตนายกด้วย?)
– มีการรณรงค์ โหวตไม่รับร่าง เกิดขึ้นทั่วประเทศ (ไม่ครบทุกจังหวัด) แต่มีผู้ถูกจับกุมดำเนินคดี 212 คน
– มีวาทกรรม “รับไปก่อน จะได้เลือกตั้ง” เกิดขึ้น (หลายคนอาจจะได้ยินมาจาก อสม. หรือทางช่องทางออนไลน์อื่น ๆ)
– มีนักการเมืองท่านหนึ่ง เคยบอกว่า “รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ดีไซน์มาเพื่อพวกเรา” (และมาจากพรรคที่เสนอลุงตู่เป็นนายกฯ ในปี 62 ด้วยนะ)
อ่านข่าวได้ที่นี่ : https://www.komchadluek.net/scoop/352831
เรียบเรียงโดย #เหมียวหง่าว
ภาพโดย #เหมียวจอลลี่